7 เทคนิคการนำเสนองานและปิดการขายทาง Video Conference

จากสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ทำให้หลาย ๆ บริษัทต้องปรับวิถีการทำงานในรูปแบบใหม่เป็น Work from Home หรือมีการคัดกรองและออกกฎระเบียบที่งดเว้นพนักงานออกไปข้างนอกเพื่อพบลูกค้า หรือการห้ามคนนอกเข้ามาภายในออฟฟิศนั้น ทำให้วิธีการทำงานต้องเปลี่ยนไป จากที่เคยพูดคุย สื่อสารกันแบบต่อหน้า กลายมาเป็นการประชุมออนไลน์ เสนองาน หรือพบลูกค้าผ่าน Video Conference แทน ซึ่งการประชุมหรือการพบลูกค้าผ่านวิธีนี้ก็มีข้อดี ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต้องเดินทาง แต่การพูดคุยผ่าน Video Conference จะมีประสิทธิภาพเท่าเดิมเหมือนกับการได้เจอกันต่อหน้าย่อมเป็นไปไม่ได้ และยังมีข้อที่ต้องระวังอยู่ด้วยเช่นกัน Readyplanet จึงมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการนำเสนองาน ผ่าน Viedo Conference เพื่อเพิ่มความเป็นมืออาชีพให้กับพนักงานขายหรือทีมขายมาฝาก

Video Conference คืออะไร?

 

ระบบการสื่อสารชนิดหนึ่งหรือแปลได้ว่า การประชุมทางไกลที่ช่วยให้ผู้คนที่อยู่ต่างสถานที่กัน สามารถเข้าประชุมได้พร้อมกันหลายคนเหมือนอยู่ในห้องเดียวกัน สามารถแชร์ข้อมูลภาพ เสียงและเห็นหน้ากันได้ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างมือถือ โดยใช้โปรแกรมที่เป็นสื่อกลางต่างกันออกไป เช่น Skype, Zoom หรือ Google Meet เป็นตัวเชื่อมต่อให้ถึงกัน ขึ้นอยู่กับผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมด้วยว่าเขาสะดวกที่จะใช้โปรแกรมอะไร ถ้าตอนนี้เซลส์ประจำแบรนด์ของคุณกำลังเร่งทำยอดและอยากลองวิธีการขายหรือเสนอสินค้าและบริการผ่าน Video Conference ก็ควรต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อเพิ่มความเป็นมืออาชีพและช่วยปิดการขายให้เป็นเรื่องได้ง่าย ๆ ด้วยเทคนิคหลัก ๆ สำคัญ ดังนี้

 

1. การนัดหมายและการตรงต่อเวลา

 

เมื่อคุณได้วันเวลานัดหมายกับผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในการซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ คุณต้องจัดการบริหารทีมขายของคุณให้พร้อม เมื่อมีการส่งคำเชิญทางปฏิทินแล้ว คุณควรยกหูโทรหาผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมทั้งหมดเพื่อยืนยันวันและเวลาอีกที และแจ้งถึงรายละเอียดและเข้าใจวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ในการเข้าร่วมเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และเมื่อใกล้ถึงเวลานัดหมาย คุณควรเผื่อเวลาเพื่อเตรียมตัว และทดสอบระบบต่าง ๆ อย่างเช่น ความเร็วของอินเทอร์เน็ต, การเตรียมไฟล์ข้อมูลทั้งหมดไว้ในโฟลเดอร์เดียวกันเพื่อง่ายต่อการค้นหา, การเตรียมสินค้าชนิดต่าง ๆ สี หรือขนาดของสินค้าที่คุณมีให้ครบถ้วน, การจัดพื้นที่นั่งให้เหมาะสม ไม่มีเสียงดังรบกวน, การทดสอบไมค์ หรือหูฟัง เป็นต้น และการพรีเซนต์แต่ละครั้งควรจัดสรรเวลาในแต่ละหัวข้อให้ดี ไม่ควรนานจนเกินไปจนลูกค้าเบื่อ และควรจบให้ตรงเวลาหรือเผื่อเวลาให้ลูกค้าได้ซักคำถามหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ด้วย

  

2. การเตรียม Presentation

 

ความสามารถในการสื่อสารที่ดีเป็นทักษะที่สำคัญ คุณต้องสามารถนำเสนอหัวข้อและสินค้าของคุณได้อย่างคล่องแคล่วและครอบคลุมวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ที่ลูกค้าของคุณควรรู้ ซึ่งการนำเสนอส่วนใหญ่จะมีบทนำเนื้อความและข้อสรุป คุณควรแนะนำตัวเองว่าคุณคือใครสั้น ๆ ต่อด้วยเนื้อหาประกอบด้วยประเด็นสำคัญว่าสินค้าคุณคืออะไร ทำอะไรได้บ้าง มีประโยชน์อย่างไร หรืออาจจะเสริมว่าแตกต่างจากคู่แข่งของคุณอย่างไร และจบด้วยบทสรุป และรูปแบบ Presentation ที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

 

  • การเลือกใช้ตัวอักษรที่อ่านง่าย ซึ่งการใช้ตัวอักษรคุณอาจจะเลือกจากผู้ที่คุณนำเสนออยู่นั้นเป็นใคร เช่น ถ้าเป็นผู้ใหญ่หรือบุคคลในข้าราชการ ก็อาจะเลือกแบบอักษรที่อ่านและเข้าใจง่าย เป็นระเบียบหรือทางการ เป็นต้น

 


  • อย่าใส่ข้อความมากจนเกินไปในสไลด์ ใช้ภาพที่เกี่ยวข้องดึงดูดความสนใจเพื่อเล่าเรื่องมากกว่าตัวอักษร

 


  • สีสันที่สะอาดตา หรือเป็นโทนเดียวกับสีขององค์กรที่เราเสนอขายงาน

 


  • ใช้กราฟิกในการเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง

 

  • การแสดงสถิติตัวเลขที่น่าสนใจ 

 

ลองใช้เทคนิคการตกแต่ง Presentation ตามข้างต้นที่กล่าวมาก็จะทำให้ Slide ของคุณน่าสนใจและดึงดูดสายตามากยิ่งขึ้น 

 

3. การเลือกสถานที่หรือ Background

 

ด้วยสถานที่และสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้านอาจจะไม่ได้เอื้ออำนวยให้คุณสามารถใช้สถานที่นั้น ๆ เพื่อการประชุมได้อย่างเหมือนอยู่ที่ออฟฟิศ เช่น ข้างหลังเป็นราวแขวนผ้า หรือตู้ใส่ของที่ดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย หรือรกเลอะเทอะ จะทำให้ขัดสายตาต่อคู่สนทนาและดูไม่มีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งนั่นก็ทำให้คะแนนความน่าเชื่อถือลดลงเช่นกัน ดังนั้นคุณควรเลือกนำฟีเจอร์ที่เป็น Background มาใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์หรือผู้ที่เข้าร่วมสนทนา ด้วยภาพโทนสีที่ไม่ฉูดฉาดหรือรูปที่ไม่ดูตกแต่งเยอะเกินไป ทำให้รบกวนการใช้สายตาของผู้เข้าร่วมประชุม 

 

4. การจัดแสงและชุดแต่งกาย

 


เมื่อคุณได้มุมที่เตรียมไว้ Video Conference เรียบร้อยแล้ว ควรทำการเตรียมเซตแสงเพื่อให้คุณนั้นดูดีในวันเสนองาน ไม่เพียงเท่านั้นคู่สนทนาก็จะได้เห็นหน้าคุณชัดเจน ภาพที่ออกไปก็จะคมชัดดูมีการเตรียมความพร้อม ส่วนในเรื่องชุดแต่งกายควรเป็นลักษณะกึ่งทางการ ดูมืออาชีพ งดการใส่เสื้อยืด เพราะจะทำให้ภาพลักษณ์และเหมือนเป็นการไม่ให้เกียรติคู่สนทนา ทั้งนี้สีสันของชุดควรเป็นสีที่เสริมบุคลิกให้คุณดูดี หลีกเลี่ยงการใช้สีนีออนหรือสีที่ดูไม่มีกาลเทศะ

 

5.การปฎิบัติตัวระหว่างประชุม

 

ก่อนประชุมขายงานผ่าน Video Conference ควรทำสมาธิและตั้งสติให้ดี ควรมีสมาธิระหว่างขายงานไม่เล่นแอปอื่นหรือเล่นมือถือ ขณะที่อีกฝ่ายกำลังสนทนาอาจจะถือว่าเป็นการเสียมารยาทได้ การเสริมบุคลิกภาพที่ดีด้วยการนั่งตัวตรง อยู่ในลักษณะที่สบายไม่ทำให้ตัวเองเกร็งเกินไปจนเกิดความไม่มั่นใจ หมั่นมี Eye Contact กับผู้ที่กำลังพูดอยู่เสมอ และควรมีการโต้ตอบสลับถามตอบกับคู่สนทนา จะช่วยเสริมให้เขาสนใจและอยากจะคุยดีลงานกับเรามากยิ่งขึ้น

 

6. การใช้ปุ่ม Mute หรือการปิดเสียง

 

การประชุมแต่ละครั้งอาจจะมีเสียงลม เสียงสะท้อนภายในห้อง เสียงแอร์ หรือคนในบ้านของเรานั้นอาจเล็ดรอดเข้าไปได้ ทำให้เกิดเสียงรบกวนกับผู้ที่เข้าร่วมประชุมไม่ได้ยินหรือขาดช่วงในสิ่งสาระสำคัญไป ดังนั้นจึงควนใช้ปุ่ม Mute ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันเสียงรบกวน ช่วยให้ผู้อื่นได้ยินเสียงของผู้ที่กำลังพูดได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเมื่อคุณพูดจบแล้ว ควรพูดชื่อบุคคลที่จะพูดในลำดับถัดไปเพื่อส่งต่อให้บุคคลนั้นทราบก่อนทำการ Mute เสียงของตัวเองทุกครั้งเมื่อเป็นฝ่ายผู้ฟัง 

 

7. การสอบถามความรู้สึกหลังจบการนำเสนอ

 

เมื่อจบการนำเสนอขายควรทำการสอบถามความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนาครั้งต่อ ๆ ไป ถ้าผู้ที่ถูกถามหรือคู่สนทนาก็จะรู้สึกดีที่คุณใส่ใจความรู้สึกของเขาและอยากปรับปรุงพัฒนา รับรองว่าคุณจะได้คำแนะนำที่ดีแน่นอน อย่างไรก็ตามคุณอย่าลืมเสนอทำนัดครั้งต่อไป หรือแจ้งว่าขั้นตอนต่อไปคุณจะทำอะไรเพื่อให้พวกเขาได้เตรียมตัวเช่นกัน

  

เมื่อคุณเตรียมตัวความพร้อมเพื่อเสนองานเบื้องต้นไปแล้ว ก็อย่าลืมหมั่นฝึกฝนการพูดการขายและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งบทความนี้ อยากเป็นเซลส์มือทองต้องมีคุณลักษณะอย่างไร จะทำให้คุณมีทักษะที่ปิดการขายได้เพิ่มขึ้น 

 

และท้ายที่สุดเมื่อคุณเสนอสินค้าและปิดการขายได้แล้ว ก็อย่าลืมเก็บ Lead ข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดไว้ด้วย Readyplanet แนะนำ R-CRM แพลตฟอร์มบริหารงานขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย เครื่องมือสำหรับเซลส์ยุคใหม่ ครบครันด้วยเครื่องมือสำคัญที่ทีมขายต้องใช้ทำงานเป็นประจำในทุก ๆ วันตั้งแต่ จัดการ Lead, บันทึกรายงาน, สร้างใบเสนอราคา, ส่งอีเมล, ตั้งแจ้งเตือนเพื่อติดต่อหาลูกค้าในครั้งต่อไป ไปจนถึงจัดการ Sales Pipeline ในแต่ละขั้นตอนได้ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว

 

 

R-CRM หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Readyplanet Marketing Platform 

R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement

 

 

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี

 

Updated: 16 March 2021 | Produced by: Dujnapa Chauthamcharoen