7 ข้อดีของการใช้ระบบ CRM สำหรับธุรกิจ OEM
ธุรกิจ OEM นับว่าเป็นธุรกิจที่หลาย ๆ คนอาจจะได้ยินกันบ่อย ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้าให้กับลูกค้าที่ต้องการนำสินค้าไปขายเป็นแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งธุรกิจ OEM นั้นมีขั้นตอนการทำงานที่ค่อนข้างละเอียด เพราะต้องดูแลลูกค้าตั้งแต่ต้นไปจนจบ ไม่ว่าจะเป็นการรับฟังความต้องการ จัดหาวัตถุดิบ ผลิตในโรงงานที่มีมาตรฐาน รวมไปถึงการดูแลการตลาด แต่ถึงจะขั้นตอนเยอะแค่ไหนก็หมดกังวลได้ เพราะวันนี้เรารวบรวมทุกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับธุรกิจ OEM รวมถึงข้อดีที่จะช่วยให้ธุรกิจ OEM มีการจัดการระบบข้อมูลได้ง่ายขึ้น
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ธุรกิจ OEM คืออะไร?
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ OEM คือใคร?
- กระบวนการขายของธุรกิจ OEM มีขั้นตอนอะไรบ้าง?
- ปัญหาของการขายที่ธุรกิจ OEM มักเจอ มีอะไรบ้าง?
- 7 ข้อดีของการใช้ระบบ CRM สำหรับธุรกิจ OEM
- สรุป
ธุรกิจ OEM คืออะไร?
OEM หรือ (Original Equipment Manufacturer) คือ ธุรกิจรับจ้างผลิตแบบครบวงจร ที่รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทหรือบุคคลที่ต้องการผลิตสินค้าและนำสินค้าไปขายในแบรนด์ของตัวเอง โดยลูกค้าที่เข้ามาติดต่อธุรกิจ OEM นี้ ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิต, วัตถุดิบ หรือบรรจุภัณฑ์เอง เพราะบริษัทรับจ้างผลิตหรือ OEM นี้จะเป็นผู้แลกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบและต่อเนื่องไปถึงการทำการตลาดต่าง ๆ ร่วมด้วยเช่นกัน เหมือนต่างคนต่างเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อช่วยผลักดันให้สินค้าขายได้ พอสินค้าของลูกค้าขายได้อย่างสำเร็จ บริษัทรับจ้างผลิตเองก็อาจจะได้ออเดอร์เพิ่มหรือเกิดการผลิตซ้ำเรื่อย ๆ ก็ก่อให้เกิดเป็นรายได้ประจำของธุรกิจเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันธุรกิจ OEM เป็นที่นิยมในประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากสามารถตอบสนองผู้ประกอบการที่เริ่มต้นทำแบรนด์เป็นของตัวเองได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องใช้ต้นทุนจำนวนมากเหมือนแต่ก่อน
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ OEM คือใคร?
เนื่องจากขนาดของธุรกิจ OEM นั้นมีความแตกต่างกันไป ทำให้กลุ่มลูกค้าก็ย่อมมีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งบริษัท OEM บางที่อาจจะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีแบรนด์เป็นของตนเองแล้ว แต่ไม่มีเครื่องจักรหรือโรงงานเป็นของตัวเอง หรือบางที่อาจจะตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าที่มีสูตรการผลิตอยู่แล้วหรือมีไอเดียอยากพัฒนาสูตรใหม่ แต่ยังไม่มีทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
ดังนั้นหากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักจริง ๆ ของธุรกิจ OEM ก็คือกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสร้างแบรนด์เป็นของตนเอง ซึ่งลูกค้าไม่จำเป็นต้องมีสูตรสินค้า หรือแบรนด์ ขอแค่บอกความต้องการและงบประมาณให้กับทางบริษัทรับจ้างผลิต ก็จะเริ่มต้นจัดการให้ตั้งแต่การประชุมเพื่อหาแนวทางการผลิต เงื่อนไขต่าง ๆ กระบวนการผลิตจนกระทั่งได้สินค้าออกมาพร้อมใช้งาน มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแลในทุกขั้นตอน หรือบางที่ก็มีบริการจดแจ้งทะเบียน อย. ให้อีกด้วย
กระบวนการขายของธุรกิจ OEM มีขั้นตอนอะไรบ้าง?
เนื่องจาก OEM เป็นธุรกิจรับจ้างผลิตสินค้า ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมการผลิตประเภทหนึ่งก็ว่าได้ จึงมีขั้นตอนการทำงานที่มีความซับซ้อน วันนี้เราจึงมายกตัวอย่างขั้นตอนกระบวนการขายของธุรกิจ OEM ดังนี้
1. เมื่อมีลูกค้าติดต่อเข้ามาก็จะเริ่มต้นด้วยการพูดคุยรายละเอียด Product Concept ความต้องการของลูกค้า กับทีมนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายการตลาด หรือฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ทำการเสนอราคา รายละเอียดและเงื่อนไขการบริการต่าง ๆ ให้ลูกค้าพิจารณา
3. เมื่อลูกค้าตกลง จะมีการทำสัญญา Signing Agreement เพื่อเตรียมเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต
4. ทางโรงงานจัดหาและจัดซื้อวัตถุดิบ จากผู้ขายหรือซัพพลายเออร์ ตามสูตรที่ตกลงไว้กับผู้ว่าจ้าง
5. ออกแบบ Logo & Packaging Design และทำการผลิตเพื่อเตรียมป้อนเข้าสู่ไลน์
6. เข้าสู่ขั้นตอน Manufacturing Process ตามมาตรฐานที่ อย. กำหนด
7. เมื่อผลิตเสร็จแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอน Quality Control ตรวจสอบคุณภาพสินค้า ซึ่งโรงงานต้องมีการ QC เพื่อให้ได้มาตรฐาน
8. ขึ้นทะเบียนจดแจ้ง อย. พร้อมส่งมอบสินค้าให้กับเจ้าของแบรนด์
9. ให้บริการหลังการขาย ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำด้านการตลาด หรือการให้คำปรึกษาเพื่อสร้างความประทับใจ และให้ลูกค้ากลับมาผลิตสินค้าซ้ำหรือบอกต่อ
ปัญหาของการขายที่ธุรกิจ OEM มักเจอ มีอะไรบ้าง?
ธุรกิจ OEM เป็นธุรกิจที่อยู่ในส่วนเริ่มต้นของสายการผลิต หรือบางบริษัทก็รับผลิตเองด้วยแบบครบวงจร เนื่องจากมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง ดังนั้นการควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถเพิ่มอัตรากำไรให้ได้สูงที่สุดได้ และปัญหาการวางโครงสร้างบริษัท จำเป็นต้องมีระบบงานที่ดี ต้องเฟ้นหาบุคลากรที่มีความเป็นมืออาชีพเข้ามาทำงาน จะทำให้เกิดผลดีต่อบริษัทในระยะยาว และอีกหนึ่งปัญหาที่สำคัญ คือ ไม่บริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ไม่มีการเก็บข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์ต่อ เมื่อส่งสินค้าให้แล้วก็ไม่มีการสานต่อ ซึ่งส่งผลเสียในระยะยาวแน่นอน เพราะ จริง ๆ แล้ว CRM สำหรับธุรกิจ OEM นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ ไม่ต้องเสียเวลาทำความเข้าใจลูกค้าใหม่ สามารถทำธุรกิจร่วมกันได้ในระยะยาว
วันนี้เราจึงรวบรวมข้อดีของการใช้ ระบบ CRM มาให้เจ้าของธุรกิจ OEM ได้นำไปปรับใช้กันค่ะ
7 ข้อดีของการใช้ระบบ CRM สำหรับธุรกิจ OEM
1. มีระบบจัดเก็บข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการขายในที่เดียว
เนื่องด้วยการผลิต OEM เป็นรูปแบบการให้บริการแบบ B2B ดังนั้นจึงเป็นธุรกิจที่ให้บริการลูกค้าตั้งแต่ การแนะนำและให้คำปรึกษา และเมื่อลูกค้าติดต่อเข้ามาสอบถามข้อมูลไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจจนไปถึงมืออาชีพ ทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็กไปจนถึงผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ทำให้มีข้อมูลที่ต้องเก็บเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบันมีระบบ CRM แพลตฟอร์มสำหรับการบริหารทีมขายที่มาพร้อมฟีเจอร์สำหรับเก็บข้อมูลทั้งหมดในที่เดียวอย่างเป็นระบบ รวมไปถึงฟังก์ชั่น Lead Noted ที่สามารถเก็บรายละเอียดเวลามีการพูดคุยกับลูกค้า ทำให้สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ เพิ่มโอกาสในการติดตามลูกค้าและเพิ่มโอกาสในการปิดการขายให้ง่ายขึ้นแน่นอน
2. กระบวนการขายของธุรกิจมีขั้นตอนที่ชัดเจน ดำเนินการผลิต การขายได้ตามกำหนด
ดังข้อมูลที่ได้กล่าวไปข้างต้นกระบวนการขายของธุรกิจ OEM ส่วนใหญ่มีขั้นตอนมากกว่า 10 ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น การพูดคุยรายละเอียด การเสนอราคาและทำสัญญา การผลิต การตรวจสอบคุณภาพสินค้า รวมไปถึงบริการหลังการขาย หากบริษัท OEM เลือกใช้แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย หรือ R-CRM ก็จะสามารถติดตามได้อย่างเป็นขั้นตอนด้วยฟังก์ชั่น Sales Pipeline Management โดยสามารถแบ่งงานได้แต่ละขั้นตอนได้อย่างชัดเจน พร้อมทั้งแนบรายละเอียดไม่ว่าจะเป็นบันทึกการพูดคุย หรือการแนบไฟล์ต่างๆก็สามารถทำได้เลย ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่พลาดทุกขั้นตอนการทำงาน สามารถโฟกัสงานในแต่ละขั้นตอนได้อย่างแม่นยำตามเวลาที่กำหนด
3. ดูแลลูกค้าได้อย่างไม่บกพร่อง สร้างยอดขายได้ต่อเนื่อง
ระบบ CRM สำหรับธุรกิจ OEM ช่วยเพิ่มยอดขายได้จากข้อมูลทั้งหมดที่ระบบเก็บไว้ โดยเมื่อนำมาวิเคราะห์ ปรับปรุง และพัฒนาแล้วก็จะสามารถต่อยอดเพื่อเพิ่มยอดขายได้อย่างมหาศาล อีกทั้งด้วยข้อมูลอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนที่เคยดูแลลูกค้ามา ทำให้ทีมขายสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างไม่บกพร่อง คาดการณ์ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและทำให้วางแผนการแก้ปัญหาได้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นการสร้างความรู้สึกพิเศษทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นเป็นลูกค้าระยะยาวและเกิดการบอกต่อแน่นอน
4. ติดตามการทำงานของทีมขาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฟังก์ชั่น Sales Pipeline ของแพลตฟอร์ม R-CRM ช่วยให้หัวหน้าทีมหรือผู้จัดการฝ่ายขาย ติดตามการทำงานและรายงานของทีมขายได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อทีมเซลส์เข้าใช้งานระบบและมีการอัปเดตข้อมูล ระบบจะอัปเดตอัตโนมัติว่าการขายนั้นอยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว ใครกำลังรับผิดชอบอยู่ลูกค้าเจ้าไหนอยู่ ซึ่งหัวหน้าทีมสามารถเข้าไปช่วยดูและให้คำแนะนำได้อย่างรวดเร็วและช่วยเพิ่มการทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบที่ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. เพิ่มความคล่องตัวในการทำงานของทีมขาย และการทำงานร่วมกันกับทีมอื่น
โปรแกรม CRM ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำงานด้วยฟังก์ชั่นต่างๆที่ถูกออกแบบได้อย่างอิสระ เพิ่มความคล่องตัวในการทำงานของทีมขายและการทำงานร่วมกันกับทีมอื่นๆ โดยระบบ R-CRM ผู้ดูแลก็จะสามารถตั้งค่าเริ่มต้นในระบบ User Management เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถแยกการใช้งาน Username & Password และสิทธิ์การเข้าถึงในแต่ละเครื่องมือ โดยเลือกได้ว่าจะให้ทีมไหนใช้ Pipeline ไหนตามทีมได้ เช่น ทีมการตลาด ทีมขาย ทีมฝ่ายผลิต ทีมบริการลูกค้า ทำให้แต่ละทีมสามารถทำงานทั้งในส่วนของตัวเองและทำงานร่วมกับทีมอื่นๆได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง
6. เข้าถึงรายงานการขายต่าง ๆ ได้ง่าย นำไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนการขายต่อไป
เมื่อในโปรแกรม CRM มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบแล้ว ผู้บริหารหรือหัวหน้าทีมขาย สามารถเข้าไปดูรายงานต่าง ๆ ได้ทันทีแบบ Real-Time ผ่าน R-Insights ซึ่งมีรายงานหลากหลายรูปแบบ รายละเอียด ข้อมูลทั้งหมดที่เซลส์ดำเนินการจะถูกบันทึกข้อมูลออกมาเป็นรายงานทันทีเพียงไม่กี่คลิก โดยไม่ต้องรอให้จบเดือนถึงจะสามารถดูสรุปได้ ทำให้สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อวางแผนการตลาด หาช่องทางขยายตลาดและเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ ด้วยการสร้างกลยุทธ์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
7. เชื่อมต่อกับการทำโฆษณา เพื่อให้ธุรกิจสร้าง Branding และหาลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น
ระบบ CRM เหมาะสำหรับธุรกิจ OEM เป็นอย่างมาก เพราะตามพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะสนใจเรื่องใดก็จะใช้การเสิร์ชบนอินเตอร์เน็ต ดังนั้นหากระบบ CRM สามารถเชื่อมต่อกับการทำโฆษณาได้ นอกจากจะเพิ่มโอกาสในการหาลูกค้าให้ธุรกิจได้แล้ว ยังสามารถสร้าง Branding ได้อีกด้วย โดยระบบ R-CRM สามารถเชื่อมต่อ Facebook Ads และ Google Ads ได้ซึ่งจะทำให้คุณไม่พลาดเก็บรายชื่อ Lead จากโฆษณา รู้ถึง Customer Journey ของลูกค้าได้ข้อมูลมาวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อค้นหาลูกค้าใหม่ได้ง่ายและแม่นยำขึ้น
สรุป
จะเห็นได้ว่า ระบบ CRM สำหรับธุรกิจ OEM นั้นเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก เพราะเนื่องด้วยขั้นตอนกระบวนการขายของธุรกิจ OEM นั้นมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและในแต่ละขั้นตอนล้วนมีรายละเอียดที่สำคัญที่ส่งผลได้ต่อการปิดการขาย ดังนั้นการเลือกใช้ระบบที่ช่วยประหยัดเวลาด้วยการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าและข้อมูลการขายในที่เดียว เพิ่มความสะดวกให้กับหัวหน้าและทีมขาย อีกทั้งยังช่วยให้การทำงานในแต่ละขั้นตอนเป็นไปอย่างถูกต้อง ติดตามได้ง่าย ที่สำคัญยังช่วยในการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า การทําโฆษณาออนไลน์ที่ตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างได้ผล เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน และสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจมียอดขายที่ยั่งยืน มีลูกค้าประจำอย่างต่อเนื่อง
สมัครใช้งาน Readyplanet R-CRM
R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement
ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี
ระบบ CRM
-
เผื่อท่านใดกำลังอยากรู้ หรือกำลังก้าวเข้าสู่ตำแหน่งงานนี้ องค์ประกอบที่เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนธ...
-
Lead คืออะไร? ทำไมในยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Lead และทำไมต้องเก็บ Lead?เชื่อว่าหลายคนที่ทำธุรกิจ หรืออยู...
-
ทำไมการขายตรง ๆ ถึงไม่ได้ผลเหมือนเดิม หรือทำไมลงรูปขายของบนโซเชียลมีเดียทุกวัน แต่ยอดขายก็ยังไม่มาสั...
-
เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง” ในอดีตการตลาดอาศัยการพยายามทำให้ "ลูก...