8 อุปสรรคในการขายสินค้าออนไลน์และเทคนิคการแก้ไขปัญหา
ยุคนี้หลาย ๆ ธุรกิจเริ่มหันมาเปิดเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์กันมากขึ้น จริงอยู่ที่ว่าทุกอย่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น เช่น สามารถติดต่อหรือทำการซื้อขายได้อย่างสะดวกสบาย หรือประหยัดเวลาในการเดินทาง ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียพลังงานไปกับการจัดการหน้าร้านให้วุ่นวายเหมือนเมื่อก่อน แต่ถึงอย่างนั้น การซื้อขายออนไลน์ที่มักมีลูกค้าเข้ามาแวะเวียนไม่ซ้ำกันในแต่ละวันย่อมต้องเจอกับอุปสรรคหรือต้องรับมือกับการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะจากบุคคลหรือด้วยระบบของการทำ Online Marketing เองก็ตาม Readyplanet เชื่อว่าหลายคนย่อมต้องพบเจอกับเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาเหล่านี้ จึงรวบรวมอุปสรรคของการขายสินค้าออนไลน์พร้อมเทคนิคในการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปปรับใช้ได้กับแต่ละธุรกิจ
8 อุปสรรคในการขายสินค้าออนไลน์และเทคนิคการแก้ไขปัญหา
1. หน้าเว็บไม่อัปเดต หรือไม่มีเวลาอัปเดตสินค้า
ปกติการจัดสต็อคหน้าร้าน เมื่อสินค้าหมดอาจจะทำง่าย ๆ เพียงแค่วิ่งไปหยิบของมาเติมก็จบแล้ว แต่การขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ย่อมต้องมีการอัปเดตแบบเรียลไทม์ เช่น หากคุณขายเสื้อผ้าแฟชั่น ต้องมีการเช็คสต็อคในทุกแพลตฟอร์มที่ลูกค้าเข้ามาช้อปสินค้า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, Line OA หรือแม้แต่เว็บไซต์ การจัดการทางแพลตฟอร์มอื่น ๆ อาจมีคนคอยจัดการให้ได้ แต่หน้าเว็บไซต์หากไม่มีการอัปเดต เมื่อลูกค้าคลิกสั่งซื้ออาจทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนต่อไปได้ และด้วยความที่เป็นแพลตฟอร์มเว็บไซต์เมื่อลูกค้าไม่ได้ติดต่อกับมนุษย์โดยตรง ทำให้มีโอกาสออกจากหน้าเว็บไปเลย
วิธีแก้ไข : เลือกใช้แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ที่มีการอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น หากคุณเพิ่มจำนวนสต็อคสินค้าเรียบร้อย จำนวนก็จะลดลงตามยอดการสั่งซื้อ ลูกค้าจะทราบได้ทันทีหากสินค้าหมดคลัง
(ตัวอย่างการตั้งค่าการแสดงสต็อคสินค้าจากแพลตฟอร์ม R-Shop)
2. โปรโมชั่นของคู่แข่งน่าสนใจกว่า
( ฟีเจอร์ Promotion Popup ของ R-Widget )
ช่วงเทศกาลพิเศษทีไร คู่แข่งที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันหรือทำธุรกิจบริการคล้าย ๆ กัน จะต้องได้ซีนไปทุกทีด้วยข้อเสนอที่ดึงดูดใจ ไม่ว่าจะเป็นลดราคาตัดหน้าที่แรงกว่า ซึ่งทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้ออย่างไม่ลังเล หรือเคยเจอไหมที่ลูกค้ามีการแจ้งให้ทราบด้วยว่า ทำไมไม่จัดโปรโมชั่นแรงกว่านี้ คู่แข่งลดเยอะกว่ามาก แต่ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างอาจทำให้ไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจ
วิธีแก้ไข : เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะเคยเผลอใจ อดไม่ได้ที่จะปรับลดราคาลงตามคู่แข่งไปด้วย ทั้งที่ต้นทุนสินค้าของเราอาจมีมูลค่ามากกว่า แต่ Readyplanet ไม่แนะนำ ก่อนอื่นต้องสำรวจสินค้าหรือบริการของเราก่อน พูดง่าย ๆ คือหากคุณรู้สึกว่าแบรนด์ของคุณมีจุดเด่นหรือสินค้ามีความแตกต่าง ในแง่ของวัสดุ คุณภาพ สิ่งนี้เองที่จะเป็นการสร้างจุดเด่นและความแตกต่าง เช่น หากกระเป๋าบางรุ่นของคู่แข่งลดราคา 30% แต่จากการที่คุณได้สำรวจตลาด กระเป๋าร้านนี้อาจมีอายุการใช้งานไม่ถึง 1 ปี เทียบกับกระเป๋าของร้านคุณแล้วใช้งานได้มากถึง 3 ปี แต่อาจมีการลดราคาได้เต็มที่ 10% ตรงนี้ควรนำมาเป็นจุดขายเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจว่า แบรนด์ไหนที่จะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด ดังนั้นยึดมั่นในจุดยืนและอย่าลืมฟังเสียงของผู้บริโภคด้วย
3. ขาดเครื่องมือในการวิเคราะห์สถิติและเก็บ Insights
การทำธุรกิจแบบไม่มีจุดหมายและขาดการวิเคราะห์ ก็เปรียบเหมือนกับการแล่นเรือไหลตามกระแสน้ำไปเรื่อย ๆ ไม่ได้มีการวางแผนหรือกำหนดทิศทางลม ไม่รู้ว่าปลายทางคืออะไร ดังนั้นการทำธุรกิจออนไลน์หรือแม้กระทั่งออฟไลน์เองก็ตาม ผู้ประกอบการบางท่านมักลืมการวิเคราะห์ตลาดของธุรกิจหรือบริการไป เพราะบางครั้งเข้าใจหลักการแต่ขาดเครื่องมือที่จะช่วยรวบรวมข้อมูล หรือต้องโฟกัสอยู่กับการจัดการซื้อขาย ทำให้ไม่มีเวลาสนใจวิเคราะห์ตลาด ผลลัพธ์การขายหรือแม้กระทั่งคู่แข่งเอง
วิธีแก้ไข : ลองมองหาเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาและช่วยคาดการณ์ (Forecast) ยอดขายเพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ช่วยแสดงผลลัพธ์ Sales Pipeline Report จำนวนยอดขายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเดือนนั้น ๆ เป็นต้น ในส่วนนี้ R-Insights ของ Readyplanet สามารถแสดงผลออกมาได้หากคุณทำการซื้อขายบนเว็บไซต์ การวิเคราะห์ตลาดจะไม่ใช่เร่องยากอีกต่อไป
4. ไม่เข้าใจลูกค้า เลือกใช้โฆษณาไม่ตรงกลุ่ม
การทำโฆษณาออนไลน์ย่อมควบคู่ไปกับการสร้างแบรนด์ มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่มักเลือกการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยโฆษณาอย่าง Facebook, Google Ads เพื่อช่วยให้เกิด Conversion ใด ๆ ก็ตามและนำไปสู่การสั่งซื้อในที่สุด ซึ่งบางครั้งการทำโฆษณาไม่ได้เกิดจากการวิเคราะห์ลูกค้าและไม่เข้าใจอย่างแท้จริง ทำให้เลือกใช้โฆษณาคนละประเภทหรือกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ใช่ เช่น ธุรกิจของคุณขายอุปกรณ์เบเกอรี่และต้องการให้ลูกค้าเป็นร้านค้าที่มีกำลังซื้อ กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นการทำการตลาดออนไลน์ลักษณะ B2B แต่เลือกทำโฆษณาผ่าน Facebook และเลือกความสนใจแฟชั่น เป็นต้น ทำให้ไม่ได้กลุ่มคนที่ต้องการมาซื้อสินค้า และคนที่ใช่ก็ไม่มีโอกาสได้รู้จักร้านค้าของคุณเช่นกัน
วิธีแก้ไข : เลือกใช้โฆษณาให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย โดยการศึกษาพฤติกรรมลูกค้าและความเหมาะสมในแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น หากทำอุปกรณ์เบเกอรี่ การพาลูกค้าคลิกไปยังเว็บไซต์เพื่อดูสินค้าแต่ละ Category ดูจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด จึงเลือกทำโฆษณาผ่านหน้าเพจ Facebook แบบ Conversion เลือกปลายทางเป็นเว็บไซต์ เป็นต้น หรือหากคุณยังไม่แน่ใจว่าธุรกิจนั้นเลือกทำโฆษณาได้ถูกต้องหรือไม่ เราแนะนำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสมตรงตามจุดประสงค์จะดีที่สุด
5. ตอบแชทไม่ทัน ลูกค้าไม่รอ
ปัญหาใหญ่ที่หลาย ๆ ธุรกิจมักจะเจอ หลังจากทำโฆษณาและนำกลุ่มเป้าหมายมายังแพลตฟอร์มบวกกับสินค้าหรือบริการของคุณน่าสนใจ ทำให้ลูกค้าสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมากจนหลังบ้านไม่สามารถจัดการหรือตอบคำถามได้ทันท่วงที ปัญหาที่ตามมาคือลูกค้าไม่รอและพร้อมช้อปและโอนเงินทันทีให้กับคู่แข่งของเราที่ตอบคำถาม เช็กสต็อค แจ้งราคาได้รวดเร็วกว่า
วิธีแก้ไข : หากธุรกิจของคุณมีการขายบนแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Facebook หรือ Line เราแนะนำให้ตั้ง Greeting Message หรือข้อความอัตโนมัติ (ข้อความต้อนรับ) ที่จะช่วยรับหน้ากับลูกค้าเบื้องต้น และแจ้งว่าทางร้านจะรีบตอบกลับให้ไวที่สุด สามารถแจ้งเรื่องที่ต้องการสอบถามได้เลย หรืออีกวิธีที่จะช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้นคือการทำ Saved Replies (ใน Facebook Messanger) คือการรวบรวม FAQ หรือคำถามยอดนิยมที่พบบ่อย เมื่อไหร่ก็ตามที่ลูกค้าสอบถามก็เลือกส่งคำตอบได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มรูปภาพได้ในคำตอบด้วย
6. ไม่มีข้อมูลลูกค้าเก่า จัดเก็บไม่เป็นระบบ
ข้อมูลลูกค้าหรือพฤติกรรมลูกค้าถือว่าสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่สามารถนำไปต่อยอดการตลาดออนไลน์ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Customer Loyalty ด้วยการทำแคมเปญหาลูกค้าคนพิเศษแบบส่วนตัว เช่น การส่ง SMS แจ้งโปรโมชั่นให้ลูกค้า การทำโฆษณาแบบ Personalization จากพฤติกรรมการช้อป แต่ปัญหาคือระบบใด ๆ ที่ใช้อยู่ไม่สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าหรือคุณไม่ได้เก็บข้อมูลไว้เลย
วิธีแก้ไข : ควรสร้างข้อมูลลูกค้าเก็บไว้ เช่น การจัดทำ Order Management หรือสร้างไฟล์ข้อมูลลูกค้า จะช่วยบอกได้ว่าลูกค้าคนนี้กลับมาซื้อซ้ำบ่อยแค่ไหน หรือมีพฤติกรรมการช้อปแบบใด และมีแนวโน้มจะช้อปสินค้าใดต่อไป อีกวิธีที่ง่ายขึ้นคือเลือกใช้เครื่องมือสำเร็จรูปที่เก็บข้อมูลและช่วยประหยัดเวลา สามารถจัดการข้อมูลลูกค้าแบบไม่ต้องสร้างไฟล์ Excel ให้ยุ่งยาก เป็นต้น
7. ไม่มีระบบติดตามการสั่งซื้อ
เคยไหม หลังจากลูกค้าทำการซื้อสินค้ากับคุณผ่านหน้าเว็บไซต์หรือแพตลฟอร์มใดก็ตาม จะมีคำถามว่า ส่งสินค้าหรือยัง ? จะได้รับประมาณวันไหน ? หรือมีเลขพัสดุให้ตรวจสอบรึยังคะ ? พร้อมคำถามอีกมากมายที่ลูกค้าต้องการตรวจสอบและติดตามพัสดุ ซึ่งหากธุรกิจของคุณขาดส่วนนี้ไปย่อมเหมือนลดความน่าเชื่อถือและสร้างความกังวลใจให้กับลูกค้า ส่งผลไปยังการตัดสินใจซื้อครั้งต่อไปเป็นอย่างมาก
วิธีแก้ไข : ร้านค้าออนไลน์หรือธุรกิจของคุณควรมี ระบบ Order Tracking หรือระบบติดตามสถานะสินค้า เพราะถ้าหากร้านค้าของคุณมียอดขายที่ดีและลูกค้าสอบถามจำนวนมากในแต่ละวัน ย่อมไม่มีแน่หากต้องมานั่งไล่เช็กและตอบคำถามทีละคน ดังนั้นการมีเว็บไซต์เป็นช่องทางหลักในการขายสินค้าหรือบริการ พร้อมระบบติดตามสถานะที่สามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่การชำระเงิน ไปถึงการจัดส่งสินค้า จะช่วยให้ลูกค้าตรวจสอบสถานะพัสดุได้เอง ทำให้ประหยัดเวลาในการจัดการไปได้มากเลยทีเดียว แถมลูกค้ายังอุ่นใจกับการช้อปและสร้างความเชื่อมั่นได้ดีอีกด้วย
8. ขาดการสร้าง Brand Loyalty
หากคุณเคยปวดหัวและไม่เข้าใจกับพฤติกรรมลูกค้า ที่อาจเคยเข้ามาดูหน้าเว็บไซต์สินค้าของคุณ ทำการซื้อสินค้า แต่ถึงเวลาโอกาส Return กลับมาของลูกค้ากลุ่มเดิม พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ทีน้อยมาก ทั้งที่เรามั่นใจว่าสินค้าหรือบริการของเรานั้นได้คุณภาพและคุ้มค่ากับราคาที่ลูกค้าจ่ายไปแน่นอน หากพบปัญหานี้แปลว่า ธุรกิจของคุณยังขาดการสร้าง Brand Loyalty อย่างแน่นอน การไม่กลับมาซื้อซ้ำเป็นอุปสรรคในการเพิ่มยอดขายเลยทีเดียว ข้อนี้จะแก้อย่างไร?
วิธีแก้ไข : อันดับแรกควรสร้างสิ่งที่ดึงดูดใจที่จะช่วยให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าต่อในระยะยาว ถึงแม้ว่าการมาช้อปสินค้าหน้าเว็บเพราะลูกค้าชื่นชอบสินค้าและคุณภาพ แต่ระหว่างนั้นควรตั้งคำถามก่อนว่า ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีในการเลือกช้อปรึเปล่า (Customer Experience) เช่น การคลิกหน้าเว็บไซต์ หรือเพิ่มสินค้าลงตะกร้า หากระบบพอใช้งานได้แต่มีความยุ่งยากในตอนท้าย หรือที่สุดแล้วระบบไม่มีการแจ้งให้ติดตามสถานะพัสดุ ลองคิดในมุมกลับกันว่า หากคุณเป็นลูกค้าจะอยากกลับมาใช้ซ้ำหรือไม่ ? ดังนั้นการมีแพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ออนไลน์ที่ดีและใช้งานราบรื่นจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ลูกค้าคลิกเลือกสินค้า นำไปสู่การจ่ายเงินและติดตามโดยไม่เกิดปัญหา หรืออีกวิธีคือการทำโปรโมชั่นดึงดูดใจ เช่น ระบบสะสมแต้มด้วยเบอร์โทร ช่วยดึงให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการซ้ำ ๆ เพื่อรับสิทธิ์พิเศษหรือแลกของรางวัลที่น่าดึงดูดใจนั่นเอง
เทคนิคการแก้ไขปัญหาที่พบจากการขายของออนไลน์เหล่านี้ คงจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการให้นำไปพิจารณาและหาทางออก ปรับกลยุทธ์กันใหม่เพื่อให้ธุรกิจของคุณ Go Online ต่อได้อย่างราบรื่นไม่สะดุด อย่าลืมว่านอกจากเราจะต้องสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ มีสินค้าหรือบริการที่แข็งแรงแล้ว การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและพาลูกค้ามายังร้านค้าออนไลน์ของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน
จะเห็นได้ว่าทั้งหมดทั้งมวลก็เปรียบเหมือนการทำการตลาดแบบรอบด้านที่ครบครัน โดยเฉพาะหากเป็นเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์แล้ว แพลตฟอร์มการขายออนไลน์จึงควรเป็นหน้าร้านที่พร้อมเปิด 24 ชั่วโมง อย่าง R-Shop แพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ที่มาพร้อมเครื่องมือการตลาดแบบ All-in-One ทำเว็บไซต์ เพิ่มช่องทางการขายใหม่ ออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง สามารถเชื่อมต่อกับระบบสะสมแต้ม PointSpot, Order Management, R-Widget ปุ่มติดต่ออัจฉริยะสำหรับเว็บยุคใหม่, R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย, Chatday และอีกมากมาย ที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจสามารถรองรับลูกค้าได้ทันทีตั้งแต่วันแรกที่เริ่มออนไลน์
สมัครใช้งาน Readyplanet All-in-One Platform ฟรี
Readyplanet All-in-One Platform คือแพลตฟอร์มการขายและการตลาดแบบรวมเป็นหนึ่งเดียว ที่ครอบคลุมทั้งการโฆษณา เว็บไซต์ และระบบลูกค้าสัมพันธ์ ให้ธุรกิจของคุณ Go Online และเติบโตได้อย่างยั่งยืน ด้วยเครื่องมือ Marketing Tech ที่มีคุณภาพและทรงพลัง บริหารจัดการง่าย ไร้กังวล ในที่เดียว
Updated: 9 February 2021 | Produced by: Dujnapa Chauthamcharoen
บทความที่น่าสนใจ
โปรแกรม CRM
-
ในปัจจุบันอาจจะยังมีอีกหลายธุรกิจ ที่ยังไม่ได้เลือกใช้เทคโนโลยีหรือระบบ CRM เข้ามาช่วยในการบริหารจัด...
-
การเพิ่มยอดขายไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละธุรกิจต่างมีกลยุทธ์ วิธีและเทคนิคต่าง ๆ มากมาย...
-
จากวิกฤตการณ์โควิด 19 ในช่วงระยะ 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาคของธุรกิจพากันซบเซา ท่ามกลางความกังวลและหว...
-
ทุกวันนี้หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า โปรแกรม CRM กันอย่างหนาหูเลยใช่ไหมคะ ว่าสามารถช่วยให้งานขายดีขึ้น จน...