8 วิธีแก้ปัญหายอดขายตก ทำอย่างไรให้กลับมาสร้างยอดขายได้ดีกว่าเดิม

ยอดขายตกกะทันหันไม่ทันตั้งตัว หรือมีแนวโน้มที่ยอดขายจะตกลงเรื่อย ๆ แน่นอนว่าธุรกิจจะต้องประสบปัญหาต่าง ๆ มากมายตามมา ซึ่งบางครั้งเจ้าของธุรกิจเองหรือฝ่ายบริหารก็ยังไม่ทราบสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลต่อยอดขาย ไม่รู้ว่าปัญหาเกิดจากตรงไหน ต้องเริ่มแก้จากตรงไหน ทำให้ไม่สามารถตอบได้ว่ายอดขายตกเพราะเหตุใด  ทั้ง ๆ ที่การทำงานต่างให้ความสำคัญกับการขายและเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้าเข้ากับผลิตภัณฑ์และบริการแล้ว แต่ยอดขายก็ยังไม่เพิ่มขึ้น สาเหตุของยอดขายตกอาจเป็นสิ่งที่คุณอาจไม่เคยคาดคิด ดังนั้นถึงเวลาที่ต้องมองหาสาเหตุและใช้วิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่ง Readyplanet ได้รวบรวมวิธีมาให้แล้วในบทความนี้ค่ะ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

8 วิธีแก้ปัญหายอดขายตก ทำอย่างไรให้กลับมาสร้างยอดขายได้ดีกว่าเดิม 

1. สำรวจปัญหาและจุดบกพร่องภายในทีมขาย

การติดตามการทำงานของทีมขาย พร้อมทั้งตรวจสอบข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในทีมขายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้จัดการฝ่ายขายต้องให้ความสำคัญในการบริหารทีมขาย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบในการทำงาน การพูดคุยกับลูกค้า การออกไปพบลูกค้าหรือการติดตามลูกค้าในกระบวนการขายต่าง ๆ ของเซลส์ เพราะหากมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง จะพบสัญญาณของการเติบโตหรือการลดลงของยอดขายอยู่เสมอ 

โดยผู้บริหารและผู้จัดการฝ่ายขาย จะต้องมีความเข้าใจในกระบวนการขายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในทีมขาย ตั้งแต่กระบวนการหาลูกค้า, ที่มาของลูกค้า, การติดต่อลูกค้า, การปิดการขาย, การดูแลลูกค้าหลังการขาย, และการรายงานการขายต่าง ๆ เช่น หากรายงานการขายมีข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ไม่สมเหตุสมผล ขาดข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ หรือมีการปกปิดข้อมูลที่เป็นปัญหา ผู้บริหารทีมขายไม่สามารถทราบที่มาที่ไปของข้อมูล ตรวจสอบรายละเอียดกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ได้ อาจทำให้การแก้ไขปัญหาล่าช้า หรือเกิดปัญหาเดิมซ้ำ ๆ ไม่สามารถสร้างกลยุทธ์เพื่อมารองรับหรือแก้ไขปัญหาได้ทัน ส่งผลต่อยอดขายตกได้ ทีมขายก็ต้องเสียเวลากับการแก้ปัญหาแทนที่จะเอาเวลาไปติดตามลูกค้าเพื่อสร้างยอดขาย 

 

rcrm sales pipeline report

 

อย่างเช่น หากธุรกิจมีการใช้ Readyplanet R-CRM เข้ามาช่วยในการบริหารทีมขาย ผู้บริหารและผู้จัดการฝ่ายขายก็จะสามารถดูกิจกรรมการทำงานขายของเซลส์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถเห็นข้อมูลเชิงลึกต่าง ๆ รายงานยอดขายได้เรียลไทม์ สามารถตรวจสอบยอดขายและตรวจสอบกระบวนการขายของทีมขายได้อย่างครบถ้วน ทำให้เห็นแนวโน้มหรือปัญหาที่มีผลต่อยอดขายได้อย่างรวดเร็ว พร้อมแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที


2. ดูข้อมูล Customer Insights ให้มากขึ้น

หลายครั้งที่ธุรกิจอาจจะต้องเจอกับคำถามว่า ใครคือลูกค้าที่มีศักยภาพของธุรกิจคุณ? หากยังไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ทันที คงถึงเวลาที่คุณจะศึกษาและดูข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า หรือ Customer Insights อย่างจริงจัง เพราะไม่ได้เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานทั่วไปในแบบสอบถาม หรือจากการได้รับข้อมูลมาจากทางใดทางหนึ่ง แต่ต้องมีการศึกษา วิเคราะห์และทำความเข้าใจพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของลูกค้าแต่ละราย โดยเฉพาะลูกค้าที่มีศักยภาพในการซื้อ ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ รวมทั้งดูไปถึงสิ่งที่พวกเขาสนใจ สิ่งที่พวกเขาพูดถึง ฯลฯ เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์การขายที่เหมาะสมและตอบโจทย์ต่อความต้องการของลูกค้าได้ (อ่านบทความเรื่อง Customer Insights คืออะไร? ทำไมธุรกิจยุคดิจิทัลต้องให้ความสำคัญ ได้ที่นี่)

 

rcrm lead infomation

 rcrm lost reasons report

 

การใช้โปรแกรม CRM สามารถช่วยธุรกิจวิเคราะห์ Customer Insights ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญอย่างเป็นระบบ เช่น ข้อมูลเชิงประชากร (ชื่อ, เบอร์โทร, อีเมล) พฤติกรรมการซื้อ (ยอดใช้จ่าย, สินค้าที่ซื้อ, วันที่ซื้อ, ปริมาณการซื้อ) หรือรายละเอียดสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการขาย บันทึกปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้หากธุรกิจมีครบถ้วน ก็จะสามารถใช้วิเคราะห์เพื่อวางแผนการทำงานได้อย่างดีมากขึ้น ทำให้ทราบถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อและนำไปวิเคราะห์ต่อยอดได้ในอนาคต

 

3. มองหาวิธีการสร้างโอกาสทางการขายใหม่ ๆ

เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องสร้างโอกาสในการขายให้คุณได้มากมาย สิ่งที่คุณต้องทำเพียงแค่ต้องมีความเข้าใจความในต้องการของลูกค้าและเจาะจงเลือกกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพมากที่สุดให้เหมาะสมกับสินค้าและบริการของเรา โดยมองหาโอกาสการขายจากเขตพื้นที่, แพลตฟอร์มการขายต่าง ๆ  สถานการณ์ที่ลูกค้ากำลังเผชิญอยู่ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า รวมถึงการใช้ช่องทางออนไลน์อื่น ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย มาเป็นช่องทางในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบันและมองหาผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้า ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางที่เหมาะสม เช่น การใช้คอนเทนต์และการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ในการนำเสนอจุดเด่นของธุรกิจ กระตุ้นการรับรู้ ให้พวกเขาสนใจและตระหนักถึงความสำคัญของการใช้สินค้าและบริการของคุณ เป็นต้น

 

customer behavior

 r-shop

 

4. ใส่ใจการติดตามการขายและความต้องการของลูกค้า

การทำความเข้าใจและตระหนักถึงสิ่งที่ลูกค้าต้องการคือหัวใจของการขาย การวางกลยุทธ์การขายโดยปราศจากการติดต่อกับลูกค้าและติดตามอย่างสม่ำเสมอ จะไม่สามารถระบุได้ว่าจริง ๆ แล้วลูกค้าต้องการอะไร อีกทั้งการติดตามการขายจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดี นำไปสู่ความภักดีต่อธุรกิจในระยะยาว

การติดตามการขายกับลูกค้า เพื่อสอบถามข้อมูลและนำไปพัฒนา ปรับปรุงสินค้า บริการของเราต่อได้ เช่น สอบถามความพึงพอใจ สอบถามความต้องการคุณสมบัติของสินค้าเพิ่มเติมหรือสิ่งที่พวกเขาต้องการ เป็นต้น และหากเจอปัญหาต้องแก้ไขให้เร็ว เพราะการเพิกเฉยต่อลูกค้าอาจสร้างความไม่พึงพอใจและส่งผลเสียอย่างอื่นตามมาได้ เช่น เมื่อลูกค้ามีพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียบ่นถึงความล้มเหลวในการใช้บริการของธุรกิจคุณผ่านช่องทางออนไลน์ แต่คุณเพิกเฉย ไม่มีการตรวจสอบ จนทำให้ลูกค้าเลิกใช้บริการ แต่หากมีการติดต่อเพื่อสอบถามหรือขอโทษลูกค้าจะลดอารมณ์โกรธและสร้างโอกาสในการใช้บริการคุณอีกครั้ง เป็นต้น

 

5. ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้

ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะติดตลาดมากขนาดไหน หรือมียอดขายมากเท่าใด ก็ไม่ควรมองข้ามพฤติกรรมของผู้บริโภค ยิ่งในยุคที่ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะหากพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปเพียงนิดเดียว พวกเขาอาจมองว่าสินค้าและบริการของคุณไม่จำเป็นอีกต่อไปส่งผลให้ยอดขายตก

การปรับปรุงสินค้าและบริการให้เข้ากับเทรนด์และพฤติกรรมของลูกค้าอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่ควรมองข้าม และการพัฒนารูปแบบการซื้อยังสามารถสร้างโอกาสการขายได้มากขึ้นกับลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ ได้อีกด้วย เช่น การพัฒนาจากร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่แต่ก่อนต้องนั่งทานที่ร้านเท่านั้น หรือต้องเดินไปซื้อที่เค้าเตอร์เท่านั้น ปัจจุบันก็ปรับเปลี่ยนเป็นการซื้อกลับแบบ Take away อย่างง่ายดาย หรือการซื้อแบบ Drive thru ในชั่วโมงเร่งด่วนจะเพิ่มยอดขายให้ร้านของคุณได้มากขึ้น

 

drivetrue

 

6. ปรับเปลี่ยนเทคนิคการขายให้มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นเสมอ

แน่นอนว่าเทคนิคการขายต้องใช้ประสบการณ์มากมาย แต่พนักงานขายก็ไม่สามารถดำเนินการขายได้ด้วยสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว พวกเขาต้องการเครื่องมือที่เหมาะสมในการเข้าหาลูกค้า พร้อมกับเทคนิคการขายที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่น เพื่อสร้างโอกาสในการขายใหม่ ๆ ให้สำเร็จได้มากขึ้น เช่น เทคนิคการขายที่มีระบบ CRM เข้ามาช่วยในการจัดการงานขาย รายชื่อลูกค้าที่มีอยู่ใน ระบบ CRM เมื่อเลือกดูผ่านฟีเจอร์ Sales Pipeline จะทำให้เห็นว่าลูกค้าแต่ละรายอยู่ขั้นตอนใดในกระบวนการขาย บางรายอยู่ใกล้ขั้นตอนการปิดการขายแล้ว เราก็อาจจะต้องใช้เทคนิคในการพูดคุยโน้มน้าว เพื่อให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจที่เร็วขึ้น และ Sales Pipeline ยังทำให้ทีมขายเห็นว่า ผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าเป็นใครบ้าง ทีมขายก็สามารถเลือกข้อตกลงที่เหมาะสมสร้างโอกาสเพิ่มยอดขายได้นั่นเอง

 

7. ไม่ควรมองข้ามคู่แข่ง และควรหาจุดแข็งของธุรกิจให้เจอ

คู่แข่งของคุณอาจเตรียมตัวเปิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีสินค้ายอดเยี่ยมเหนือคู่แข่งอื่น ๆ ในปัจจุบันทั้งหมดโดยที่คุณไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้น ดังนั้น คุณจึงไม่ควรมองข้ามคู่แข่งเป็นอันขาด โดยที่ควรพยายามศึกษาคู่แข่งตลอดเวลา เพื่อให้คุณสามารถพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถทำให้คุณแข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งคุณยังต้องหาจุดแข็งของธุรกิจให้เจอและนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม เพิ่มโอกาสในการดึงดูดลูกค้าใหม่อ พร้อมชูจุดเด่นของคุณให้เหนือคู่แข่งเพื่อให้เราก้าวขึ้นเป็นผู้นำได้อย่างสำเร็จ ตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟบางร้าน มีรสชาติที่ไม่สามารถสู้รสชาติกาแฟเจ้าอื่น ๆ ได้ แต่เขามีจุดเด่นเรื่องการบริการและพื้นที่ที่ให้ทุกคนเข้ามาใช้บริการได้ ก็สามารถดึงดูดลูกค้าได้มาก และสร้างยอดขายได้ต่อเนื่อง

 

8. เลือกใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น

หากคุณไม่สามารถจัดการกับข้อมูล และจัดการกับปริมาณยอดขายได้เยอะ ๆ ให้มีประสิทธิภาพที่ดีได้ ทำให้ไม่มีเวลาในการจัดการกับงานอื่น ๆ และวิเคราะห์ข้อมูลนำไปใช้ ทางออกที่ดีที่สุดคือการใช้ซอฟต์แวร์มาช่วยจัดการกับธุรกิจอัตโนมัติ โดยเฉพาะระบบ CRM สำหรับการบริหารทีมขาย 

R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย

R-CRM แพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่สามารถติดตามการทำงานของทีมขายได้อย่างเป็นระบบ สามารถดูรายงานและดึงรายงานออกมาได้ในทันทีด้วย R-Insights ช่วยให้ธุรกิจเข้าใจ Customer Insights มากขึ้น เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้ดีขึ้น และยังครอบคลุมเครื่องมือการทำงานต่าง ๆ เช่น การจัดการกับลูกค้าเป้าหมาย การเก็บข้อมูลลูกค้าและพฤติกรรมการซื้อ เป็นต้น เครื่องมือ R-CRM จะช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการรวบรวมข้อมูล มีเวลาในการศึกษาพฤติกรรมของลูกค้ามากยิ่งขึ้น

 

R-Chat

 

นอกจากนี้ ยุคปัจจุบันที่ผู้บริโภคนิยมสอบถามผ่านทางช่องทางแชทกันมากขึ้น เพราะสะดวกและรวดเร็ว R-Chat แพลตฟอร์มบริหารจัดการแชททุกช่องทางในที่เดียว ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยซัพพอร์ตการบริการลูกค้าให้ธุรกิจของคุณสามารถเชื่อมต่อแชทจากทุก ๆ ช่องทางไว้ในที่เดียว ทั้งแชทจากหน้าเว็บไซต์ แชทจาก LINE OA และ แชทจาก Facebook Messenger ลดความยุ่งยากและข้อผิดพลาดของการทำงานของแอดมิน บันทึกติดตามลูกค้าได้อย่างเป็นระบบ ส่งต่อเข้า R-CRM เพื่อติดตามต่อได้ทันที ตอบลูกค้าได้ไว ปิดการขาย สร้างยอดขายได้เพิ่มมากขึ้น

 

สรุป

ยอดขายที่ตกลงไม่จำเป็นต้องเป็นประสบการณ์ที่เลวร้ายสำหรับธุรกิจเสมอไป ปัญหาเหล่านั้นอาจะนำมาสู่โอกาสในการขายใหม่ ๆ ที่สร้างยอดขายให้คุณได้มากขึ้นกว่าเดิม ก่อนแก้ปัญหาควรเริ่มค้นหาสาเหตุที่ทำให้ยอดขายตกเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยตรวจสอบจากปัญหาภายในองค์กรที่อาจนำไปสู่ยอดขาย แม้แต่รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อาจกระทบต่อยอดขายได้ ที่สำคัญคือการเลือกใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการซัพพอร์ตการทำงานทั้งผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายขายและทีมขาย เพื่อช่วยให้ทุกคนทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภทพ ธุรกิจเติบโตได้อย่างสำเร็จและปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว อย่างระบบ Readyplanet R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย ช่วยให้ทุกทีมเข้าใจการทำงานในกระบวนการขายต่าง ๆ มากขึ้น 

 

 

สมัครใช้งาน Readyplanet R-CRM 

R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement

 

 

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี


 

 


 

 

บทความที่น่าสนใจ

 

 

แพลตฟอร์ม CRM