5 เทคนิค Work From Home ยังไงให้เซลส์ปิดการขายง่ายขึ้น
ปัจจุบันสถานการณ์โรคระบาดและเศษฐกิจ ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement ที่ต้องใช้เซลส์ช่วยนำเสนอขาย และลูกค้าต้องใช้เวลาในการตัดสินใจนาน ส่งผลให้เซลส์ออกไปพบลูกค้าได้ยากขึ้น หลาย ๆ ที่ต้องปรับเปลี่ยนการทำงานจากเดิมทำงานที่ออฟฟิศ มาเป็น WFH หรือ Work from Home แทน ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อคนที่เป็น Sales Manager และ ผู้บริหารด้วย ที่อาจจะติดตามการทำงานของเซลส์ได้ยากขึ้น ไม่เจอหน้ากัน เซลส์อยู่บ้าน ยังทำงานไหมนะ หรือแอบไปเดินเล่นอยู่แถวห้างสรรพสินค้าอยู่นะ ส่วนเซลส์เองจะนัดประชุมกับลูกค้าก็ยาก ไหนจะต้องทำยอดขายให้ได้ตามเป้าอีก วันนี้เราจึงได้รวบรวม 5 เทคนิค Work from Home ยังไง ให้เซลส์ปิดการขายได้ง่ายขึ้น มาฝากทั้งเซลส์, ผู้จัดการ และผู้บริหารทุกท่านได้นำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตัวเองกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้าง มาติดตามกันได้เลย
1. วางแผนการทำงานและตารางงาน
ข้อนี้ขีดเส้นไฮไลท์ไว้ได้เลย เพราะ สำคัญมากไม่ใช่แค่ เซลส์หรือผู้ที่ดูแลงานขายเท่านั้น ที่ต้องวางแผนงาน แต่ในทุกสายงานอาชีพ ง่าย ๆ ก็คือ ทุกคนควรรู้จักวางแผน เนื่องจากใน 1 วัน คนเรามีเรื่องให้คิดให้ทำมากมาย แต่มีเวลาเพียงแค่ 24 ชั่วโมง ต้องจัดตารางเวลา ไม่เช่นนั้น ใน1 วัน คุณก็แทบจะไม่เห็นผลลัพธ์อะไรเลย เคยสังเกตไหมคนที่เขาประสบความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ ทุกคนจะต้องมีการวางแผนและตารางงานที่ชัดเจน เนื่องจากการวางแผนงานจะช่วยลดการเกิดปัญหา จะให้เราดำเนินงานได้แบบไม่สะดุด เรียนรู้ ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานั้นซ้ำอีก ส่วนในเรื่องของตารางงานควรมีเวลาระบุที่ชัดเจน ถ้าในกรณีที่มีงานด่วนหรือแทรก สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ได้รันงานต่อไปได้ เท่านี้ก็จะช่วยให้คุณได้จัดระเบียบความคิดวางแผนงาน เพื่อยอดขายง่ายขึ้นและมากขึ้นอีกด้วย
2. มีการประชุมออนไลน์ และอัปเดตภายในทีมเป็นประจำ
Video Conference คือ การประชุม และอัปเดตสถานการณ์ยอดขาย การดำเนินการต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ดี ที่ทุกคนจะได้เห็นเป้าหมายขององค์กรอย่างชัดเจน และรู้ว่าตอนนี้ คุณกำลังขับเคลื่อนมันไปอย่างไร แต่หลายคนก็มักจะเบื่อการประชุมที่แสนจะยืดยาวและน่าเบื่อ จนมองว่า การประชุมคือการสูบพลังงานทั้งวันของเราออกไป ถ้าคุณเป็นผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจที่ประชุม หรือผู้ดำเนินการประชุมเทคนิคนี้ จาก Elon Musk ก็น่าสนใจ จะสามารถทำให้ทีมงาน Productive ได้เป็นอย่างดีหลังจากการประชุม
- บอกลาการประชุมที่ยืดเยื้อ
เพราะ อิลอน มัสก์ มองว่าการประชุมที่ยาวนานจะทำให้ทีมงานน่าเบื่อเสียเวลาต่อการทำงานอื่น ๆ อาจจะกระทบเป็นวงกว้างถึงงานแผนกอื่น เขาจึงแนะนำให้พนักงานบอกลาการประชุมยาวนานหรือลุกออกจากห้องได้
- ลดการประชุม ไม่ควรบ่อย
เพราะ การประชุมบ่อย ๆ ไม่ได้หมายความว่างานออกมาดี บางคนอาจจะรู้สึกไม่มีเวลาทำงานตัวเอง และกลายเป็น Burn Out จนทำให้ประสิทธิภาพงานลดลงเรื่อย ๆ
- ออกจากห้องประชุม ถ้าไม่มีส่วนร่วม
ความหมายของการเดินออกจากห้องประชุม ในมุม อิลอน มัสก์ ไม่ใช่ “การเสียมารยาท” เพราะ เรื่องบางอย่างในการประชุมอาจจะไม่ได้เกี่ยวกับคุณ ก็อาจจะทำให้เขาต้องเสียเวลา เผื่อรอคุณออกจากที่ประชุม และคุณยังมีเวลาเหลือได้ทำงานอย่างอื่นอีกด้วย
จากเทคนิคของ อิลอน มัสก์ ก็น่าจะทำให้คุณและทีมงานได้ Productive หลังประชุมมากขึ้น แต่อย่างน้อยเราควรจะอัปเดตกันเป็นรายสัปดาห์ หากเจอปัญหาอะไร หรือกลยุทธ์แบบไหนที่ไม่ได้ผล จะได้ระดมความรู้แก้ไขปัญหา และสามารถสร้าง ยอดขายเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
3. โปรโมชั่นหรือส่วนลดเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อมากขึ้น
ปัจจุบันจำนวนร้านขายของออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคู่แข่งมากขึ้น ไม่ใช่คุณภาพสินค้าเท่านั้นที่จะสร้างยอดขายให้เรา การโปรโมชั่นก็เป็นอีก 1 ตัวเลือก ที่ช่วยเรียกลูกค้าใหม่ๆ อย่าง ฟีเจอร์ R-Shop ของ Readyplanet ก็มีฟังก์ชันมากมายให้คุณได้ออกแบบโปรโมท ตัวโปรโมชั่นส่วนลดได้ เช่น Promotion Popup สีสันที่สะดุดตาให้ลูกค้าหยุดสนใจโปรโมชั่น แต่การตั้งราคาก็เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญเช่นกัน คุณอาจจะ ใช้เทคนิคโปรโมชั่นผสมผสานกับเทคนิคการตั้งราคา จะช่วยเพิ่มความสนใจให้สินค้า และกระตุ้นการตัดสินใจให้ลูกค้าได้ดีอีกด้วย ถ้าคุณสนใจในเรื่องของกลยุทธ์การตั้งราคา บทความนี้ 7 เทคนิคการตั้งราคาให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ จะตอบโจทย์การสร้างยอดขาย ให้ธุรกิจของคุณเป็นอย่างดี
4. ติดต่อหรือพูดคุยกับลูกค้าผ่าน video conference
Video Conference คืออะไร?
การประชุมทางไกลที่ช่วยให้ผู้คนที่อยู่ต่างสถานที่กัน สามารถเข้าประชุมได้พร้อมกันหลายคน เหมือนอยู่ในห้องเดียวกัน สามารถแชร์ข้อมูลภาพ เสียงและเห็นหน้ากันได้ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างมือถือ โดยใช้โปรแกรมที่เป็นสื่อกลางต่างกันออกไป เช่น Skype, Zoom หรือ Google Meet เป็นตัวเชื่อมต่อให้ถึงกัน ขึ้นอยู่กับผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมด้วยว่าเขาสะดวกที่จะใช้โปรแกรมอะไร สถานการณ์ COVID-19 แบบนี้ การออกไปพบปะลูกค้าก็เป็นไปได้ยาก ทั้งลูกค้าและตัวคุณเอง ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนั้น เซลส์มือทองในยุคนี้ ต้องรู้จักการใช้ Video Conference ซึ่งไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสถานการณ์โรคระบาดเท่านั้นถึงจะทำวิธีนี้ออกมาใช้ บางครั้งลูกค้าหรือคุณเอง อยู่ในที่ที่เดินทางมาหากันไม่สะดวก หรืออาจจะมีเวลาสั้น ๆ ในการนำเสนองาน ก็สามารถใช้ได้ อย่าปล่อยให้สถานการณ์แบบนี้ มาทำให้ยอดขายของคุณหลุดลอยไปได้ แต่ถ้าคุณสนใจวิธีนี้และไม่รู้จะเริ่มต้นเตรียมตัวอย่างไร ให้ลูกค้าประทำใจ ผ่านระบบ Video Conference สามารถอ่านบทความหัวข้อ 7 เทคนิคการนำเสนองาน และปิดการขายผ่าน Video Conference
5. มีตัวช่วยในการเก็บข้อมูลลูกค้า
พูดถึงตัวช่วยในการเก็บข้อมูลลูกค้าคุณนึกถึงอะไรเป็นอย่างแรก หรือง่าย ๆ เลยถ้าคุณต้องดูแลข้อมูลลูกค้ามากกว่า 1,000 รายต่อวัน คุณจะทำอย่างไร ? เชื่อเลยว่า เสียงในหัวของคุณตอนนี้ต้องตอบว่า “รับพนักงานเพิ่ม” แน่นอน และขอถามต่ออีกว่าในยุคสถานการณ์แบบนี้คุณอยากเพิ่มต้นทุนในค่าพนักงานเพิ่มหรือไม่ ? และแน่นอนอีกเช่นเคยว่าเสียงในหัวคุณตอบว่า “ไม่” และนั่นไม่ใช่คำตอบที่ผิดและก็ไม่ใช่คำตอบที่ถูก ดังนั้นอยากใส่สำรวจแบบนี้ ในวันนี้ทีมงานของคุณหรือองค์กรของคุณเองมีการดูแลข้อมูลลูกค้าอย่างไร และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านี้ได้มากน้อยขนาดไหน ? การทำงานของทีมงานคุณในตอนนี้ซับซ้อนระดับไหน ? และถ้าหากคุณได้ศึกษาโมเดลธุรกิจของเจ้าอื่น ๆ คุณจะพบว่าในส่วนของตัวช่วยจัดเก็บข้อมูล มากกว่า 90% ทุกองค์กรใช้ ระบบ CRM
ระบบ CRM คืออะไร
เครื่องมือในการช่วยบริหารทีมขาย ให้สานสัมพันธ์ลูกค้าได้ต่อเนื่อง ถึงแม้พนักงานขายจะเป็นคนละคนกันก็ตาม เพราะในระบบ CRM มีการบันทึกข้อมูลขอลูกค้าไว้อย่างละเอียด ข้อมูลหรือเอกสารสำคัญของลูกค้า จะถูกเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ ทาง Readyplanet ของเราจะเรียกระบบนี้ว่า “R-CRM ” และถ้าคุณต้องทำการตลาดโปรโมท โฆษณา ข้อมูลตรงจุดนี้ก็เป็นประโยชน์ เพราะ ในระบบ R-CRM มีฟีเจอร์รองรับที่เรียกว่า R-Insight ถือได้ว่าระบบ R-CRM คือ การติดอาวุธให้ทีมเซลส์ทำงานได้ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว
R-Insights คืออะไร
R-Insights คือฟีเจอร์ภายใต้ R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย เปรียบเสมือนสถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล สถิติต่าง ๆ ที่เข้ามาในระบบR-CRM ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ยกตัวอย่างเช่น การรายงานสถิติคำสั่งซื้อ มีข้อมูลครบในทุกขั้นตอน โดยสามารถเรียกดูได้ตามหมวดหมู่หรือวัตถุประสงค์ที่ต้องการ รวมถึงเป็นแหล่งเก็บข้อมูลสถิติต่าง ๆ ของระบบบริหารจัดการรายการสั่งซื้อ สามารถรายงานผลได้ตลอดหรือคัดกรองออกมาเป็นวัน เดือน ปี หรือ รายบุคคลก็ได้เช่นกัน
ทำไมธุรกิจของคุณควรใช้ระบบ R-CRM
- ติดตามการทำงานของเซลส์ได้อย่างเป็นระบบ วัดผลได้
- ประหยัดเวลา-ลดความยุ่งยาก ในการทำ Sales Report
- เข้าใจ Customer Insights เพื่อเข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น
- ทีมเซลส์จะสามารถทำงานได้คล่องและไวมากขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพและวัดผลในการทำงานได้มากขึ้น
ซึ่ง Sales Report เป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามมาก ข้อมูลที่อยู่ใน Sales Report นั้นจะมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการขาย ตั้งแต่จำนวน Lead ของลูกค้าที่เข้ามาแต่ละวัน การดำเนินการขายของพนักงานขายแต่ละคน ไปจนถึงจำนวนการปิดการขายและยอดขายต่าง ๆ เมื่อคุณอ่านมาถึงตรงนี้เกิดข้อสงสัยถึงความสำคัญของ Sales Report สามารถอ่านได้ ที่นี่ ถ้าคุณอยากรู้แบบลึกและเข้มข้นสามารถอ่านได้ที่บทความ ระบบ R-CRM ช่วยบริหารทีมขายได้อย่างไร
3 สัญญาณตัวอย่าง ที่ธุรกิจของคุณจำเป็นต้องใช้ระบบ R-CRM
ณ ตอนนี้คุณเองคงสงสัยและอาจจะยังไม่เข้าใจในระบบ R-CRM เยอะมาก และด้วยงานที่รัดตัวระบบที่อาจจะดูซับซ้อน คุณจึงกำลังสับสนว่า ธุรกิจของคุณนั้นจำเป็นต้องใช้มันหรือไม่วันนี้ Readyplanet จะบอก 3 สัญญาณตัวอย่างที่จะทำให้คุณตัดสินใจง่ายขึ้นและเข้าถึงสถาการณ์ได้อย่างชัดเจน
1. ธุรกิจของคุณมีจำนวน Lead ที่ต้องทำการปิดยอดขายจำนวนมาก
ซึ่งข้อมูลลูกค้าค่อนข้างละเอียดอ่อนมาก เมื่อข้อมูลจำนวนมากขึ้นทีมขายก็อาจจะขาดตกบกพร่อง ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อปิดการขาย ในส่วนของระบบ R-CRM ตรงนี้จะมาช่วยดูแลถังข้อมูลและเพิ่มความมืออาชีพให้แก่ทีมขายอย่างเห็นได้ชัด
2. ธุรกิจของคุณทำโฆษณาออนไลน์มาแล้วระยะหนึ่ง
เพราะ ลูกค้าหรือ Lead ที่คุณได้มาจากการทำโฆษณาออนไลน์นั้นคือ Lead ที่มีต้นทุน ในเมื่อคุณเสียเงินทุนตรงนี้ในการได้ข้อมูลมาจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ หากคุณไม่มีเครื่องมือ ที่ช่วยทีมขายของคุณ ข้อมูลลูกค้าที่คุณเสียต้นทุนก็จะสูญเปล่า และคุณก็ควรทำความเข้าใจในตัวลูกค้า เสียก่อนเพื่อจะได้เข้าใจ "โอกาสการขาย" และเป็นเซลส์มือทองได้ถึงแม้จะเป็นในยุคที่ต้อง Work Form Home
3. ธุรกิจและทีมงานเริ่มวัดผลไม่ได้ ประสิทธิภาพลดลง
การที่ทีมงานประสิทธิภาพลดลงอาจจะไม่ใช่ที่ตัวบุคคลเสมอไป แต่อาจจะเป็นตัวช่วยหรือเครื่องมือที่คุณ ไม่ได้ให้การสนับสนุนพวกเขาอย่างเต็มที่ เมื่อข้อมูลที่เยอะขึ้นการจัดการระบบยังล่าช้าและไม่เป็นระเบียบแบบเดิม ก็ทำให้ Lead ลดลง ถือเป็นช่องโหว่ที่คู่แข่งอาจจะมาช้อน Lead ของเราไปได้ หรืออาจจะมาจากการที่ลูกค้าเยอะเกินไป ดูแลไม่ทั่วถึง ทีมเซลส์ทำงานเหนื่อยจดเกิด สภาวะ Burn Out ก็เป็นได้
และยังมีเหตุผลที่เรามองเห็นและเสนอโอกาสทางการปิดช่องโหว่ก่อนที่ธุรกิจคุณจะเดินหน้าไปไกลกว่าจะย้อนกลับมาแก้ระบบหลังบ้าน และถ้าคุณอยากรู้สัญญาณอันน่ากลัวอื่น ๆ อีก สามารถอ่านตัวอย่างเหตุผลที่บทความนี้ได้ทันที สัญญาณบ่งบอกว่าธุรกิจของคุณควรใช้ระบบ R-CRM ได้แล้ว
ไม่ว่าตอนนี้ธุรกิจของคุณจะเพิ่งเริ่มเดินทางหรือไปไกลกว่าครึ่งทางแล้ว การปรับตัวและการมีตัวช่วยที่ดี ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญในทุกยุคทุกสมัย เพราะการขายไม่ใช่แค่การเสนอสรรพคุณสินค้าแล้วจะตัดสินใจได้ มันอยู่ที่ใครถือข้อมูลลูกค้า และตอบโจทย์ลูกค้าได้มากกว่า Data ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของทุกองค์กร อย่างสถานการณ์ COVID-19 แบบนี้มันมาอย่างกระทันหัน คุณจะค่อยมาเรียนรู้และปรับตัวคงเป็นไปได้อย่าง ถ้าคุณอย่างจะเดินบนถนนที่ราบรื่น คุณควรเตรียมตัวให้พร้อมในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าภายภาคหน้าจะเกิดเหตุการณ์อะไร Data ที่คุณมีอยู่และรักษาด้วยระบบ CRM อย่างดี ก็ทำให้คุณก้าวต่อได้ทันที โดยที่ไม่ต้องมานั่งปูพื้นฐานการขายใหม่
และในวันนี้จะดีกว่าไหมถ้าคุณมีระบบ R-CRM ช่วยดูแล ยังมีโอกาสได้วางระบบหลังบ้านให้ดี เตรียมพร้อมในการเติบโตแบบก้าวกระโดดหลังจากนี้ และทาง Readplanet เชื่อว่า เมื่อคุณใช้ระบบ R-CRM แล้ว ทีมเซลส์ของคุณจะแฮปปี้กับการทำงาน ที่ไม่ต้องคอยมานั่งทำ Sales Report เอง แบบน่าเบื่อ ที่ลืมกันในทุกเดือน และยังแฮปปี้กับยอดขายปังกันอย่างมาก แม้จะเป็นในช่วง Work Form Home ก็ตาม ถ้าคุณอยากเห็นความแฮปปี้ของทีมงานอย่างนี้สามารถทดลองใช้ ระบบ R-CRM ที่นี่
R-CRM หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Readyplanet Marketing Platform
R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement
ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี
Updated: 29 June 2021 | Produced by: Ploynaphat Wattanachodjirachai