ระบบ CRM vs ระบบ ERP ต่างกันอย่างไร?
เทคโนโลยีกับการทำงาน กลายเป็นของคู่กันที่ขาดกันไม่ได้ในยุค 4.0 แบบนี้ เพราะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้การทำงานของคุณสะดวกสบายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่เวลาเป็นเงินเป็นทอง คงไม่มีผู้ประกอบการคนไหนที่อยากจะสูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุ ซึ่งในปัจจุบันระบบ CRM และระบบ ERP เป็นระบบที่ถูกเลือกนำมาใช้มากที่สุด ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กร แล้วธุรกิจควรเลือกใช้ระบบไหนดีล่ะ? ถึงจะตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ระบบ ERP คืออะไร?
ระบบ ERP หรือ Enterprise Resource Planning คือระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้งานทรัพยากรต่าง ๆ ของธุรกิจ เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการบริหารจัดการและประสานงานขององค์กรให้เป็นระบบ โดยเชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่การบริหารจัดการแผนการผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการการเงิน การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า การบริหารทรัพยากรบุคคล ระบบการกระจายสินค้า และระบบอื่น ๆ ของธุรกิจ เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรของธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดำเนินงานและใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านระบบ ERP บนฐานข้อมูลเดียวกันได้อย่างราบรื่น
ระบบ ERP มี Module การทำงานด้านใดบ้าง?
ระบบ ERP ประกอบด้วยโมดูลหลาย ๆ โมดูลที่มีหน้าที่แตกต่างกัน เช่น
- ด้านการทำบัญชีและการเงิน (Accounting and Finance): โมดูลนี้ช่วยในการบันทึกบัญชีและการเงินขององค์กร ภายในโมดูลนี้จะมีฟังก์ชั่นการใช้งาน เช่น การบันทึกบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ (Chart of Accounts) การสร้างใบแจ้งหนี้ (Invoice) การรับชำระเงิน (Payment) การตรวจสอบบัญชี (Account Reconciliation) และการสร้างรายงานทางการเงิน (Financial Reporting) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการการเงินและบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องแม่นยำ
- ด้านการจัดซื้อ (Procurement): โมดูลนี้ช่วยในกระบวนการวางแผนและจัดการการซื้อวัตถุดิบและวัสดุที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการขององค์กร ภายในโมดูลนี้จะมีฟังก์ชั่นการใช้งาน เช่น การสร้างคำขอซื้อ (Purchase Requisition) การจัดทำใบเสนอราคา (Request for Quotation) การสั่งซื้อ (Purchase Order) และการตรวจสอบการส่งมอบสินค้า (Goods Receipt) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมกระบวนการจัดซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
- ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management): เป็นโมดูลที่ช่วยในการจัดการและบริหารทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการจัดการข้อมูลพนักงาน การวางแผนทรัพยากรบุคคล การจัดการเงินเดือน และการติดตามประสิทธิภาพของพนักงาน เพื่อให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรบุคคลในทางที่เหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้
- ด้านการขายและการตลาด (Sales and Marketing): โมดูลนี้ช่วยในการบริหารจัดการกระบวนการขายสินค้าหรือบริการ โมดูลนี้จะมีฟังก์ชั่นการใช้งาน เช่น การจัดทำใบเสนอราคา (Quotation) การสร้างใบสั่งขาย (Sales Order) การติดตามสถานะการส่งมอบสินค้า (Delivery Tracking) การบริหารการจัดซื้อ (Purchasing) การบริหารคลังสินค้า (Inventory) เป็นต้น
- ด้านการผลิต (Production): โมดูลนี้ช่วยในการวางแผนและควบคุมกระบวนการผลิตสินค้าขององค์กร จะมีฟังก์ชั่นการใช้งาน เช่น การวางแผนการผลิต (Production Planning) การสร้างคำสั่งผลิต (Production Order) การติดตามและควบคุมกระบวนการผลิต (Production Monitoring) และการบันทึกผลผลิต (Production Reporting) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดการกระบวนการผลิตได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิต
เป้าหมายสำหรับธุรกิจที่ใช้ ERP คืออะไร?
ในหลายธุรกิจที่แต่ละส่วนหรือแต่ละแผนกต่างคนต่างทำงาน โดยขาดการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน นอกจากจะทำให้เกิดต้นทุนที่สูงแล้ว ข้อมูลยังมีความซ้ำซ้อนและขาดความต่อเนื่องและเกิดปัญหาอีกหลายด้านตามมาไม่สิ้นสุด ดังนั้น การใช้ระบบ ERP ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงกระบวนการทำงาน ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ รวมถึงการจัดการทรัพยากรบุคคล การวางแผนธุรกิจ การติดตามผลการขาย และการบริหารทรัพยากรทั้งหมดให้เป็นระบบและมีความสอดคล้องกัน ทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน มีการตัดสินใจที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ รวมถึงเพิ่มความโปร่งใสในการบริหารจัดการ ทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ระบบ ERP
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าระบบ ERP มีการใช้งานในหลากหลายด้าน จึงขอมายกตัวอย่างธุรกิจที่มักเลือกใช้ระบบ ERP ในการทำงาน ให้พอเห็นภาพกันเพิ่มเติม ดังนี้
1. บริษัทผู้ผลิต (Manufacturing companies)
สำหรับบริษัทผู้ผลิตสามารถนำระบบ ERP มาช่วยในเรื่องของการคำนวณความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานของรายการวัตถุดิบที่ต้องซื้อและรายการที่ต้องการผลิต จะบอกถึงจำนวนความต้องการและคำนวนระยะเวลาที่ต้องทำการสั่งซื้อเพิ่มเติมให้เต็มความต้องการ รวมถึงวางแผนความสามารถในการผลิตให้พอกับความต้องการ
2. ธุรกิจค้าปลีก (Retail Businesses)
ระบบ ERP ในธุรกิจค้าปลีกจะช่วยในการจัดเก็บและจัดการข้อมูลผ่านระบบอย่างอัตโนมัติ ที่จะจัดระเบียบและลดความซับซ้อนของการดำเนินงานแบบวันต่อวัน อีกทั้งยังช่วยในการพยากรณ์ความต้องการโดยการวิเคราะห์แนวโน้มการซื้อของลูกค้าในอดีตซึ่งช่วยให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนสินค้าคงคลังเพื่อตอบสนองความต้องการที่ของลูกค้าจะเกิดขึ้น และร้านค้าที่มีสาขาหลายแห่ง สามารถใช้ระบบ ERP เพื่อการจัดการสต็อกสินค้า การสั่งซื้อสินค้าจากศูนย์กลาง การบริหารทรัพยากรบุคคล เช่น การจัดตารางเวลาการทำงาน การจัดการเงินเดือนพนักงาน และระบบบัญชี ได้ด้วยเช่นกัน
3. ธุรกิจบริการ (Service businesses)
ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรมและรีสอร์ท สนามบิน โรงพยาบาล และบริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคม สามารถใช้ระบบ ERP เพื่อการจัดการทรัพยากรบุคคล การวางแผนการจัดงาน การบริหารสต็อก และการบัญชีเพื่อให้บริการที่มีประสิทธิภาพและความพึงพอใจสูงสุดต่อลูกค้า
4. องค์กรด้านการดูแลสุขภาพ (Healthcare organizations)
การนำระบบ ERP มาใช้จะช่วยบริหารจัดระบบงาน เช่น สิทธิ์เบิกการรักษาต่าง ๆ ให้มีความเชื่อมโยงกันได้อย่างอัตโนมัติและรวดเร็วผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการทำข้อมูลซ้ำ ป้องกันความเสี่ยงด้านการเงินการบัญชี มีการบริหารจัดการ Unit Cost และระยะเวลารอคอยให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จึงช่วยเพิ่มคุณภาพระบบบริการ
5. หน่วยงานรัฐบาล (Government)
ระบบ ERP จะช่วยในเรื่องการบริการและข้อมูลออนไลน์แบบเรียลไทม์ เช่น การขออนุมัติดำเนินงาน การขอเบิกและขอยืมทดรองราชการ งานที่ทำไม่ต้องมาคีย์ข้อมูลซ้ำหรือทำใหม่ โดยข้อมูลที่เก็บจะส่งถึงกันทั้งหมดอย่างเป็นระบบ
6. องค์กรไม่แสวงหากำไร (Nonprofit organizations)
ระบบ ERP จะจัดเก็บข้อมูลที่ป้อนทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูลเดียว ทำให้ทุกแผนกสามารถทำงานกับข้อมูลเดียวกันได้ อีกทั้งยังช่วยวิเคราะห์และจัดทำเป็นรายงานได้อีกด้วย
ประโยชน์ของระบบ ERP
1. การบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ: ระบบ ERP ช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ เช่น วัตถุดิบ สินค้าคงคลัง ทรัพย์สิน และแรงงาน โดยการรวมข้อมูลทั้งหมดในระบบเดียว ทำให้สามารถวางแผนการใช้ทรัพยากรได้อย่างตรงไปตรงมา ลดการสูญเสียทรัพยากร และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร
2. การปรับปรุงกระบวนการทำงานธุรกิจ: ระบบ ERP ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงกระบวนการของแต่ละฝ่ายในองค์กรได้ดีขึ้น โดยให้ข้อมูลและข้อมูลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องและทันสมัย ทำให้สามารถระบุปัญหาและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยในการอัตราส่วนของกระบวนการ การประหยัดเวลา และการลดความผิดพลาดในกระบวนการทำงาน
3. การบริหารจัดการลูกค้า: ระบบ ERP ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าที่สำคัญ เช่น ข้อมูลการติดต่อ ประวัติการซื้อ และพฤติกรรมการใช้งาน ทำให้ธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดและการบริการลูกค้าได้ดีขึ้น
4. การบริหารจัดการเงินและบัญชี: ระบบ ERP ช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการเรื่องการเงินและบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องและทันสมัย ทำให้สามารถทำงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ การบันทึกบัญชี และการสร้างรายงานการเงินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
5. การตัดสินใจที่ดีขึ้น: ระบบ ERP ช่วยให้ผู้บริหารและทีมงานสามารถตัดสินใจที่ดีขึ้น โดยมีข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ในมือ ระบบนี้ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างฟังก์ชั่นต่าง ๆ และให้ภาพรวมของธุรกิจที่ครอบคลุมทั้งส่วนการเงิน การผลิต การขาย และการบริหารทรัพยากรบุคคล
และหากพูดถึง ธุรกิจที่ใช้ระบบ ERP ในด้านการบริหารลูกค้าและงานขายนั้น แม้ว่าระบบ ERP จะมีโมดูลของด้าน CRM พื้นฐานบางอย่างอยู่ แต่ก็อาจจะยังไม่ได้ถือว่าเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาสำหรับการบริหารจัดการทีมขายโดยเฉพาะ ดังนั้นหากใช้ระบบด้าน CRM for Sales อาจจะมีความเหมาะสมและตอบโจทย์มากกว่า ดังนั้น เราจะมาดูกันต่อว่า ระบบ CRM สำหรับบริหารทีมขายโดยเฉพาะนั้นเป็นอย่างไร และมีการใช้งานอย่างไรบ้าง
ระบบ CRM คืออะไร?
ระบบ CRM หรือ Customer Relationship Management เป็นระบบสำหรับใช้บริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับลูกค้า เพื่อช่วยในการจัดการและส่งเสริมประสิทธิภาพของงานขายในทุก ๆ ขั้นตอน โดยระบบนี้มุ่งเน้นทั้งในการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าให้เป็นระบบ ใช้ในการติดตามลูกค้า กิจกรรมการขายและการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขายได้อย่างไม่ตกหล่น อีกทั้งใช้ข้อมูล สถิติต่าง ๆ ในระบบ CRM วิเคราะห์โอกาสทางการขายในอนาคต ที่สำคัญยังช่วยรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย รวมถึงยังเป็นตัวช่วยให้ทีมขายทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย
ระบบ CRM มี Function สำคัญอะไรบ้าง?
ระบบ CRM มีฟังก์ชั่นสำคัญที่มีประโยชน์ในการบริหารจัดการลูกค้าและการขาย และเป็นประโยชน์ทั้งกับผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายขาย และทีมขายอีกด้วย ดังต่อไปนี้
- การบริหารข้อมูลลูกค้า: ระบบ CRM ช่วยธุรกิจในการเก็บรวบรวมและจัดการข้อมูลลูกค้า เช่น ข้อมูลส่วนตัว ประวัติการซื้อ และการติดต่อกับลูกค้า ทีมขายสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ในทันที และนำไปใช้ในการวางแผนการขายและการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่นใน R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย ก็มีฟีเจอร์ด้าน Lead Management ที่ทีมขายสามารถใช้ในการจัดการข้อมูลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในระบบเดียว เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ทำงานได้อย่างคล่องตัว โฟกัสงานขายได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น
- การติดตามกิจกรรมขาย: ระบบ CRM ช่วยในการบันทึกข้อมูลและติดตามกิจกรรมขายของทีมขายได้อย่างครบถ้วน สามารถย้อนดูรายละเอียดบันทึกข้อความ ประวัติการติดตามลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว การส่งใบเสนอราคา การเจรจาต่อรอง และการติดตามสถานะของการขาย ถือว่าสามารถใช้ระบบ CRM ติดตามงานขายได้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงขั้นตอนปิดการขายได้ในระบบเดียว อย่างเช่นใน R-CRM ก็จะมีฟีเจอร์ Sales Pipeline ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการขายให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งแต่ละธุรกิจสามารถปรับแต่งขั้นตอนใน Sales Pipeline นี้ได้เอง เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานจริงของทีมขายของธุรกิจ รวมไปถึงมีฟีเจอร์ Reminder เพื่อให้เซลส์ใช้มนกในการตั้งนัดหมายแจ้งเตือนการทำงาน หรือการนัดหมายกับลูกค้า ทำให้ติดตามลูกค้าได้อย่างไม่ตกหล่น
- การวางแผนการขาย: ระบบ CRM ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์การขายของทีมขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทีมขายสามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและการขายของตัวเองได้ทันที ทำให้สามารถมีแผนการทำงานอย่างลำกดับ และจัดการได้อย่างมืออาชีพ เช่น การวิเคราะห์ประวัติการซื้อ การสั่งซื้อเพิ่มเติม และโอกาสการขาย ทีมขายสามารถวางแผนการติดต่อลูกค้าและกำหนดกลยุทธ์ในการขายอย่างมีเสถียรภาพ
- การสร้างความพึงพอใจของลูกค้า: ระบบ CRM ช่วยในการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าของธุรกิจให้ยาวนาน เมื่อทีมขายสามารถติดตามและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างเป็นระบบ สร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้อยู่เสมอ รวมถึงการจัดการข้อร้องเรียน และการให้บริการหลังการขายได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ลูกค้าก็ยิ่งมีความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าหรือบริการกับธุรกิจของคุณได้
- การวิเคราะห์และรายงาน: ระบบ CRM เมื่อมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบแล้ว ยังมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ออกมาให้ทางผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายขายสามารถเรียกดูได้ทันที ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและการขาย ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ และการตัดสินใจทางธุรกิจที่แม่นยำมากขึ้น และทีมขายเอง ก็ไม่ต้องเสียเวลาทำรายงานการขายนาน ๆ อีกต่อไป เพราะสามารถเข้าถึงและดึงข้อมูลที่สรุปผลและแสดงผลอย่างชัดเจนมาได้ทันทีเพียงไม่กี่คลิก อย่างเช่นในระบบ R-CRM ก็สามารถเรียกดูรายงานการขาย สถิติสำคัญต่าง ๆ ได้ผ่าน R-Insights ซึ่งมีรายงานในมุมมองต่าง ๆ มากมายที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายขาย และทีมขาย
เป้าหมายในการนำเอาระบบ CRM for Sales มาใช้สำหรับธุรกิจคืออะไร?
สำหรับธุรกิจที่มีทีมขาย มีกิจกรรมการขายที่มีขั้นตอนหลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ซับซ้อน อาจจะต้องพบเจอปัญหาต่าง ๆ มากมายที่อาจจะเกิดการทั้งปัจจัยภายในทีมขายเอง หรือปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ต้องแก้ปัญหาในกระบวนการขายซ้ำ ต้องพบเจอกับเหตุการณ์เดิม ๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อยอดขายได้ ธุรกิจจึงควรมองหาเครื่องมืออย่างระบบ CRM เข้ามาช่วยในการบริหารทีมขาย แต่ธุรกิจก็อาจจะต้องมีแนวทางการบริหารทีมขายรวมถึงเป้าหมายของธุรกิจที่ชัดเจน เพื่อจะได้นำระบบ CRM for Sales มาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้ระบบ CRM for Sales
ระบบ CRM for Sales สามารถปรับใช้ในหลากหลายธุรกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขาย บริหารจัดการลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า วันนี้เราจึงขอยกตัวอย่างธุรกิจที่มีการเลือกใช้ระบบ CRM for Sales กันให้ทุกท่านได้เป็นข้อมูลเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้
1. B2B Sales Organizations
สำหรับธุรกิจ B2B ที่ใช้ระบบ CRM ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจการซื้อขายระหว่างธุรกิจด้วยกันเอง ส่วนใหญ่จะมี Sales Cycle ที่ยาว มีขั้นตอนการขายที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน จึงอาจจะไม่สามารถปิดการขายได้อย่างรวดเร็วมากนักตั้งแต่ครั้งแรก ทำให้ในการซื้อขายจำเป็นต้องมีเซลส์ เพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อพูดคุย มีการทำนัดหมายและติดตามการขายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ดำเนินไปถึงขั้นตอนการปิดการขายได้อย่างสำเร็จ
ดังนั้นระบบ CRM มีฟีเจอร์อย่าง Sales Pipeline ที่เข้ามามีส่วนช่วยในการติดตามงานอย่างมีประสิทธิภาพ แม่นยำ จัดเก็บข้อมูลประวัติลูกค้าและไทม์ไลน์การติดต่อได้อย่างเป็นระเบียบ (อ่านบทความเรื่อง ระบบ CRM สำหรับการบริหารทีมขายของธุรกิจ B2B คลิก)
2. High-Value Sales Organizations
คือธุรกิจที่มีการขายสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าสูงและหรือสินค้าที่มีราคาสูงกว่าธุรกิจทั่วไป ธุรกิจเช่นนี้มักมีลูกค้าที่มีความต้องการพิเศษและคาดหวังคุณภาพและบริการที่ดีเยี่ยม การดำเนินธุรกิจขององค์กรแบบนี้ต้องมีการบริหารจัดการขายที่มีความชำนาญและมีโปรแกรมที่สามารถสนับสนุนกระบวนการขายที่ซับซ้อนได้ สำหรับธุรกิจประเภทนี้ อาจจะไม่ได้มีสินค้าหรือบริการจำนวนมาก แต่การขายกลับมีมูลค่าซื้อขายที่สูง เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โรงแรม หรือธุรกิจประเภทที่ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นต้น
ดังนั้น การใช้ระบบ CRM สำหรับธุรกิจประเภทนี้สามารถช่วยในการจัดการลูกค้าที่มีความสำคัญและการซื้อที่ซับซ้อนได้ ช่วยในการติดตามข้อมูลลูกค้า บันทึกประวัติการติดต่อ และสร้างกิจกรรมการขายที่เหมาะสมในแต่ละลูกค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายสูงขึ้น นอกจากนี้ ระบบ CRM ยังช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เพื่อให้สามารถปรับแผนการขายและการบริการให้เหมาะสมต่อความต้องการของลูกค้าและตลาด ทำให้ธุรกิจมีความสำเร็จในการขายและสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน (อ่านบทความ 6 คีย์สำคัญ ที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันควรเลือกใช้ ระบบ CRM คลิก)
3. Subscription-Based Businesses
เป็นธุรกิจที่ให้บริการแก่ลูกค้าที่มีการสมัครสมาชิกหรือจ่ายค่าบริการเพื่อรับบริการ หรือรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในระยะเวลาที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น บริการฟิตเนส (Fitness) โดยทีมขายของธุรกิจอาจจะต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลสมาชิก รวมทั้งติดตามลูกค้า พร้อมนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่น่าสนใจต่าง ๆ ให้แก่สมาชิกอย่าสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าให้ใช้บริการหรือซื้อสินค้าไปอย่างยาวนาน และสร้างยอดขายให้ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจสามารถใช้ ระบบ CRM ในการบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงดูข้อมูลการใช้บริการ ยอดขายต่าง ๆ ผ่าน R-Insights ได้ทันที ซึ่งสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่าลูกค้าสนใจสินค้าแบบไหน จะได้จัดทำกลยุทธ์และโปรโมชั่นที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าต่อไปนั่นเอง
4. E-commerce Businesses
ธุรกิจ E-commerce เป็นธุรกิจที่มีการดำเนินการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ผู้ประกอบธุรกิจ E-commerce จะสร้างและดูแลร้านค้าออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่น ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าหรือบริการที่ต้องการและทำการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที ธุรกิจ E-commerce มีรูปแบบหลากหลายและมีขั้นตอนการขายที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละธุรกิจ แต่ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีการซื้อขายที่สะดวก รวดเร็ว ที่สำคัญคือมีข้อมูลจำนวนมากที่ไหลเข้ามา ทำให้ธุรกิจต้องมีระบบ CRM เข้ามาช่วยในการจัดการทั้งข้อมูลและรายการสั่งซื้อ (Order Management) ซึ่งใน R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขายนั้น สามารถเชื่อมต่อกับระบบ R-Shop หรือแพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ที่รายการสั่งซื้อทั้งหมดจะถูกส่งไปยังระบบ R-CRM เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารจัดการรายการสั่งซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนแรก จนสินค้าถึงมือผู้รับ
5. Service-Based Businesses
ธุรกิจบริการ เป็นธุรกิจที่เน้นให้บริการในด้านต่าง ๆ แก่ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ อาจเป็นบริการทางการศึกษา, บริการด้านทำความสะอาด บริการกำจัดปลวก หรือบริการด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจได้ ซึ่งธุรกิจบริการมักมีการซับซ้อนในการจัดการ เนื่องจากการให้บริการมักจะต้องมีการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ลูกค้า นำเสนอแนวทางการจัดการปัญหาให้ลูกค้าด้วยบริการของธุรกิจเรา ที่สำคัญต้องให้ความสำคัญกับการสร้างความไว้วางใจด้วย ดังนั้นในการใช้ระบบ CRM นอกจากการบันทึกข้อมูลลูกค้าและประวัติการให้บริการที่เกี่ยวข้องแล้ว ระบบ CRM ยังสามารถสร้างและติดตามโอกาสในการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการกำหนดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การติดตามลูกค้าหลังการให้บริการ การส่งเสริมการตลาดและโปรโมชั่นเพื่อเพิ่มยอดขาย และการตรวจสอบสถานะของงานที่กำลังดำเนินการ ช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามลูกค้าในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการการให้บริการ และจัดการกับข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจของลูกค้าได้อย่างเต็มที่
และเพื่อเป็นการยกระดับการให้บริการของธุรกิจ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้ามากขึ้น ระบบ CRM ยังสามารถเชื่อมต่อกับ R-Chat แพลตฟอร์มบริหารแชททุกช่องทางในที่เดียว ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถรองรับลูกค้าในการติดต่อ สอบถามได้ในหน้าจอเดียว ทำให้ทีมงานแอดมินหรือเซลส์ที่ดูแลเคสบริการสามารถให้บริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
6. Telesales Businesses
ธุรกิจ Telesales คือธุรกิจที่มีการขายสินค้าทางโทรศัพท์โดยพนักงานขายหรือเซลส์จะมีการติดต่อลูกค้าเพื่อทำการนำเสนอขายสินค้าหรือบริการผ่านทางโทรศัพท์ โดยใช้ทักษะในการสื่อสาร พูดคุย น้ำเสียงที่ไพเราะ และเทคนิคการขายต่าง ๆ เพื่อโน้มน้าวใจลูกค้าให้ตัดสินใจซื้อ ดังนั้นธุรกิจที่มีการขายแบบ Telesales จึงเป็นหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปิดการขายกับลูกค้าได้โดยตรง และมีโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งระบบ CRM จะเข้ามาสนับสนุนให้การขายผ่าน Telesales เป็นระบบและจัดการได้ง่ายขึ้น เช่น สามารถติดตามการขายกับลูกค้าด้วยการใช้ฟีเจอร์ Sales Pipeline บันทึกประวัติการพูดคุยด้วยฟีเจอร์ Add Noted รวมถึงสามารถระบุมูลค่าของ Lead ได้ทันที หากไม่จำเป็นต้องทำใบเสนอราคาก็ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น โอกาสปิดการขายก็เร็วขึ้นด้วยเช่นกัน (อ่านบทความ 7 วิธีการใช้ระบบ CRM สำหรับธุรกิจการขายแบบ Telesales ให้ได้ยอด คลิก)
ประโยชน์ของระบบ CRM
นอกจากตัวอย่างธุรกิจข้างต้นที่ได้มีการเลือกใช้ระบบ CRM เข้ามาบริหารจัดการงานขายแล้ว เชื่อว่ายังมีธุรกิจอีกมากมายที่ยังสามารถนำระบบ CRM ไปใช้ได้หากธุรกิจของคุณมีการขาย มีทีมขาย ที่สำคัญต้องการสร้างยอดขายให้ได้ตามเป้าและบริหารทีมขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบ CRM คือคำตอบที่จะสามารถตอบโจทย์การทำงานของธุรกิจคุณได้อย่างแน่นอน ดังนั้นเราจึงขอมาสรุปประโยชน์ของระบบ CRM ในภาพรวม ดังนี้
1. ระบบ CRM ช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าได้อย่างครบถ้วน ไม่ตกหล่น
2. ระบบ CRM ช่วยในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้ากับธุรกิจ
3. ระบบ CRM ช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานของทีมขาย เพิ่มโอกาสปิดการขายได้สำเร็จมากขึ้น
4. ระบบ CRM ช่วยปรับปรุงกระบวนการขายในทุกขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพ
5. ระบบ CRM ช่วยในการวางแผนการขาย วิเคราะห์ เพื่อพัฒนาการขายและกิจกรรมทางการตลาดได้อย่างแม่นยำ
6. ระบบ CRM ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้ธุรกิจอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างยั่งยืน
ธุรกิจควรเลือกใช้ระบบใด ระหว่าง ระบบ CRM หรือ ระบบ ERP?
จะเห็นว่า ทั้งสองระบบนี้มีความเหมือนและต่างกันในรายละเอียดของกระบวนการทำงานบางขั้นตอน การเลือกระหว่างระบบ CRM และระบบ ERP จึงขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะธุรกิจของแต่ละองค์กร ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาจากหลากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น
- วัตถุประสงค์ของการใช้ระบบ: หากธุรกิจต้องการจัดการข้อมูลลูกค้า กิจกรรมการขาย และความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างเป็นธรรมชาติ ระบบ CRM เป็นตัวเลือกที่ดี เนื่องจากให้โฟกัสที่ด้านการขายและการบริหารจัดการลูกค้าอย่างเฉพาะเจาะจง
- ความต้องการในการบริหารทรัพยากรธุรกิจ: หากองค์กรมีความต้องการในการบริหารทรัพยากรที่หลากหลาย เช่น การจัดการซื้อ-ขาย การผลิต การจัดส่ง และการบริหารคลังสินค้า ระบบ ERP อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสม เนื่องจากสามารถรวมการจัดการทรัพยากรทั้งหมดในระบบเดียว
- ลักษณะของธุรกิจ: หากธุรกิจเป็นธุรกิจที่มีทีมขายหรือเซลส์ที่ต้องออกไปพบลูกค้า หรือต้องมีการติดตามการขายอย่างสม่ำเสมอ ต้องมีการติดต่อลูกค้าอย่างใกล้ชิด และต้องการจัดการกิจกรรมการขายและการบริหารลูกค้าให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ปิดการขายให้สำเร็จตามเป้า ระบบ CRM อาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า เพราะมีฟีเจอร์ที่สามารถช่วยบริหารจัดการงานขายได้ดีมากขึ้น
- การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า: ระบบ CRM ช่วยให้ธุรกิจสามารถบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทีมขายสามารถติดตามและบันทึกข้อมูลลูกค้า ประวัติการซื้อ และความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งช่วยให้สามารถให้บริการลูกค้าในรูปแบบที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด
อย่างไรก็ตาม การที่จะสรุปได้ว่าธุรกิจควรเลือกใช้ระบบไหน ผู้ประกอบการอาจจะต้องมีการศึกษาข้อมูล ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งทดลองใช้ระบบจริงด้วย เพื่อจะได้ทราบถึงการทำงาน การใช้งาน และความสอดคล้องกับธุรกิจถ้าหากมีการเลือกใช้ เป็นต้น
สรุป
สำหรับธุรกิจแล้ว ไม่ว่าจะเลือกระบบ ERP หรือ ระบบ CRM ล้วนต้องพิจารณาปัจจัยด้านต่าง ๆ ของธุรกิจ พร้อมตอบตัวเองให้ได้ว่าแท้จริงแล้วธุรกิจของคุณมีเป้าหมายอย่างไร ซึ่งตัวเป้าหมายจะเป็นเหมือนแกนหลักที่จะช่วยกำหนดทิศทางเพื่อจัดการข้อมูลที่มีและเป็นอยู่ หากธุรกิจต้องการจัดการทรัพยากรและระบบภายในส่วนต่าง ๆ ขององค์กร ระบบ ERP ก็อาจจะเหมาะสมกว่า แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าธุรกิจมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า จัดการงานขายในทุก ๆ ขั้นตอนให้มีประสิทธิภาพ รองรับลูกค้าจากช่องทางต่าง ๆ ได้อย่างไม่ตกหล่น มีเครื่องมือในการวัดผลการขายและการตลาดที่แม่นยำ เพื่อให้สามารถทำยอดขายได้สำเร็จมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเลือกใช้เป็นระบบ CRM ก็จะเหมาะสมมากกว่าแน่นอน และหากการเลือกใช้ระบบ CRM คือคำตอบของธุรกิจคุณ เราขอแนะนำ R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ที่จะทำให้การบริหารทีมขายของธุรกิจคุณไม่ใช่เรื่องยากและซับซ้อนอีกต่อไป ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายขายได้มีเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ ติดตามการทำงานของทีมขาย พร้อมสถิติวัดผลเพื่อพัฒนา ต่อยอดธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
สมัครใช้งาน Readyplanet R-CRM
R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement
ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี