ไขความลับ ทําไมฐานข้อมูลถึงสำคัญกับธุรกิจ

“Data Is The New Gold” ประโยคทองสุดฮิตในยุคของการทำธุรกิจออนไลน์ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมหาศาลและในปัจจุบัน Dataหรือข้อมูลนั้นไม่ใช่ทางเลือกสำหรับการทำธุรกิจในอีกต่อไป แต่ข้อมูลคือแหล่งทรัพยากรอันมีค่าที่จะช่วยปลดล็อกศักยภาพธุรกิจของคุณให้ดียิ่งขึ้นในยุคที่การแข่งขันบนโลกออนไลน์สูงมากในขณะนี้

Data หรือข้อมูลของธุรกิจนั้นมีจำนวนมากมายมหาศาล ทั้งข้อมูลลูกค้าเชิง Demographic (ชื่อ, เบอร์โทร, อีเมล, ที่อยู่, อาชีพ ฯลฯ) หรือข้อมูลเชิงพฤติกรรมความชอบความสนใจในสิ่งต่าง ๆ ของลูกค้า,ข้อมูลของธุรกิจ เช่น ข้อมูลสินค้า, ข้อมูลยอดขาย, ข้อมูลพนักงาน, ข้อมูลประสิทธิภาพของทีมขาย หรือแม้กระทั่งข้อมูลของคู่แข่ง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำธุรกิจได้ เมื่อ “ข้อมูลหรือData” มีมากมายหลากหลายมิติที่ทุกธุรกิจสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มหาศาล การมีฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากได้ รวมถึงการมีระบบจัดเก็บฐานข้อมูลที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญพอ ๆ กับการรู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์จาก Dataหรือข้อมูลอย่างไรเช่นกัน

 

ฐานข้อมูล (Database) คืออะไร ?



“ฐานข้อมูลคือชุดของข้อมูลที่จัดระเบียบเพื่อให้เข้าถึง จัดการและอัปเดตได้ง่าย ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมการขายหรือการโต้ตอบกับลูกค้าเฉพาะ” ที่มา : searchdatamanagement.techtarget.com

 

อธิบายให้ละเอียดยิ่งขึ้น “ฐานข้อมูล” ก็คือ กลุ่มของข้อมูลที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบ โดยกลุ่มของข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้นจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้งานเดียวกัน เช่น ฐานข้อมูลลูกค้า ก็มีข้อมูลของลูกค้า ตั้งแต่ชื่อ, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่, ช่องทางการซื้อสินค้า,สินค้าที่ลูกค้าซื้อ, โปรโมชั่นที่ลูกค้าสนใจ หรือแม้กระทั่งข้อมูลปัญหา ความต้องการของลูกค้าที่ได้สนทนากับพนักงานขาย ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลบนฐานข้อมูลลูกค้าของธุรกิจคุณได้ทั้งสิ้น ในบริษัทหรือองค์กรที่มีข้อมูลปริมาณมาก ย่อมมีความยุ่งยากในการจัดการข้อมูล อย่างที่ Readyplanet กล่าวไปในข้างต้นว่าข้อมูลที่สำคัญกับธุรกิจนั้นมีมากมายหลายมิติ ทั้ง ข้อมูลลูกค้า (ซึ่งสำคัญและมีมูลค่ามากสำหรับธุรกิจ), ข้อมูลการทำงานของพนักงาน, จำนวนลูกค้าที่เข้ามาในแต่ละวัน, ข้อมูลประสิทธิภาพของช่องทางการขาย หรือแม้แต่ข้อมูลประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาหรือการตลาด ฉะนั้นการมีระบบที่ช่วยให้บริษัทหรือองค์กรของคุณสามารถจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากอย่างเป็นระบบ ก็จะช่วยให้การนำข้อมูลออกมาใช้งานได้สะดวก ทันต่อเวลา และขจัดความยุ่งยากลำบากในการใช้งานและจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดนี้ รวมไปถึงการดูแลป้องกันการสูญหายของข้อมูลที่ดีมีมูลค่าของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ความสำคัญของฐานข้อมูล : ฐานข้อมูลหรือ Database นั้น จะช่วยจัดเก็บข้อมูลสำคัญของธุรกิจในส่วนต่าง ๆ ของบริษัทหรือองค์กรของคุณนั้นเป็นระบบระเบียบ เพื่อความสะดวกในการดึงข้อมูลนำไปวิเคราะห์หรือวางแผนการทำธุรกิจของคุณได้ง่ายมากขึ้น

 

ฐานข้อมูล (Database) มีประโยชน์อย่างไร?

ลองจินตนาการถึง บ้านที่เก็บของไว้เยอะแยะมากมายแต่กระจัดกระจายอยู่ในบ้านไม่เป็นที่เป็นทาง จะหยิบเครื่องครัว เครื่องใช้ใด ๆ แต่ละทีต้องเสียเวลาเดินหาไปทั่วบ้านซึ่งตรงกันข้ามกับอีกบ้านที่เก็บสิ่งของไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นสัดส่วนที่หยิบใช้งานง่ายและรวดเร็วกว่า นั่นแหละคือความสำคัญของการทำฐานข้อมูลให้ธุรกิจ

 

ฐานข้อมูลหรือ Database ที่ดีนั้น จะช่วยทำให้ข้อมูลของเรานั้นมีความเป็นระบบระเบียบ มีโครงสร้างที่ดีให้สามารถที่นำไปใช้ในการวิเคราะห์หรือสรุปผลในเชิงของธุรกิจหรือการปฏิบัติงานได้ ซึ่งประโยชน์จากการมีฐานข้อมูลนั้น Readyplanet ขอแบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ

 

1. ประโยชน์ของฐานข้อมูลสำหรับพนักงาน


ในโครงสร้างของระบบจัดเก็บฐานข้อมูลในระดับปฏิบัติงานนั้นมีทั้ง ผู้ใช้และผู้ดูแลข้อมูล ซึ่งประโยชน์ของการมีฐานข้อมูลนั้นช่วยในระดับปฏิบัติงานได้
ดังนี้

  • สะดวก ง่ายและรวดเร็วในการใช้งานข้อมูล : เพราะการเก็บข้อมูลไว้หลาย ๆ ที่โดยไม่ได้จัดหมวดหมู่หรือแม้กระทั่งการเก็บข้อมูลชนิดเดียวกันกระจายไว้หลาย ๆ ที่ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อน จะเรียกข้อมูลใช้แต่ละทีต้องใช้เวลานานเกินความจำเป็น ดังนั้นการนำข้อมูลมารวมเก็บไว้ในฐานข้อมูล จะช่วยลดปัญหาการเกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล อีกทั้งยังช่วยลดภาระอำนวยความสะดวกง่ายในการทำงานของผู้ใช้งานได้

 

  • การใช้งานข้อมูลมีความถูกต้อง ในกรณีที่ระบบฐานข้อมูลของคุณ มีข้อมูลต่าง ๆ จำนวนมาก ก็จัดระบบของฐานข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ โดยแยกข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ ที่ชัดเจน จะช่วยให้การนำข้อมูลมาใส่ในเรื่องที่เป็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันจะช่วยลดความผิดพลาดของข้อมูลเมื่อมีคนนำไปใช้งานได้

 

  • สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ น่าจะเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา หากพนักงานต้องดึงข้อมูลเพื่อส่งต่อกันระหว่างฝ่ายหรือทีมงาน บางครั้งติดภาระงาน ลางานหรือแม้กระทั่งคนที่ถือข้อมูลต่าง ๆ ไว้ลาออกจากองค์กรหรือบริษัทของคุณการมีระบบฐานของมูลของบริษัทไว้เก็บข้อมูลสำคัญใด ๆ ไว้ที่ส่วนกลาง การแชร์ข้อมูลหรือส่งต่อข้อมูลต่าง ๆในทีมก็จะสะดวกและง่ายมากขึ้นนั่นเอง

 

2. ประโยชน์ของฐานข้อมูลสำหรับลูกค้า


ในหลายองค์กรหรือบริษัทโดยเฉพาะธุรกิจที่เน้นการบริการนั้น การจดจำข้อมูลลูกค้าได้นั้น ย่อมสร้างความประทับในการบริการของธุรกิจคุณได้เป็นอย่างดี ทั้งการจดจำชื่อหรือสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าซื้อไปในครั้งก่อนความต้องการหรือปัญหาของลูกค้า และสามารถนำเสนอสิ่งที่ตรงใจหรือตอบโจทย์การแก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างตรงจุด เป็นต้น


3. ประโยชน์ของฐานข้อมูลสำหรับธุรกิจ


เรื่องประโยชน์สำหรับการใช้ข้อมูลหรือ Data คงไม่ต้องกล่าวอะไรกันเยอะมาก เพราะ Readyplanet เชื่อว่า ณ ปัจจุบันนี้นี้หลายธุรกิจเริ่มทราบถึงประโยชน์มหาศาลจากการใช้ข้อมูลที่เก็บไว้ (ทั้งข้อมูลของลูกค้า, ข้อมูลการขาย, ข้อมูลประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ของพนักงาน) สามารถนำไปวิเคราะห์วางแผนเพื่อปรับหรือพัฒนาธุรกิจและองค์กรได้ถูกที่ถูกเวลาจนนำมาสู่การนำธุรกิจให้เจริญงอกงามได้ในระยะยาว

 

นอกจากนั้น ประโยชน์สำคัญอีกประการของการมีฐานข้อมูลไว้ในองค์กรหรือบริษัทก็คือ การป้องกันการสูญหายและการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งหลายบริษัททั่วโลกมักจะมีระบบฐานข้อมูลที่สามารถจำกัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลนั้น ๆ ได้ด้วย

 

ชนิดของข้อมูล (Data Type) แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

 


1. Text เป็นข้อมูลชนิดตัวอักษร ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข ช่องว่าง เครื่องหมายวรรคตอนหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ


2. Memo คือข้อมูลแบบข้อความใช้บันทึกรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่อาจกำหนดได้อย่างแน่นอน


3. Number ใช้กำหนดให้ฟิลด์ที่เก็บข้อมูลเป็นตัวเลขที่คำนวณได้ เช่น ราคาสินค้าหรือจำนวนสิ่งของด้วยชนิดของข้อมูลชนิดนี้จะรับเฉพาะตัวเลขหรือจุดทศนิยมเท่านั้นข้อมูลที่ Database จะแสดงออกมาจะถูกกำหนดด้วยรูปแบบที่แน่นอนซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของข้อมูลที่กำหนด เช่น ข้อมูลชนิด Number จะถูกจัดให้ชิดขอบฟิลด์ทางขวาเสมอ ในขณะที่ข้อมูลชนิด Text จะถูกจัดให้ชิดขอบซ้ายของฟิลด์เสมอ


4. Data / Time ใช้กำหนดให้ฟิลด์ที่ต้องการเก็บข้อมูลประเภทวันที่ เวลา


5. Currency ตัวเลขทางการเงิน ใช้กำหนดกับข้อมูลเกี่ยวกับสกุลเงินตราของประเทศต่าง ๆ


6. Yes/No เก็บค่าข้อมูลทางตรรกศาสตร์มี 2 ค่า ใช้กำหนดให้ฟิลด์ที่ต้องการเก็บ ข้อมูล โดยใช้ตัวอักษรตัวเดียวที่แสดงค่าความจริงเป็นใช่ (Yes, True) หรือไม่ใช่ (No, False) เป็นต้น


7. OLE Object ใช้กำหนดให้กับฟิลด์ที่เก็บข้อมูลเป็นรูปกราฟิก


8. Hyperlink ชนิดข้อมูลสำหรับเก็บที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์


วิธีการจัดเก็บฐานข้อมูล


เดิมการจัดเก็บฐานข้อมูลนั้นหลายบริษัทหลายองค์กรอาจเลือกวิธีการเก็บฐานข้อมูลด้วย แฟ้มเอกสาร, ไฟล์ words, Exel ไปจนกระทั่งการสร้างระบบหรือโปรแกรมเฉพาะองค์กรขึ้นมาเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูล เป็นต้น หรือจะให้สะดวกง่ายขึ้นมาอีกหน่อย ในปัจจุบันหลายบริษัทขนาดเล็กก็อาจจะเลือกใช้ Spreadsheet ที่ Google สร้างไว้ให้ใช้ฟรีได้อีกด้วย แน่นอนว่าด้วยวิธีการเก็บในลักษณะแบบเก่า เช่น แฟ้มเอกสารหรือไฟล์งานต่าง ๆ เกิดสูญเสียก็อาจจะสร้างผิดพลาเสียหายให้กับธุรกิจของคุณได้ การใช้ฐานข้อมูลสำคัญ ๆ ขององค์กรหรือบริษัทนั้น สิ่งที่คุณในฐานะเจ้าของกิจการหรือฝ่ายบริหารข้อมูลในองค์กรต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งก็คือ “ความปลอดภัยของข้อมูล” การกำหนดมาตราการ ว่าใครหรือส่วนใดบ้างที่สามารถการเข้าถึงข้อมูลได้ รวมถึงความปลอดภัยของการจัดเก็บและจัดการข้อมูล จึงเป็นสิ่งคุณจะต้องกำหนดนโยบายของบริษัทอย่างชัดเจน เพราะการสูญหายข้อมูลสำคัญของธุรกิจไปเป็นความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่สำหรับองค์กรของคุณ

 

แน่นอนว่าเพื่อเป็นการลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับฐานข้อมูล ดังนั้นธุรกิจหรือองค์กรต่าง ๆ ก็ควรที่จะลงทุนกับระบบจัดเก็บฐานข้อมูลที่ดีมีประสิทธิภาพรวมไปถึงต้องคำนึงถึงระบบความปลอดภัยของข้อมูลร่วมด้วย ในปัจจุบันหลากธุรกิจทั่วโลกเลือกใช้ระบบจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้าที่เรียกว่า “ระบบCRM”  แม้จะดูขัด ๆ กับชื่อระบบที่มีวัตถุประสงค์คือการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relation Management) แต่เครื่องมือนี้ก็ถูกนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลทั้งหมดที่มีความเชื่องโยงสัมพันธ์กับการ ตัดสินใจซื้อของลูกค้าในมิติต่าง ๆ เพื่อเป้าหมายเดียวกันกับระบบจัดการฐานข้อมูล นั่นก็คือ “การนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ”

 

ข้อมูลจาก financesonline.com ที่รวบรวมผลสำรวจของบริษัท CRM Software มากถึง 54 บริษัทในปี 2020 ที่ทำสำรวจกับกลุ่มลูกค้าที่ใช้ ระบบ CRM กับธุรกิจพบว่า “CRM สามารถเพิ่มยอดขายได้ 29% เพิ่มผลผลิต 34% และคาดการณ์ความแม่นยำได้ 42%”

 

นำฐานข้อมูลไปใช้ได้อย่างไร?


สำหรับการทำธุรกิจนั้น Dataหรือข้อมูล สามรถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมิติ แต่องค์กรหรือบริษัทที่จะใช้ Data ในการขับเคลื่อนธุรกิจในมิติต่าง ๆ นั้นจะต้องมีข้อมูลจำนวนมากพอและมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจที่แม่นยำ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์เชิงคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งดีและไม่ดีให้ธุรกิจได้อีกด้วย ตัวอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ Data จนเป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลกนั่นก็คือ Netflix ผู้ให้บริการ Online Streaming รายใหญ่ของโลก ซึ่งสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ได้เผยผลประกอบการในไตรมาสที่ 1/2020 (ม.ค - มี.ค.) พบว่า Netflix มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นถึง 27.6% และมีสมาชิกเพิ่มขึ้นถึง 15.77 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 “More than 80% of what people watch comes from our recommendation.” -
Todd Yellin รองประธานฝ่ายนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ของ Netflix ทั้งนี้เพราะ Netflix เก็บข้อมูลของผู้ใช้งานจำนวนมากที่ไม่ใช่แค่ข้อมูลในส่วนของ Demographic ที่เป็นแค่เพศ อายุ ที่อยู่อาศัยหรือแค่ความชอบ แต่Netflix เก็บข้อมูลพฤติกรรมการชม Content ของแต่ละบุคคลในแต่วันที่แตกต่างกันไป ลึกซึ้งไปจนถึงการกดปุ่ม Pouse, Skip ในเนื้อหาแต่ละเรื่องด้วย ซึ่งการใช้ข้อมูลจำนวนมากเพื่อวิเคราะห์ความชอบของผู้ใช้งานแต่ละบุคลลได้แม่นยำมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ Netflix มีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วและนำมาสู่รายได้ที่เพิ่มนั่นเอง

 

เมื่อผลลัพธ์การใช้ข้อมูลของผู้บริโภคนั้นเป็นสิ่งที่สร้างความสำเร็จให้หลายธุรกิจ การเก็บข้อมูลพฤติกรรม ความชอบ/ความไม่ชอบใดโดยบางครั้งผู้บริโภคไม่ได้ยินยอมหรือเต็มใจในการเก็บของมูลของพวกเขาจึงเกิดกฎ PDPA หรือที่เรียกกันว่า พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนำมาบังคับใช้บนโลกออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นในช่วงปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบกับหลายธุรกิจที่เลือกพึ่งพาแพลตฟอร์ม Third Party Data ที่คอยเก็บข้อมูลผู้บริโภคมาให้หลายธุรกิจได้นำไปใช้แบบง่าย ๆ เช่น Facebook Ads หรือ Google Ads เป็นต้น ข้อดีของ Third Party Data ก็คือมีข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลให้ธุรกิจต่าง ๆ ได้เลือกใช้ แต่ Readplanet ขอบอกว่า การมีระบบจัดเก็บฐานข้อมูลของลูกค้าไว้ใช้เองในองค์กรหรือบริษัทของคุณ หรือที่เรียกว่า Frist Party Data แม้จะต้องลงแรงในการวิเคราะห์และเลือกข้อมูลเอง แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากกว่าแน่นอน

 

การนำ Database หรือฐานข้อมูลมาใช้สำหรับธุรกิจนั้น Readyplanet แบ่งขั้นตอน



1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้ Database ในแต่ละครั้ง : ขั้นตอนแรกของการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจที่จะขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั้นคุณจะต้องรู้ว่า “ธุรกิจของคุณต้องการอะไร?” เช่น ต้องการลดต้นทุนธุรกิจ, ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือการต้องการพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น หรือง่ายที่สุดก็คือคุณต้องรู้ก่อนว่า “คุณต้องการจะรู้อะไร?” ก่อนกำหนดองค์ประกอบต่าง ๆ ในการหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ



2. เลือกข้อมูลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ : เช่น ข้อมูลการขาย, ฐานข้อมูลลูกค้า หรือข้อมูลประจำวันทั้งหมดที่สามารถบันทึกได้ในระหว่างกิจกรรมทางธุรกิจของคุณ รวมถึงข้อมูลสินค้า ทั้งในมุมของคุณภาพต่าง ๆ, ต้นทุนการผลิต, หรือประสิทธิภาพในการผลิตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เป็นต้น

 


3. วิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนเพื่อทดสอบการใช้ Data : เมื่อได้ข้อมูล มาแล้ว สิ่งที่ควรทำในลำดับถัดไปก็คือ “การวิเคราะห์ข้อมูล” โดยคุณอาจจะเริ่มวิเคราะห์จาก 4 คำถาม ดังต่อไปนี้ เช่น

 

  • ข้อมูลนี้กำลังจะบอกอะไรกับเรา?

 

  • สาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นจากข้อมูลที่ได้มาคืออะไร?

 

  • ผลกระทบจากสิ่งนี้มีอะไรบ้าง และจะส่งผลอะไรได้อีกบ้างในอนาคต?

 

  • ควรจะทำอะไรให้เกิดผลดีกับธุรกิจมากที่สุด?

 

และต่อให้ข้อมูลจะช่วยเรื่องความแม่นยำในการตัดสินใจได้มากแค่ไหน แต่คุณก็ควรวางแผนไว้หลาย ๆ แผนเพื่อทดสอบวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ เพราะการปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจหรือการตลาดอยู่เสมอ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถคาดการณ์และเพิ่มประสิทธิภาพผลลัพธ์ที่ดีได้มากขึ้น รวมไปถึงสามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจและความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจได้อีกด้วย




4. การวัดผลและประเมินผลลัพธ์เพื่อนำไปปรับและพัฒนาแผนธุรกิจในครั้งต่อไป : สิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะต้องเจอก็คือ การนำข้อมูลไปใช้ในครั้งแรก ๆ แผนการที่นำไปใช้อาจเกิดความล้มเหลว สาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ

 

  • ความถูกต้องของข้อมูล : ในฐานข้อมูลขององค์กรของคุณ หากยังมีการเก็บข้อมูลที่ยังไม่เป็นระบบระเบียบ หรือยังไม่มีการตรวจสอบ การแก้ไข หรือการลบ เพื่อให้รายการข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไปจากฐานข้อมูลของบริษัท (Data Cleansing) Readyplanet แนะนำให้คุณทำเสียก่อน ก่อนที่จะนำข้อมูลใด ๆ ไปใช้จริง

 

  • ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลของทรัพยากรบุคคลในแผนกต่างๆ ซึ่งอาจจะมีศักยภาพมากน้อยไม่เท่ากัน

 

ดังนั้นการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ให้พนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกอบรมต่าง ๆ หรือสนับสนุนให้มีการลงมือทำจะช่วยให้พนักงานสามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ได้มากขึ้นสิ่งสำคัญคือการเก็บข้อมูลที่ได้จากความสำเร็จหรือล้มเหลวใดๆ ที่องค์กรหรือบริษัทของคุณได้ทำไปแล้วเพื่อนำไปปรับและพัฒนาการวางแผนในครั้งต่อไปจะช่วยให้คุณเข้าใกล้สำเร็จในการใช้ Data ได้ในครั้งต่อ ๆ ไป

 

อย่างที่ Readyplanet ได้กล่าวไปเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กำลังส่งผลกระทบกับหลายธุรกิจที่เน้นการพึ่งพาข้อมูลจากภายนอก มากมายการใช้ข้อมูลที่ทรงประสิทธิภาพอย่างข้อมูลภายในฐานข้อมูลหรือ Database ของตนเอง ฉะนั้น การกลับมาเพิ่งพาและเลือกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญ และเร่งดำเนินการเพื่อผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจต่อไปในอนาคต Readyplanet ขอแนะนำ R-CRM ที่เป็นมากกว่าระบบบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่สามารถใช้บริหารทีมขายและเป็นเสมือนระบบจัดเก็บฐานข้อมูลลูกค้าของคุณ ที่เก็บข้อมูลได้ทั้ง เหตุผลที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ, ช่องทางที่ลูกค้านิยมเข้ามาสอบถามและสั่งซื้อสินค้า, แคเปญโฆษณาที่มีประสิทธิภาพที่ดีมากที่สุด หรือแม้กระทั่งโปรโมชั่นหรือแคมเปญทางการตลาดที่ลูกค้าตอบรับดีที่สุด เพื่อให้คุณนำข้อมูลไปวิเคราะห์และพัฒนาการขาย การตลาดรวมถึงพัฒนาทีมขายของคุณได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ที่สำคัญข้อมูลใด ๆ มีความปลอดภัยในการรักษาฐานข้อมูลอันมีค่าและช่วยให้คุณดำเนินธุรกิจไปโดยไม่ ได้ผลกระทบจากกฎหมาย PDPA อีกด้วย

 


R-CRM หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Readyplanet Marketing Platform 

R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement

 

 

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี


 

 


 

 

บทความที่น่าสนใจ

 

 

แพลตฟอร์ม CRM