เทคนิคการหา Customer Insights ให้เข้าใจลูกค้า

หลายปีผ่านมานี้ เหล่านักการตลาดรวมถึงผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ ล้วนตามหาหนึ่งปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจออนไลน์ให้สำเร็จ ที่เรียกว่า Customer Insights หรือที่แปลตามความหมายแล้วคือ “ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า” เพราะสิ่งนี้นำมาซึ่งยอดขายที่เพิ่มขึ้น ความภักดีของลูกค้าระยะยาว รวมถึงการชนะคู่แข่งในตลาดได้อีกด้วย

 

ในปัจจุบันการหา Customer Insights ของกลุ่มผู้บริโภคในโลกออนไลน์นั้นมีความซับซ้อนของคนหลายรุ่นหลาย Generation ทั้ง Gen X , Gen Y , Gen Z , Millennials หรือแม้กระทั่งพ่อแม่ลุงป้า รุ่น Baby Boomer ที่เพิ่งเข้ามาเรียนรู้การใช้งานและจับจ่ายใช้สอยบนโลกออนไลน์กันมากขึ้น แน่นอนว่าการสื่อสารกับกลุ่มผู้บริโภคแต่ละ Generation มาพร้อมกับความต้องการในแบบเฉพาะของตัวเองที่แตกต่างกัน


ฉะนั้น ความท้าทายของนักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจ คือการทำความเข้าใจว่า “กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าตัวจริงของคุณคือใครกันแน่ ? ” แล้วศึกษาความแตกต่างของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความชอบความสนใจ ปัญหาหรือ อิทธิพลที่หลากหลายในการตัดสินใจซื้อ รวมไปถึงวิธีการสื่อสารทางการตลาดและช่องทางที่จะใช้สื่อสารให้ตรงจุดกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเอง

 

Customer Insights

 

Customer Insights คือ ข้อมูลของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณในทุกมิติทั้ง

 

  • ข้อมูลของลูกค้าทั่วไป เช่น อายุ, เพศ, การศึกษา, อาชีพ, ที่อยู่

 

  • ข้อมูลเชิงพฤติกรรมและประสบการณ์ เช่น ความต้องการ หรือความไม่ต้องการ, สิ่งที่พวกเขากำลังสนใจ, ปัญหาของพวกเขา ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้งาน, เส้นทางการซื้อสินค้าของลูกค้า และประสบการณ์ทั้งดีและไม่ดีในการซื้อสินค้าและบริการ

 

  • ข้อมูลการขาย เช่น ประเภทสินค้าที่ลูกค้าซื้อ, ความถี่ในการซื้อ, ยอดการสั่งซื้อหรือจำนวนในการซื้อของลูกค้า, ฟีคแบคของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการของคุณ เป็นต้น

 

ทั้งหมดนี้ข้อมูลของลูกค้าที่หลอมรวมกันไปสิ่งที่เราเรียกว่า Customer Insights นั่นเอง ซึ่งการหาข้อมูลของลูกค้าทั้ง 3 ส่วนนี้คุณสามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลดังนี้คือ 

 

1. ข้อมูลของลูกค้าที่จาก Open Source ต่าง ๆ



ยุคของการทำธุรกิจดิจิทัลในปัจจุบันนั้นมีเครื่องมือมากมายที่เป็นตัวช่วยให้คุณสามารถเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งในบทความนี้ Readyplanet จะขอแนะนำจาก 3 แหล่งยอดนิยม เช่น  Facebook, Google และ LINE เป็นต้น

 

1.1 เครื่องมือหา Customer Insights จาก Facebook

  • Facebook Insights คือ เครื่องมือหนึ่งของ Facebook Page ที่แสดงข้อมูลเชิงลึกในมิติต่าง ๆ เช่น จำนวนคนที่มา Like Page, จำนวนการปฏิสัมพันธ์ (Engagement) กับ Post, จำนวนผู้ที่ติดตามเพจ หรือแม้กระทั่งประสิทธิภาพของการโต้ตอบของแอดมินกับผู้คนที่เข้ามาปฏิสัมพันธ์บนเพจ เป็นต้น

 


จากภาพเป็นการแสดง Dashboard ภาพรวมของข้อมูลโดยทั่วไปของเพจ ซึ่งคุณสามารถเลือกดูแบบเชิงลึกในแต่ละมิติได้ อย่างเช่น จำนวน Reach, ข้อมูลเชิงลึกของ Post แต่ละโพสต์ที่สามารถดูได้ว่าการเข้าถึงของคนในแต่ละโพสต์ในช่วงวัน-เวลาไหนดีที่สุด รวมถึงข้อมูลของกลุ่มคน จำนวนของแฟนเพจ เพศและช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมายที่มาปฏิสัมพันธ์กับเพจของคุณ โดยแสดงข้อมูลเป็นกราฟ ดังตัวอย่าง

 


  • Facebook Audience Insights คือเครื่องมือที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย ที่เชื่อมต่อกับเพจของคุณบน Facebook โดยสามารถใช้งานผ่านระบบโฆษณา https://www.facebook.com/ads/audience-insights/ ซึ่งข้อมูลจากส่วนนี้สามารถช่วยให้คุณสร้างเนื้อหาที่โดนใจกับกลุ่มเป้าหมาย และสามารถค้นหาคนอื่นๆ ที่คล้ายกับคนในกลุ่มเป้าหมายปัจจุบันของคุณได้อย่างง่ายดายมากขึ้น นอกจากข้อมูลเชิงประชากร (Demographic) แล้ว Facebook Audience Insights ยังสามารถดูข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมายว่า นอกจาก Like เพจของเราแล้วมีความสนใจหรือ Like เพจ อื่น ๆ อะไรอีกบ้าง โดยจัดเรียงตามลำดับความนิยมมากไปหาน้อย ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้มีประโยชน์ในเชิงการวิเคราะห์ความสนใจ ความต้องการหรือปัญหาของกลุ่มเป้าหมายได้เช่นกัน 

 


จากภาพจะเห็นได้ว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่บนเพจตัวอย่างนั้น มีการไป Like เพจที่เป็นคลินิคเสริมความงามมากที่สุด สนใจเรื่องสักคิ้ว น้ำผลไม่ปั่นต้านโรค รวมถึงแชมพูฆ่าเหา นั่นหมายความว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณนั้นใส่ใจเรื่องสุขภาพและความสวยความงาม เมื่อคุณทราบความสนใจของกลุ่มเป้าหมายดังนี้แล้ว ก็อาจจะนำไปทำ Content ที่เกี่ยวกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายของคุณสนใจ ก็อาจจะช่วยเพิ่ม Engagement บนเพจของคุณให้มากขึ้นได้ หรือบางทีคุณอาจจะนำข้อมูลนี้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้บนเพจได้

 

1.2 เครื่องมือหา Customer Insights จาก Google มีดังนี้

 

  • Google Analytics คือ เครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถเก็บข้อมูลผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าและนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ปรับปรุงธุรกิจในส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์หรือ Landing Page, รายละเอียดสินค้าหรือโปรโมชั่นต่าง ๆ สำหรับธุรกิจใดที่ทำโฆษณาผ่าน Google Ads ก็สามารถผูกบัญชีโฆษณาไว้กับ Google Analytics ได้เลยเช่นกัน ข้อดีของการผูก Google Ads ไว้กับ Google Analytics คือเวลาที่คุณทำโฆษณาGoogle คุณจะได้ทราบแค่เพียงว่ามีจำนวนการคลิกเข้าเว็บไซต์ของคุณมากน้อยแค่ไหน กลุ่มคนที่คลิกเข้ามายังเว็บไซต์มีสัดส่วนเป็นชาย-หญิง อายุเท่าไหร่ จากที่ไหนกี่เปอร์เซ็นต์ แต่หากว่าคุณผูกบัญชีโฆษณาไว้กับ Google Analytics แล้ว คุณจะสามารถทราบไว้ว่ากลุ่มคนเหล่านั้นที่ Google Ads พาเข้ามานั้นไปหน้าไหนบ้าง สินค้าอะไรบ้างบนเว็บไซต์ของคุณ จนกระทั่งตัดสินใจซื้อ ซึ่งนั่นก็คือการได้ข้อมูลของ Customer Journey อีกทางนั่นเอง

 

Google Analytics ดูข้อมูลอะไรได้บ้าง ?

 

1. ข้อมูลของประชากร (Demographic) เช่น เพศ อายุ ที่อยู่ รวมถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้งาน (Device) ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งการใช้ประโยชน์ข้อมูลในส่วนนี้ สามารถนำไปทำ Target Segmentation ให้ธุรกิจคุณเพื่อนำไปปรับใช้และพัฒนาในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นในมุมของ SEO หรือใช้วิเคราะห์ความชอบ ความสนใจหรือความต้องการ เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการให้ตรงใจกับลูกค้ากลุ่มนี้ได้มากยิ่งขึ้น 

 

2. ข้อมูลของพฤติกรรม (Behavior)  Google Analytics สามารถบอกคุณได้ว่าลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายของคุณเข้า-ออกหน้าใดบ้างบนเว็บไซต์ มีระยะเวลาในการใช้งานอยู่บนเว็บไซต์ของคุณนานแค่ไหน มีการคลิกปุ่มไหนบ้าง รวมถึงยังสามารถบอกความเร็วเฉลี่ยในการโหลดแต่ละหน้าเว็บไซต์ได้อีกด้วย ซึ่งประโยชน์จากข้อมูลในส่วนนี้ คือสามารถใช้วิเคราะห์พฤติกรรมการเข้าใช้งานในแต่ละบนหน้าเว็บไซต์ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หากลูกค้ามีพฤติกรรมที่เข้ามาบนเว็บไซต์ไม่นานก็ออกจากเว็บฯ ไปเลย คุณก็อาจจะต้องปรับปรุงเนื้อหาหรือสินค้าที่้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น เป็นต้น

 

3. ข้อมูลการเข้าถึงเว็บไซต์ (Acquisition) คือเส้นทางหรือที่มาก่อนที่กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าจะเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น Social Media ต่าง ๆ อย่าง Facebook, Instagram หรือมาจากการทำโฆษณาผ่าน Google Ads หรือ Facebook Ads โดยสามารถแบ่งแยกที่มาได้ทั้งแบบ Organic หรือ Paid ที่ผ่านการทำโฆษณามา เป็นต้น การใช้ประโยชน์ข้อมูลในส่วนนี้ จะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์และวางแผนการเลือกช่องทางการทำโฆษณาได้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากขึ้น 

 

4. ข้อมูลความสำเร็จของเป้าหมายที่เราตั้งไว้ (Conversion) เช่น การสั่งซื้อสินค้าและการชำระเงินบนเว็บไซต์ หรือการลงทะเบียนต่าง ๆ บนเว็บไซต์ (ส่วนใหญ่นิยมในธุรกิจคลินิกเสริมความงาม หรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ) นอกจากนั้นยังสามารถดูข้อมูลพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายว่า ตั้งแต่เริ่มเข้าเว็บไซต์ของคุณแล้ว มาการคลิกต่อไปยังหน้าไหนบ้าง จนกระทั่งสั่งซื้อหรือกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียน

 

  • Google Trends คือ เครื่องมือฟรีจาก Google ที่มีหน้าที่หลัก ๆ ก็คือช่วยให้รู้ว่าช่วงนั้น ๆ มีคำค้นหาอะไรบ้างใน Google ที่คนเสิร์ชหามากที่สุด นอกจากนั้นยังช่วยให้นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจเช็คเรตติ้งของแบรนด์ สินค้าและบริการของคุณว่า มีใครพูดอะไรถึงแบรนด์คุณบ้าง ? หรือมีใครที่มีความสนใจสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับคุณอย่างไรหรือแง่มุมใดบ้าง ไปจนถึงการสำรวจคู่แข่งในตลาดออนไลน์ที่ขายผลิตภัณฑ์เดียวกับคุณ เพียงแค่คุณใส่คำค้นหาที่คุณต้องการ (Keywords) ลงไปช่องคำค้นหา  นอกจากคุณจะสามารถเลือกได้ทั้งพื้นที่หรือประเทศแล้ว ยังสามารถเลือกช่วงวัน-เวลา และหมวดหมู่ของสิ่งที่เรากำลังค้นหาได้อีกด้วย 

 

  • Line Official Account คือ ด้วยฟีเจอร์ที่พัฒนาเพื่อให้เจ้าของกิจการ และแบรนด์ต่าง ๆ จัดการลูกค้าที่เข้ามาในช่องทาง Line ได้มากกว่าการสื่อสาร พูดคุยเพื่อสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เช่น  Friend Path, Chat Tag และ LINE Tag เพื่อการบันทึกจดจำข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายไว้อย่างละเอียด และที่พิเศษอีกฟีเจอร์หนึ่งก็คือ Tracking Conversion ที่จะช่วยให้คุณทราบว่าเส้นทางของลูกค้าที่เข้ามาจาก Line ไปจบที่ไหน ฉะนั้น  Line Official Account ก็เป็นอีกช่องทางที่คุณสามารถได้ข้อมูลูกค้าเชิงลึกได้เช่นเดียวกับ Google และ Facebook 

 

2. ข้อมูลของลูกค้าที่ได้จาก Asset ของบริษัท

 

ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลของลูกค้าทั่วไป เช่น ชื่อ เบอร์โทร อีเมล หรือที่อยู่ จะมีเก็บไว้เป็นทรัพย์สินของเกือบทุกบริษัทผ่านเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูลลูกค้า อย่าง ระบบ CRM หรือการเก็บข้อมูลลูกค้าใน Speadsheet เป็นต้น แต่ยุคดิจิทัลในปัจจุบันการเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับธุรกิจระยะยาว การลงทุนกับ Marketing Tech ดี ๆ อย่างระบบ CRM จะช่วยให้คุณใช้ประโยชน์จาก Customer Insights ที่เก็บเอาไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นเพื่อการเก็บข้อมูลลูกค้าหรือ Customer Insights ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้นั้น ระบบ CRM ที่ดีจึงควรมีลักษณะดังนี้

 

  • สามารถเชื่อมต่อกับช่องทางการขายต่างๆ ของคุณได้ : แน่นอนว่าเส้นทางของลูกค้าของคุณอาจมากจากหลากช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์, Facebook หรือ LINE  เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการทำงานของพนักงานขายให้สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าเก่าใหม่ที่เข้ามาในแต่ละวัน อีกทั้งระบบ CRM ยังช่วยให้พนักงานขายติดตามลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในแต่ละขั้นตอนของ Sales Pipline ได้

 

 

  • สามารถจดบันทึกรายละเอียดของลูกค้าแบบรายบุคคลได้ : เพราะลูกค้าแต่ละคนมีเงื่อนไข ขั้นตอนและปัจจัยความต้องการและปัญหาที่แตกต่างกัน การที่ระบบ CRM มีฟีเจอร์ที่ช่วยให้พนักงานขายได้จดบันทึกรายละเอียดของลูกค้าในแต่ละครั้งที่ได้พูดคุยกัน นอกจากจะช่วยให้การติดต่อลูกค้าในครั้งถัดไปราบรื่นมากขึ้นแล้ว ข้อมูลของลูกค้าที่ถูกบันทึกไว้ในมิติต่าง ๆ นั้นถือเป็นข้อมูลเชิงลึกชั้นดีที่อาจเป็น Customer Insights ที่คู่แข่งของคุณไม่อาจเข้าถึงข้อมูลตรงนี้ได้เหมือนข้อมูลจาก Open Source ต่าง ๆ

 

 

  • สามารถรวบรวมสถิติการขายได้ : เพราะประสิทธิภาพของการขายที่ดี ก็คือหัวใจของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้คือ ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้การขายมีประสิทธิภาพดีขึ้นหรือลดลง ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพของทีมขาย, ช่องทางการขาย, ปริมาณการขาย, ความถี่ในการซื้อ-ขาย, ปริมาณลูกค้า, ความต้องการ, ปัญหา หรือเหตุของการซื้อหรือไม่ซื้อของลูกค้า ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่ระบบ CRM ที่ดีควรสามารถเก็บและรวบรวมข้อมูลส่วนนี้ไว้ให้คุณได้

 

 

ที่ Readyplanet เองก็มี R-CRM ที่เป็นระบบ CRM ทรงประสิทธิภาพที่จะช่วยให้คุณมอนิเตอร์ประมาณลูกค้าเก่าใหม่ที่เข้ามาในแต่ละวัน, สัปดาห์และเดือนได้ อีกทั้งยังช่วยให้คุณเห็นภาพรวมการทำงานและประสิทธิภาพในการขายของพนักงานขายของคุณได้ โดย R-CRM เป็นแพลตฟอร์มบริหารทีมขายที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย สามารถติดตามการทำงานของเซลส์ได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังเชื่อมต่อเช้ากับ R-Insight เพื่อให้คุณเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ทั้งข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขาย รวมถึงประสิทธิภาพของทีมขายของคุณ ที่วัดผลได้ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำ เข้าใจ Customer Insights ได้อย่างลึกซึ้ง 

 

3. ข้อมูลของลูกค้าแบบ Traditional Way ที่ได้จากการทำแบบสอบหรือสำรวจความคิดเห็นจากลูกค้า

 

แม้โลกจะถูกขับเคลื่อนด้วยอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทุกงานทำงานผ่านทางออนไลน์ การเก็บข้อมูลของลูกค้าหรือ Customer Insights ถูกเก็บจากเครื่องมือทางออนไลน์แบบเงียบ ๆ เป็นส่วนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงการเลือกสอบถามลูกค้าโดยตรงเลย ก็อาจจะเป็นวิธีที่จริงใจกว่า เช่น การขอสอบถามแบบเห็นหน้าเห็นตา ไม่ว่าจะเป็นแบบ Face to Face หรือการทำ Group interview , การโทรสอบถาม และทำแบบสอบถามผ่าน Google From ที่นิยมทำกันแบบออนไลน์ ความสำคัญของการทำแบบสอบถามลูกค้าในแต่ละครั้งไม่ใช่แค่คำตอบของลูกค้าแต่สิ่งที่คุณจะต้องให้ความสำคัญ มีดังนี้  

 

  • ระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการทำแบบสอบถามในครั้งนั้น ๆ ให้ชัดเจน เพียงตั้งคำถามง่าย ๆ กับตัวเองก่อนว่า “คุณอยากจะรู้อะไร ? ” ความพึงพอใจของลูกค้าต่อสินค้าและบริการ ? , สอบถามปัญหาและความต้องการเพื่อนำไปปรับปรุงสินค้าและบริการ ? เป็นต้น

 

  • ระบุกลุ่มและขนาดของกลุ่มตัวอย่างในการทำแบบสอบถาม เช่น วัตถุประสงค์ของการทำแบบสอบถามคือ ต้องการรู้ว่าเหตุอะไรที่ทำให้คนไม่ซื้อสินค้า ? กลุ่มเป้าหมายที่คุณจะต้องเลือกก็คือกลุ่มคนที่ติดต่อเข้ามาสอบถามแต่ไม่ซื้อสินค้าของคุณ

 

  • การตั้งคำถามในแบบสอบถามจะต้องได้คำตอบที่เป็นเป้าหมายในการทำแบบสอบถามครั้งนั้น ฉะนั้นนอกจากเทคนิคง่ายๆ ในการตั้งถามในแบบสอบถามอย่าง เป็นคำถามที่กระชับเข้าใจง่าย อ่านแล้วตีความได้เพียงประเด็นเดียว, การมีจำนวนคำตอบที่คลอบคลุมในการตอบคำถามแล้ว การทบทวนว่าคำถามทั้งหมดในแบบสอบถามนั้นตอบโจทย์ของวัตถุประสงค์และเป้าหมายของคุณแล้วหรือยัง ก็เป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญมากที่สุด

 

และนี่คือเทคนิคในการหา Customer Insights จาก 3 ช่องทางทั้ง Asset ของคุณเอง, Open Source ต่างๆ และการทำแบบสอบถามแบบ Traditional Way ที่ Readyplanet นำมาบอกคุณในบทความนี้​และถ้าจะถามว่าคุณควรที่จะเก็บข้อมูลของ Customer Insights จากช่องทางไหนดี ? เราก็ต้องขอตอบว่าเก็บได้ทุกทาง เพราะไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ได้จากช่องทางไหนล้วนเป็น Customer Insights ที่มีประโยชน์กับธุรกิจของคุณทั้งนั้น และสิ่งที่สำคัญกว่าการได้ข้อมูลมา คือการนำข้อมูลไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไรบ้างต่างหากที่คุณจะต้องคิดให้หนักก่อนเริ่มเข้าไปเก็บข้อมูลลูกค้า จากช่องทางต่าง ๆ ซึ่งก็อาจจะเริ่มต้นด้วยคำถามง่าย ๆ เช่นเดียวกับการทำแบบสอบถามก็คือ “คุณต้องการรู้อะไรไปเพื่ออะไร ? ” น่าจะเป็นการเริ่มต้นการนำข้อมูลจาก Customer Insights ให้เกิดผลดีกับธุรกิจของคุณได้ดีที่สุด

 

แม้ทุกวันนี้นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับธุรกิจได้จำนวนมากจากหลายช่องทางแต่ก็ไม่ได้หมายความจะเพียงพอและเป็นปัจจัยให้ธุรกิจคุณได้เปรียบแต่อย่างใด เพราะหากคุณสามารถหาข้อมูลเหล่านั้นได้ง่าย ๆ ก็หมายความว่าคู่แข่งของคุณก็สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้เช่นกัน ฉะนั้น สิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณได้เปรียบคู่แข่งก็คือ ข้อมูลจาก Customer Insights ที่ได้มาจากข้อมูลการขาย การมีส่วนร่วมของลูกค้า เช่น คำแนะนำติชมจากลูกค้า หรือแม้กระทั่งข้อมูลจากแบบสำรวจความพึงพอใจต่าง ๆ ของลูกค้า ที่คุณได้เก็บบันทึกและสะสมมาจาก Asset Source ของคุณเองที่คู่แข่งของคุณไม่มีข้อมูลส่วนนี้อย่างต่างหากจึงเป็นจุดได้เปรียบจากคู่แข่งของคุณ ฉะนั้น การลงทุนเครื่องมือ Marketing Tech อย่าง R-CRM เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูลของ Customer Insights ไว้เป็นทรัพย์สินที่สร้างมูลค่ายอดขายให้มากขึ้นแก่ของบริษัทของคุณ

 

R-CRM หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Readyplanet All-in-One Platform 

R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement

 

 

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี


 

Updated: 29 June 2021 | Produced by: Ploynaphat Wattanachodjirachai

 

 


 

 

บทความที่น่าสนใจ

 

 

ระบบ CRM