5 เทคนิคปิดการขายให้ง่ายขึ้นสำหรับธุรกิจกลุ่ม High Involvement โดยการใช้ R-CRM

อย่างที่ทราบกันดีว่าการทำธุรกิจ High Involvement ในสภาวะปกตินั้น กว่าเซลส์หรือพนักงานขายจะสามารถปิดการขายได้แต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องง่ายและใช้เวลาค่อนข้างนาน ทั้งนี้เพราะธรรมชาติของการขายสินค้าและบริการประเภท High Involvement นั้นต้องมีผู้ร่วมในการตัดสินใจซื้อหลายคนและมักจะมีราคาสูง ซึ่งนั่นเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การซื้อขายสินค้าประเภทนี้ใช้เวลานาน

 

“50% ของผู้บริโภคจัดอันดับความสำคัญเรื่องความปลอดภัยทางการเงิน เป็น 1 ใน 3 ของการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ โดยเพิ่มขึ้นจาก 36% ของมีนาคมปีที่แล้ว”ที่มา : Source: Accenture COVID-19 Consumer Research, conducted April 2–6. Proportion of consumers that agree or significantly agree


ยิ่งในสภาวะที่เศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและทั่วโลกกำลังแย่ ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงมาจากโรค COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม ความคิดและการตัดสินใจในการใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก และแน่นอนว่าการทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Low Involvement หรือ High Involvement ในปัจจุบันนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะยากมากขึ้นแน่นอน


ฉะนั้นก็น่าจะดีกว่าถ้ามีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ธุรกิจกลุ่ม High Involvement ปิดการขายได้ง่ายมากขึ้น เพื่อต่อสู้กับศึกของวิกฤติเศรษฐกิจในยุคนี้ และสามารถชนะใจลูกค้าได้ ถึงแม้พฤติกรรมการตัดสินใจของบริโภคจะยากและนานมากขึ้นก็ตาม ก่อนที่เราจะพูดถึงเทคนิคหรือเครื่องมือที่จะมาช่วยให้การทำธุรกิจกลุ่ม High Involvement ง่ายขึ้นนั้น เรามาทำความรู้จักกับสินค้าหรือธุรกิจกลุ่ม High Involvement  กันคร่าว ๆ ก่อน

 

ธุรกิจกลุ่ม High Involvement คืออะไร


กลุ่มธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูง และก็อย่างที่ชื่อบอกว่า High Involvement นั้นแปลว่า “การมีส่วนร่วมสูง” ซึ่งพูดง่าย ๆ ก็คือมีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกับผู้คนจำนวนมากในการร่วมกันตัดสินใจซื้อ หรือการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการนั้นมีผลกระทบกับผู้ซื้อค่อนข้างสูง

 

ฉะนั้นผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้าจึงต้องการข้อมูลในการตัดสินใจเยอะ เพราะมีความเสี่ยงในการตัดสินใจซื้อในครั้งนั้น ๆ ค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือของแบรนด์ หรือข้อมูลสินค้าและบริการ อาทิ คุณสมบัติต่าง ๆ ที่ความแตกต่างเพียงนิดหน่อยของรายละเอียดสินค้าก็มีความสำคัญในการตัดสินใจ, ราคา ที่ต้องเปรียบเทียบกับแบรนด์คู่แข่ง หรือเทียบราคากับความคุ้มค่าในการใช้งาน เป็นต้น

 

ธุรกิจกลุ่ม High Involvement แบบ B2B 


คือการขายสินค้าและบริการแบบ High Involvement ให้แก่ผู้ที่ทำธุรกิจด้วยกัน เช่น  เครื่องจักรอุตสาหกรรม, เครื่องมือสำหรับการผลิตต่าง ๆ , คอร์สอบรมพนักงาน หรือ ระบบ CRM, ระบบ IT, ระบบบัญชี และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ของบริษัท เป็นต้น


ธุรกิจกลุ่ม High Involvement แบบ B2C 


คือการขายสินค้าและบริการแบบ High Involvement ให้แก่บุคคล เช่น บ้าน, รถยนต์, กรมธรรม์ประกันภัย ฯลฯ

 

จากที่เรากล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลอย่างมากกับการตัดสินใจของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าหรือบริการประเภท High Involvement นั่นก็คือ “ข้อมูล” ซึ่งในมิติของข้อมูลที่ผู้บริโภคต้องการนั้น ไม่ใช่แค่ข้อมูลสินค้าและข้อมูลของแบรนด์หรือบริษัทของคุณ แต่หมายรวมถึงข้อมูลสินค้า และผลิตภัณฑ์ของแบรนด์คู่แข่งของคุณด้วยเช่นกัน แต่จุดที่คุณจะ ชนะ ได้ในเกมนี้คือ “ข้อมูลลูกค้า” ที่มากพอจนรู้ใจลูกค้าและปิดการขายได้ในที่สุดนั่นเอง

 

ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหม แต่เราจะบอกว่าก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปถ้าคุณมีเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยให้ทีมขายทำงานง่าย สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ทั้งการค้นหาข้อมูลลูกค้า, ข้อมูลสินค้า, การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าแต่ละช่วงของ Sales Pipeline เพื่อส่งมอบสินค้าหรือข้อเสนอที่ตรงใจกับลูกค้ามากขึ้น รวมถึงการบริหารทีมขาย ประเมินศักยภาพและวัดผลทีมขายของคุณ เพื่อพัฒนาทีมขายในองค์กรของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ด้วย R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย

 

5 เทคนิคปิดการขายให้ง่ายขึ้นสำหรับธุรกิจกลุ่ม High Involvement โดยการใช้ R-CRM

 

1. Product Feature คุณสมบัติของสินค้า



ปัจจัยอันดับที่ 1 ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคคือคุณสมบัติของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ฉะนั้นในฐานะพนักกงานขาย, หัวหน้าทีมขายหรือแม้กระทั่งเจ้าของธุรกิจจึงควรพิจารณาและตกผลึกเรื่องคุณสมบัติของสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของคุณให้ดีที่สุด เพื่อช่วยเป็นข้อมูลมากพอที่จะตอบคำถามและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งข้อมูลที่คุณควรจะนำไปประกอบการนำเสนอคุณสมบัติสินค้าของคุณ ที่สามารถดึงดูดใจลูกค้าได้ มีดังต่อไปนี้คือ


Customer Insight

คือข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า ทั้งในมิติของความชอบ ความต้องการ, Pain Point ที่มีต่อสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของคุณ เพื่อวิเคราะห์หาสินค้าที่เหมาะและสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งการหา Customer Insight ทั้งหมดที่เราได้กล่าวไปสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าใหม่อาจจะต้องทำการบ้านเยอะมากหน่อยในการหาข้อมูล ตั้งสมมุติฐานและทดลองเพื่อเก็บข้อมูลความต้องการหรือ Pain Point เชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย แต่ถ้าคุณมีข้อมูลเหล่านี้จากฐานลูกค้าเก่าเก็บไว้ นั่นก็จะช่วยลดระยะเวลาการทำงานของพนักงานได้ดี เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้คุณเก็บข้อมูลลูกค้า หรือค้นหาข้อมูลลูกค้าเก่าได้รวดเร็ว นั่นก็คือ “ระบบ CRM” โดยระบบ R-CRM ของ Readyplanet นั้นมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้การเก็บข้อมูลลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่

  

  • Lead Inbox ที่ในการติดตามงานขายของลูกค้าแต่ละคนในแต่ละขั้นตอนของ Sales Pipeline ได้ ซึ่งการทำงานแบบเดิมที่เคยเก็บข้อมูลการขายของแต่ละวันลงกระดาษหรือไฟล์ Exel และต้องมานั่งหาข้อมูลที่คุยกับลูกค้าไว้ในครั้งก่อน ๆ อาจจะทำให้เสียเวลาการทำงานและข้อมูลการอาจจะตกหล่นสูญหายได้

 

 

  • Label ช่วยในเรื่องการเก็บข้อมูลที่ดีขึ้น เพราะสามารถจำแนกประเภทหรือความสำคัญของรายการขายได้ด้วย ป้ายกำกับ

 

 
  • Note ฟีเจอร์ที่สำหรับเพิ่มบันทึกรายละเอียดสำคัญ ๆ ของลูกค้าไว้ เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าเมื่อต้องติดต่อกับลูกค้าในครั้งถัดไป หรือสามารถเป็นข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าในการขายสินค้าครั้งต่อไปในอนาคต

 


  • Documents ในระบบ R-CRM ยังมีระบบในการรวบรวมเอกสารสำคัญไว้ที่ศูนย์กลาง ช่วยให้มั่นใจว่าเอกสารสำคัญของลูกค้าจะไม่สูญหาย อีกทั้งยังช่วยพนักงานขายทุกคนสามารถเข้ามาใช้งานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับลูกค้าได้ง่ายขึ้น

 

Competitor Insight

 

คือข้อมูลของคู่แข่งในตลาดของสินค้าประเภทเดียวกันกับคุณเป็นอย่างไร มีใครบ้างที่น่าจะเป็นคู่แข่งกับคุณ รวมถึงข้อมูลทั้งหมดของแบรนด์เก่าที่ลูกค้าเคยใช้ด้วย, สินค้าของคู่แข่งเป็นอย่างไรบ้าง ดีกว่าหรือด้อยกว่าสินค้าคุณอย่างไร, ราคาถูกกว่าหรือแพงกว่า, โปรโมชั่นหรือข้อเสนอของคู่แข่งเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้นอกจากจะนำไปเทียบเคียงกับสินค้าของแบรนด์คุณ เพื่อหาจุดแข็งเพื่อเสนอขายแก่ลูกค้าได้แล้ว ยังช่วยลดระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อสินค้าเพื่อเปรียบเทียบราคาและคุณสมบัติของสินค้าของลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง (แต่คุณจะต้องมั่นใจก่อนว่าคุณสมบัติสินค้าและราคาของคุณได้เปรียบคู่แข่งของคุณจริง ๆ )

 

2. Differentiation การสร้างความแตกต่าง

 

อย่างที่เรากล่าวไปในข้างต้นว่า “ความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ก็มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มผู้บริโภค High Involvement เมื่อเรามีข้อมูลที่ได้จากข้อ 1 (Customer Insight และ Competitor Insight ) แล้ว การสร้างความแตกต่างให้แก่สินค้าและแบรนด์ของคุณก็สามารถทำได้ดังนี้ 

 

USP (Unique Selling Point)

หมายถึง การหา “จุดขายที่แตกต่าง” ของสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ของคุณ ซึ่ง Product USP นั้นจะคมและมีน้ำหนักมากพอที่จะช่วยให้การตัดสินใจของลูกค้าง่ายและรวดเร็วมากขึ้นได้ คุณต้องหาจุดขายที่เป็นจุดแข็งที่แบรนด์คู่แข่งของคุณไม่มี เช่น คุณสมบัติของสินค้าที่ดีกว่า คุ้มค่ากว่าและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากกว่า เป็นต้น 

 


Price (ราคา)

ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็น B2B หรือ B2C ก็ตาม ในกลุ่มสินค้าประเภท High Involvement จุดตัดสินใจที่สำคัญอีกประการก็คือ “ราคา” ถ้าจะกล่าวให้ถูกต้องที่สุดก็น่าจะเป็น “ความคุ้มค่าของคุณสมบัติสินค้าเมื่อเทียบกับราคาที่จ่าย” ฉะนั้นหน้าที่ของพนักงานขายและทีมขายที่ดีนั้น ก็ควรสร้างความรู้สึกคุ้มค่าให้เกิดแก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการสำรวจราคาสินค้าในตลาด และราคาสินค้าของคู่แข่งก็เป็นข้อมูลสำคัญในเสนอขายสินค้าแต่ละครั้งด้วยเช่นกัน



รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง

การจะมอบข้อเสนอหรือสิทธิพิเศษที่เราจะมอบให้แก่ลูกค้านั้น อาจจะเสนอให้แก่ลูกค้าที่พนักงานขายคิดว่า แค่คุณสมบัติของสินค้าและราคาอาจจะช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้าในครั้งนั้นไม่เพียงพอ ฉะนั้นเมื่อมีข้อเสนอพิเศษเตรียมไว้ ก็จะช่วยเพิ่มความอยากซื้อและลดระยะเวลาการตัดสินใจซื้อที่รวดเร็วมากขึ้นนั่นเอง



แต่การที่เจ้าของธุรกิจหรือหัวหน้าทีมขาย จะสามารถรู้ได้ว่าจุดขายจุดแข็งของสินค้าช่วยดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ หรือราคาสินค้าของเราคุ้มค่ามากพอสำหรับลูกค้าหรือไม่นั้น ก็จะต้องอาศัยความขยันในการขอฟีดแบคความพึงพอใจของลูกค้าเก่า ๆ ที่ซื้อสินค้าไปแล้ว เพื่อเก็บเป็นข้อมูลที่ช่วยประกอบการตัดสินใจในการปรับและพัฒนาสินค้าหรือบริการของคุณได้ดีและตรงใจลูกค้ามากขึ้นด้วย โดยเครื่องมือสำคัญอีกฟีเจอร์หนึ่งของ R-CRM คือ R-Insights นั้นสามารถดูเหตุผลที่ลูกค้าไม่ซื้อสินค้าในแต่ละเดือนได้ พร้อมรายละเอียดของเหตุผลต่าง ๆ ได้ เช่น

 

  • Top 5 lost reasons (5 เหตุผลแรกที่ลูกค้าไม่สนใจซื้อ) ฟีเจอร์นี้ช่วยจัดเรียงข้อมูลเป็นสถิติให้ดูข้อมูลได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลามานั่งจัดลำดับเอง เมื่อต้องการข้อมูลเรื่องเหตุผลที่ลูกค้าไม่ซื้อสินค้า เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาสินค้าและการบริการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้น


  • Lost reason by reason (เหตุผลที่ลูกค้าไม่สนใจซื้อ) ข้อมูลส่วนนี้จะเป็นข้อมูลทั้งหมดโดยรวมของเหตุผลที่ลูกค้าไม่ซื้อ พร้อมรายละเอียดและจำนวนของเหตุผลเดียวกัน ที่พนักงานขายแต่ละใส่เหตุผลของลูกค้าไว้ในระบบ เพราะความจริงแล้วข้อมูลเพียง Top5 ของเหตุผลที่ลุกค้าไม่ซื้อสินค้า ก็อาจจะยังไม่มากเพียงพอต่อการตัดสินใจปรับปรุงหรือพัฒนาสินค้าหรือบริการใด ๆ เพราะอาจจะมีเหตุผลที่น่าสนใจอื่น ๆ ให้คุณนำไปคิดและพัฒนาการบริการเพิ่มมากขึ้นได้ด้วย
 


3. Brand Recall / Brand Awareness การสร้างการจดจำของแบรนด์ 



เพราะการสร้างการจดจำของแบรนด์ต่อกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างได้ จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ เพื่อนำไปสู่ความเชื่อมั่นในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของคุณต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินค้ากลุ่ม High Involvement ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้ ดังนี้

 

Brand Awareness

 

นำสินค้าและผลิตภัณฑ์ของแบรนด์คุณส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายให้เคยเห็น ผ่านตาและมีความถี่มากพอที่จดจำได้ โดยเครื่องมือสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยในการนำส่งสินค้าของแบรนด์คุณ ไปสร้างการจดจำแก่กลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก นั่นคือ “การทำโฆษณาออนไลน์” นั่นเอง อย่างการทำโฆษณาบน Facebook หรือ Google นั้นก็คือมี Ads Objective สำหรับการทำ Brand Awareness โดยตรงได้ เพียงแต่คุณจะต้องแม่นยำในเรื่องของการทำ Targeting หรือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการได้ถูกต้อง ก็จะช่วยให้การสร้างการรับรู้ของแบรนด์ต่อกลุ่มเป้าหมายได้ได้ผลลัพธืที่ดีนั่นเอง

 

Brand Recall

 

อย่างในกลุ่มธุรกิจประเภท B2C จะนิยมใช้พรีเซ็นเตอร์, Blogger หรือ Influencer ในการีวิวสินค้า เพื่อสร้างการจดจำและที่ดีที่สุดก็คือสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ได้ หรือกลุ่มประเภท B2B อาจจะต้องอาศัยแบรนด์ดังหรือองค์กรที่เคยใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นตัว Influence กลุ่มเป้าหมายของคุณ เป็นต้น

 

4. Marketing and Advertising 


จากข้อ 3 ที่เราแนะนำให้คุณสร้างการจดจำของแบรนด์โดยการทำโฆษณาออนไลน์นั้น ในข้อนี้เราจะขอขยายความในการเรื่องการทำ Marketing และการทำโฆษณาผ่านช่องทางทั้ง Google และ Facebook โดยทั่วไปแล้วการทำโฆษณาออนไลน์นั้น คุณสามารถเลือกสร้างแคมเปญโฆษณาได้ตาม Marketing Funnel ได้เลย เช่น

 

Awareness

 

ซึ่งทั้ง Google Ads และ Facebook Ads สามารถทำได้ทั้งคู่ยิ่ง Google นั้นสามารถเลือกทำได้ทั้งการซื้อ “คำ” ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของธุรกิจคุณ ที่คิดว่ากลุ่มเป้าหมายจะใช้เสิร์ชคำนั้นเพื่อหาสินค้าและบริการประเภทเดียวกับธุรกิจของคุณ หรือการทำ Google Display Ads ที่นำเสนอแบนเนอร์โฆษณาของธุรกิจคุณไปยังเว็บไซต์ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Google เป็นต้น

 

Interest Consideration และ Intent

 

เพื่อนำกลุ่มคนที่มีความสนใจสินค้าและบริการของคุณเข้ามายังแพลตฟอร์มและช่องทางการขายของคุณ เพื่อเจอกับข้อมูลและรายละเอียดของสินค้าที่คาดว่าลูกค้าต้องการจะรู้, ข้อมูลที่จะช่วยลดความกังวล, ตอบโจทย์ปัญหาของลูกค้าได้ รวมถึงบทความรีวิวสินค้าจาก Influencer, แบรนด์หรือองค์กรที่มีอิทธิพลหรือช่วยสร้างความน่าเชื่อถือกับแบรนด์ของคุณ

 

Evaluation และ Purchase

 

การนำเสนอข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ ด้วยการทำ Retargeting Ads เพื่อนำข้อเสนอพิเศษส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เคยสนใจสินค้าของคุณ เพราะอย่างที่ทราบดีว่าการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภท High Involvement นี้ ไม่ใช่การเข้ามาเจอสินค้าหรือศึกษาข้อมูลในเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของคุณเพียงครั้งเดียวแล้ว จะสามารถตัดสินใจซื้อได้ในทันทีฉะนั้นการทำ Retargeting Ads คือเครื่องมือสำคัญที่จะเป็นตัวช่วยพิเศษเพื่อกระตุ้นเตือนกลุ่มเป้าหมายให้กลับมาช่องทางการขายต่าง ๆ เพื่อการปิดการขายได้สำเร็จนั่นเอง

 

สิ่งสำคัญที่เราจะบอกในลำดับถัดไปคือ หัวใจของการทำโฆษณาออนไลน์ให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะยาวนั้น การวัดผลการทำโฆษณาในแต่ละแคมเปญและแต่ละช่องทาง คือสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องให้ความสำคัญใน R-Insights ซึ่งเป็นส่วนต่อขยายของระบบ R-CRM นั้นมี Lead Insights by Campaign และ Lead Insights by Source ที่ช่วยเก็บสถิติของการทำโฆษณาออนไลน์ ที่สามารถแบ่งได้ทั้งแบบแต่ละ Campaign โฆษณา และแบบแยกแต่ละช่องทางที่คุณทำโฆษณา

 

ซึ่งข้อมูลเชิงสถิติที่ R-Insights เก็บไว้ทั้ง2ส่วนนี้จะช่วยให้คุณสามารถทราบว่าแคมเปญโฆษณาใดหรือช่องทางการทำโฆษณาไหนบ้างที่มีประสิทธิภาพดีมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดสรรงบประมาณในการทำโฆษณาของธุรกิจให้คุ้มค่ามากที่สุด

 



5. Sales Report and Evaluation

 


แน่นอนว่าในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่สู้ดี การค้าขาย การทำธุรกิจในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องง่าย มองหากลยุทธ์หรือเทคนิคการขายที่ได้ผลดี จะไม่มีประสิทธิภาพครบ100% เลยหากขาดการปรับปรุงและพัฒนาศักยภาพของพนักงานขายของคุณ เพราะนอกจากการมีสินค้าที่มีจุดขายและจุดแข็งที่เหนือกว่าคู่แข่งในทุก ๆ ด้าน พร้อมกับช่องทางที่ช่วยนำส่งข้อมูลสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจและตรงกลุ่มเป้าหมายแล้ว การพัฒนาศักยภาพของทีมขายของคุณทั้งในขณะที่กำลังเสนอขายสินค้าแก่ลูกค้า ตลอดทั้ง Sales Pipeline ไปจนถึงการประเมินประสิทธิภาพของการปิดการขายของพนักงานแต่ละคนได้นั้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เจ้าของธุรกิจและหัวหน้าทีมขายจะต้องมีข้อมูลเหล่านี้เพื่อพัฒนาธุรกิจของคุณให้ดียิ่งขึ้น

 

และใน R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ที่ไม่ว่าจะมีเซลส์ 5 หรือ 500 คน ก็ใช้งานได้อย่างลงตัว ตอบโจทย์ธุรกิจที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement ที่ลูกค้าต้องใช้เวลาในการตัดสินใจ แพลตฟอร์ม R-CRM ช่วยให้ผู้บริหาร และ Sales Manager สามารถติดตามการทำงานของเซลส์ได้อย่างเป็นระบบ วัดผลได้ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำ เข้าใจ Customer Insights ได้อย่างลึกซึ้ง

 

โดย R-CRM  จะมีฟีเจอร์สำหรับช่วยพนักงานขายในการทำ Sales Report ที่สามารถรายงานข้อมูลลูกค้าของตนเองได้ตลอดทั้ง Sales Pipeline ละเอียดตั้งแต่เริ่มต้นการขายจนถึงปิดการขาย ซึ่งหัวหน้าทีมขายหรือเจ้าของธุรกิจก็สามารถดูรายงานโดยแบ่งเป็นพนักงานขายแบบรายบุคคล ทำให้วัดผลได้ว่าเซลส์แต่ละคนมีประสิทธิภาพแค่ไหน และหากเกิดปัญหาติดขัดอยู่ที่ช่วงใด ทำให้เห็นภาพรวมของทีมขาย นอกจากนี้สามารถเรียกดู Sales Report ย้อนหลังเพื่อนำมาเปรียบเทียบอัตราการเติบโตได้ ทั้งแบบรายวัน รายได้ ราย 6 เดือนได้ โดยไม่ต้องใช้สูตรคำนวณให้ซับซ้อน มีกราฟบอกอัตราการเติบโตเพื่อให้เห็นภาพรวมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นด้วย

 

และทั้งหมดนี้คือ 5 เทคนิคปิดการขายให้ง่ายขึ้นสำหรับธุรกิจกลุ่ม High Involvement ในยุคที่จะทำธุรกิจอะไรก็ดูยากมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกไปติดต่อเพื่อเสนอขายสินค้า หรือการโน้มน้าวใจลูกค้าที่มีความกังวลในเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฝืดอยู่ในขณะนี้ ฉะนั้นการมีเครื่องมือดีที่ช่วยให้การขับเคลื่อนธุรกิจของคุณง่ายขึ้นอย่าง R-CRM จาก Readyplanet ก็น่าจะเป็นตัวเลือกดี ๆ ที่คุณไม่ควรพลาดในการลงทุนให้ธุรกิจของคุณ

 

R-CRM หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Readyplanet Marketing Platform 

R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement

 

 

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี


 

Updated: 18 May 2021 | Produced by: Ploynaphat Wattanachodjirachai