Marketing Automation เครื่องมือทำการตลาดอัตโนมัติสำหรับธุรกิจยุคใหม่
ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีรอบ ๆ ตัวของพวกเรานั้น เริ่มที่จะเติบโตและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เพราะแบบนี้คนเราก็จะเริ่มคุ้นเคยหรือคุ้นชินกับคำว่า "ออนไลน์" มากขึ้น เนื่องจากว่า ออนไลน์ เริ่มเข้ามามีบทบาทกับตัวเรามากขึ้น นอกจากนี้ในมุมของธุรกิจแล้วก็จะมีการนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ร่วมกับการขายและทำการตลาดมากขึ้น เช่นในรูปแบบของ E-Commerce ก็คือการขายสินค้าหรือการบริการทางอินเตอร์เน็ตแบบออนไลน์ ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีผู้คนกว่า 2.4 พันล้านคนทั่วโลกที่ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ นอกจากนั้นคุณก็จะเริ่มสงสัยกันแล้วว่าทำไมเริ่มมีแต่โฆษณาสินค้าที่เชื่อมโยงหรือคล้ายคลึงกับสินค้าที่คุณซื้อไปล่าสุด เพราะว่าได้มี “ระบบทำงานการตลาดแบบอัตโนมัติ” หรือ คำที่เรียกว่า “Marketing Automation” โดยในบทความนี้ผมจะมาอธิบายเกี่ยวกับระบบนี้นะครับ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- Marketing Automation คืออะไร?
- Marketing Automation ทำงานอย่างไร?
- องค์ประกอบของ Marketing Automation มีอะไรบ้าง?
- ทำไมถึงควรใช้ Marketing Automation และช่วยในการตลาดได้อย่างไร?
- ตัวอย่างระบบที่ใช้ Marketing Automation
- สรุป
Marketing Automation คืออะไร?
Marketing Automation หรือ ระบบการทำงานทางตลาดแบบอัตโนมัติ คือ การนำซอฟต์แวร์หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือที่ควบคู่กับการทำการตลาดทางออนไลน์ โดยส่วนมาก ระบบนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยให้กับธุรกิจ E-Commerce ซึ่งจะช่วยเน้นไปทางการบริการลูกค้าเป็นหลัก อย่างเช่น การวิเคราะห์พฤติกรรมและการเข้าใจลูกค้าได้อย่างตรงจุด สามารถสื่อสารได้ด้วยการใช้ อีเมล SMS การทำโฆษณา หรือ การแจ้งเตือน การเก็บบันทึกข้อมูลกิจกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า อย่างเช่น ความถี่ในการกดดูสินค้า การเพิ่มสินค้าลงในตะกร้า การกดอ่านบทความ การสมัครสมาชิก หรือ การดาวน์โหลดเอกสารหรือไฟล์ที่อยู่ในเว็บไซต์ หรือเรียกได้ว่ากิจกรรมที่ลูกค้าได้มีส่วนร่วมต่อหนึ่งเว็บไซต์ แล้วก็จะถูกบันทึกไว้ทั้งหมด
Marketing Automation ทำงานอย่างไร?
Marketing Automation นั้นจะทำงานด้วยการนำข้อมูลของกลุ่มลูกค้าที่สนใจในสินค้าหรือการบริการ หรือ เรียกว่า Lead ที่ถูกเก็บข้อมมูลโดยใช้เนื้อหาและข้อมูลจากสินค้าและเว็บไซต์มาจัดการ วิเคราะห์ และแยกแยะออกมาให้เข้าใจง่ายและสร้างเนื้อหาหรือข้อความที่จะสามารถสื่อสารกับลูกค้านั้นได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมต่อไป เป็นการทำงานอัตโนมัติโดยระะบบเอง ตามที่เราได้ตั้งเงื่อนไขไว้
องค์ประกอบของ Marketing Automation มีอะไรบ้าง?
ในการทำการตลาดแบบอัตโนมัตินั้นจะต้อง 2 องค์ประกอบที่สำคัญนั้นก็คือ 1. ซอฟต์แวร์ และ 2. แผนการ
1. ซอฟต์แวร์
หลัก ๆ แล้วการที่ Marketing Automation เกิดขึ้นและส่งผลได้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีตัวซอฟต์แวร์ในการทำงานเพราะว่าการเก็บข้อมูลนั้น เราจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาตัวระบบซอฟต์แวร์ที่ถูกตั้งค่ามาไว้เพื่อช่วยให้มาจัดการแยกแยะข้อมูลของลูกค้าแต่ละคน ซึ่ง Marketing Automation จะไม่สามารถทำงานได้เลยหากไม่มีตัวซอฟต์แวร์
2. แผนการ
สำหรับแผนการนั้น สามารถมีออกมาได้หลายแบบ เช่น แผนการที่จะดึงดูดและเข้าหาลูกค้าระหว่างกลุ่มที่แตกต่างหรือใกล้เคียงกัน และแผนการที่เปลี่ยนให้คนแปลกหน้าให้กลายมาเป็นลูกค้าของธุรกิจ อย่างเช่น ถ้าลูกค้าคลิกเข้ามาชมสินค้า 2-3 ครั้งในเว็บไซต์ คุณก็จะสามารถส่งบทความ ข้อมูลโปรโมชั่นต่าง ๆ หรือโทรแนะนำตัวเพื่อสร้างโอกาสในการปิดการขาย
ทำไมถึงควรใช้ระบบ Marketing Automation และช่วยอะไรบ้าง?
สาเหตุที่ Marketing Automation เริ่มถูกนำมาใช้นั้นเพราะว่าระบบนี้มีหลายข้อดีและประโยชน์ต่าง ๆ ดังนี้
1. ทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าง่ายขึ้น
Marketing Automation ช่วยให้ธุรกิจสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้าผ่านการช่องทางการขายได้อย่างแม่นยำ สามารถแยกแยะแล้วจัดการได้ว่าลูกค้าพอใจกับสินค้า หรือ ต้องการการบริการแบบพิเศษอีกหรือไม่ และช่วยทำให้เห็นภาพรวมของความต้องการลูกค้า เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีมากยิ่งขึ้น และช่วยทำให้ปิดการขายได้ง่ายขึ้น
2. ช่วยให้ Economies of Scale เกิดขึ้นได้
แปลตรง ๆ ก็คือ การประหยัดต่อขนาด ซึ่งหมายถึง การที่เรามีการวางแผนการดำเนินงานให้ให้มีทิศทางและมาตรฐานที่ชัดเจน ก็จะช่วยปรับเปลี่ยนให้ราคาต้นทุนของการดำเนินธุรกิจ ของสินค้านั้นให้ถูกลงหรือลดลง หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ เมื่อเราจะมีการผลิตสินค้าในแต่ละครั้ง ต่างมีต้นทุนที่ต่างกัน ดังนั้นหากเรามีแผนที่ชัดเจน ควบคุมต้นทุนได้ดี ก็จะสามารถทำให้ธุรกิจมีกำไรได้ เราก็จะสามารถผลิตตัวสินค้าได้มากขึ้นในครั้งเกียว ในเวลาอันสั้นนั่นเอง
3. ช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน
เนื่องจากว่าปกติแล้ว การที่งานงานหนึ่งจะสำเร็จได้นั้น จะต้องใช้เวลาพอสมควร ทั้งทรัพยากร กำลังคนที่ต่างต้องเข้ามาทำงานเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จให้ได้ แต่ถ้าธุรกิจมีระบบหรือซอฟท์แวร์นี้เข้ามาช่วยในการทำงาน ก็จะช่วยทำงาน ทำการตลาดต่าง ๆ ได้สะดวกง่ายดายมากขึ้น อีกทั้งสามารถลดเวลาการทำงานของพนักงานได้ พนักงานสามารถใช้เวลาไปโฟกัสงานจำเป็นในส่วนอื่น ๆ แทนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. ช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้
เนื่องจากเพราะว่าระบบของ Marketing Automation นั้นเป็นแบบอัตโนมัติ สิ่งสำคัญคือมันจะสามารถแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นภายในการทำงานได้ หรือลดความผิดพลากของการทำงานลงได้ เนื่องจากขั้นตอนที่ซับซ้อน หรือการหลงลืมเวลาต่าง ๆ เช่น การกรอกข้อมูลผิด การเกิดบัคในโปรแกรมระหว่างการทำงาน เป็นต้น
5. ช่วยเก็บข้อมูลอัตโนมัติ
ระบบ Marketing Automation มีประโยชน์อย่างมากในการที่สามารถเก็บข้อมูลลูกค้าและพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้าในการเลือกสินค้าได้ เราจะสามารถวิเคราะห์และดูแลทั้งลูกค้าที่มาใหม่หรือเก่าให้ไม่หลุดหายไป ซึ่งแบบนี้เราจะสามารถนำข้อมูลส่วนต่าง ๆ นี้นำไปต่อยอดและสร้างเป็นแคมเปญให้เหมาะสมกับได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างระบบที่ใช้ Marketing Autimation
ตัวอย่างระบบในธุรกิจที่ได้นำระบบ Marketing Automation มาใช้ในการทำงาน
1. R-CRM
R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารการขาย ที่ถูกออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ที่ไม่ว่าธถรกิจจะมีเซลส์ 5 คนหรือไปจนถึง 500 คน ก็สามารถใช้งานระบบ CRM ได้อย่างลงตัว ตอบโจทย์ธุรกิจที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement หรือ สินค้าที่ผู้บริโภค มักจะมีการสืบค้นหาข้อมูลและใช้ความคิดไตร่ตรองก่อนและจะใช้เวลาในการตัดสินใจ
โดยแพลตฟอร์ม R-CRM นี้ช่วยให้ผู้บริหารและ Sales Manager หรือ ผู้จัดการการตลาดหรือการขาย สามารถติดตามการทำงานของเซลส์ สินค้า พนักงาน หรือ จำนวนของลูกค้าที่เข้ามา ได้อย่างเป็นระบบวัดผลได้ พร้อมกับรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้สามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำและสามารถเข้าใจถึง Customer Insights หรือ ทำให้เข้าใจลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง
แพลตฟอร์ม R-CRM จะมีหลายฟีเจอร์ที่ใช้ระบบอัตโนมัติ ดังนี้
- Workspace - หน้ารวมของข้อมูล
ฟีเจอร์นี้จะสามารถช่วยให้ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายขายสามารถบริหารจัดการ และติดตามการขายของทีมขายได้ในทุกวัน จะสามารถใช้ ป้ายกำกับเพื่อแบ่งหมวดหมู่รายชื่อลูกค้า เพื่อการค้นหาที่สะดวกมากยิ่งขึ้น และมีขั้นตอนในการทำงานที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้เซลส์สามารถติดต่อกลับไปหาลูกค้าทุกกลุ่มที่เป็นเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้อง
- Note - การบันทึกข้อความ
R-CRM มีฟีเจอร์ที่สามารถจดบันทึกสั้น ๆ ในรายการลูกค้าแต่ละคนได้ เพื่อที่เซลส์จะได้ไม่หลงลืมข้อมูล ค้นหาง่าย ใช้ข้อมูลนี้ในการพูดคุย ติดตามลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด และยังสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครั้งต่อไปของลูกค้ารายนั้น ๆ ได้ด้วย
- E-mail - อีเมล
ฟีเจอร์อีเมลใน R-CRM นี้ มีประโยชน์อย่างมากสำหรับคนทำงานยุคใหม่ ที่มักจะใช้อีเมลในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ เพราะมีความเป็นมืออาชีพและมาตรฐาน ซึ่งฟีเจอร์นี้เซลส์สามารถใช้งานโดยการร่างข้อความในอีเมล แนบไฟล์ ส่งใบเสนอราคา หรืออัปโหลดเอกสารต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องสลับหน้าจอไปมาระหว่าง CRM และโปรแกรอีเมล อีกทั้งจุดเด่นของฟีเจอร์นี้อีกอย่างก็คือ เมื่อเรามีการส่งอีเมลไปให้ลูกค้าแล้ว ระบบสามารถช่วยในการติดตามการเคลื่อนไหวของลูกค้าที่ส่งอีเมลไปให้ได้ เช่น ลูกค้าเปิดอ่านอีเมลรึยัง เปิดอ่านเอกสารแนบรึยัง เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ก็จะช่วยให้เซลส์ทำงานได้ง่ายขึ้น สามารถวางแผนวัน เวลาในการพูดคุย หรือการติดตามลูกค้าต่อได้อย่างมืออาชีพ
- Leads Transfer - การส่งต่อ Leads
สำหรับธุรกิจที่เมื่อมีทีมขายหรือเซลส์ลาออก สิ่งสำคัญคือเรื่องข้อมูลลูกค้า ที่ผู้บริหารต้องมีการควบคุมที่เข้มงวด ดังนั้นการเก็บบันทึกฐานข้อมูลลูกค้าอย่างเป็นระบบ และการส่งต่อข้อมูลลูกค้าให้ผู้ดูแลต่อ ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก และเมื่อมีพนักงานใหม่มารับช่วงต่อ ฟีเจอร์สามารถส่งโอนข้อมูลของลูกค้าของเซลส์เก่าไปหาอีกคนหนึงได้เลย อย่างง่ายดาย เพราะทุกอย่างได้มีการเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ในระบบอยู่แล้ว จึงจะไม่มีการตกหล่นทางข้อมูลของลูกค้า และ ไม่กระทบต่อกลุ่มลูกค้านั้น ๆ ได้อย่างแน่นอน ทีมขายก็ไม่ต้องเสียเวลามานั่งรวบรวมข้อมูลลูกค้า จัดแจงข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นฟีเจอร์นี้จะช่วยยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยให้ทีมขายทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นอีกด้วย
- Leads / Accounts Import - การนำเข้า Lead หรือบัญชีรายชื่อลูกค้าของธุรกิจ
ในทุกธุรกิจที่มีทีมขาย ก็ย่อมต้องมีฐานลูกค้าเก่าอญุ่ไม่น้อย และก็ต้องหาลูกค้าใหม่ร่วมไปด้วย ดังนั้นข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ก็ต้องมีจำนวนมากเต็มไปด้วย เป็นยิ่งเป็นยุคออนไลน์ ที่ลูกค้าทุกคนสามารถเข้าถึงธุรกิจ สินค้าและบริการได้หลายช่องทางและง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้ธุรกิจยิ่งต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลและสถิติต่าง ๆ เหล่านี้เป็นอย่างดีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น รายชื่อลูกค้าจากช่องทางเว็บไซต์ Facebook LINE หรือการไปออกอีเว้นท์ต่าง ๆ ดังนั้นการที่มีระบบ CRM เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูล Lead ให้เป็นระบบมากขึ้นก็จะเป็นผลดี
นอกจากการจัดการข้อมูล Lead อย่างเป็นระบบแล้ว R-CRM ก้มีฟีเจอร์ที่สามารถนำเข้า-ออกรายชื่อลูกค้าด้วยการบันทึกและนำออกเป็นไฟล์ Excel ได้ด้วย ทำให้ไม่ว่า Lead จะมาจากช่องงทางไหน ก็จะไม่มีตกหล่นอย่างแน่นอน
- Digital ADs Integration
แพลตฟอร์มนี้มีการรับรองการทำ Leads Generation หรือ ว่าที่ลูกค้าที่จะเพิ่มขึ้นโดยทำให้ลูกค้าสนใจบริการและสินค้านั้น ได้มีการให้ลูกค้าสามารถมากรอกข้อมูลใน Facebook ได้และทีมขายยังสามารถทำรายชื่อทั้งหมดมาส่งต่อเข้า R-CRM เพื่อให้ทีมขายได้ติดตามต่อ รวมทั้งใช้ประโยชน์ต่อในด้านอื่น ๆ ในอนาคตได้ด้วย
นอกจากจะมีการใช้เครื่องมือ Marketing Automation ในระบบที่ใช้ในการบริหารจัดการทีมขายแล้ว ยังมีการใช้งานในระบบสำหรับทำ Loyalty Program อีกด้วย ซึ่งในที่นี้เราขอยกตัวอย่าง Pointspot ระบบบัตรสมาชิกสะสมแต้มด้วยเบอร์โทร ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
2. Pointspot
Pointspot คือ ระบบบัตรสมาชิกสะสมพอยท์ ระบบสำหรับการทำ Loyalty Program เพื่อเพิ่มลูกค้าประจำ พร้อมขยายลูกค้าใหม่ โดย Pointspot สามารถใช้งานได้ง่ายเพียงบอกเบอร์โทร ลูกค้าก็สามารถสะสมแต้มได้ทันที ไม่ต้องพกบัตรสมาชิกกระดาษให้ยุ่งยาก ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอพใด ๆ สำหรับในมุมของธุรกิจ แอดมินก็สามารถจัดการระบบหลังบ้านได้เองอย่างง่ายดาย ข้อมูลสมาชิกถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีฟีเจอร์สำหรับสร้างคูปองโปรโมชั่น ของรางวัลต่าง ๆ ได้ิอย่างรวดเร็วและพร้อมใช้งานได้ทันที ที่สำคัญ Pointspot มีรายงานต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารในการใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ต่อยอดทางธุรกิจได้อีกด้วย
Pointspot จะมีหลายฟีเจอร์ที่ใช้ระบบอัตโนมัติ
- การตั้งค่าพอยท์
สำหรับเมนู การตั้งค่าพอยท์ นั้นจะช่วยให้เจ้าของร้านหรือผู้บริหารนั้นได้วางแผนและกำหนดเงื่อนไขของการสะสมและการใช้พอยท์ของลูกค้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ เช่น เมื่อซื้อสินค้ามูลค่าเท่าไหร่ลูกค้าจะได้รับพอยท์เท่าไหร่และสามารถใช้ได้ถึงวันไหน ซึ่งการตั้งค่าตรงนี้จะช่วยให้แอดมินไม่ต้องมานั่งจำเงื่อนไขการให้พอยท์ต่าง ๆ เอง ช่วยลดความผิดพลาดอันเนื่องมาจากบุคคลได้ ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นลงไปได้ เพื่อเอาเวลามาดูแลและบริการลูกค้าหน้าร้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนั้นลูกค้าก็สามารถโอนพอยท์ของตัวเองให้เพื่อนได้ด้วย เพื่อทำให้ระบบการสะสมแต้มนั้นดูน่าตื่นเต้นและน่าใช้มากขึ้น
- การจัดการสินค้า
ฟีเจอร์นี้จะเป็นการกำหนดเงื่อนไขการให้พอยท์สำหรับสินค้าแต่ละกลุ่มตามที่แอดมินหรือร้านค้าได้ตั้งเงื่อนไขไว้ในระบบ เช่น ร้านกาแฟ อาจจะมีการแบ่งกลุ่มสินค้าในร้านเป็น ประเภทน้ำผลไม้ เครื่องดื่มร้อน เบเกอรี่ เค้ก เป็นต้น ซึ่งการตั้งค่าแยกตามรายการสินค้านี้เพื่อให้ร้านค้ามีความยืดหยุ่นในการให้พอยท์ ควบคุมและจัดการได้ง่ายเพราะมีการแยกเป็นหมวดหมู่ อีกทั้งได้มีข้อมูลเพื่อจะได้ทราบถึงว่าสินค้ากลุ่มไหนขายดี จะมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นการซื้อเพิ่มขึ้นอย่างไรดี หรือสินค้าบางรายการเป็นเมนูใหม่ ลูกค้ายังไม่ค่อยรู้จักก็อาจจะทำเป็นของรางวัลแจกฟรีก่อนในช่วงแรกหรือสำหรับลูกค้าที่สมัครสมาชิก เป็นต้น
- ประวัติการทำรายการ
สำหรับประวัติการทำรายการ จะเป็นส่วนที่บอกว่าลูกค้าแต่ละคนได้ทำการซื้อสินค้าอะไรของร้านไปบ้าง มีกิจกรรมใดเกิดขึ้นบ้างระหว่างร้านค้าและลูกค้า หรือพูดง่าย ๆ ก็คือการกระทำหรือความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นหน้าร้านนั่นเองค่ะ ระบบจะมีการบันทึกข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนไว้อย่างเป็นระบบ พร้อมกับบอกวันเวลาอย่างชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนต่อเจ้าของร้านตอนมาเช็คประวัติการซื้อของลูกค้า
- รายงานสำหรับธุรกิจ
ความสำเร็จของการทำ Loyalty Program นอกจากการมีระบบที่ดีและมีประสิทธิภาพอย่าง Pointspot แล้ว ฟีเจอร์สำคัญที่ยิ่งช่วยส่งเสริมความมีประสิทธิภาพก็คือ รายงานต่าง ๆ ซึ่ง Pointspot มีรายงานที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจกว่า 17 รายการ (สามารถอ่านบทความ เจาะลึก! 17 รายงานสำคัญของ Pointspot ที่ทุกธุรกิจควรรู้ พร้อมวิธีการใช้งาน ได้ที่นี่) รายงานเหล่านี้ก็เกิดจากการที่ระบบมีการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ในระบบอย่างอัตโนมัติและรวบรวม แจกแจงแสดงผลออกมาเป็นรายงานสถิติให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานต่อได้ง่าย เจ้าของร้านหรือผู้บริหารก็เข้าถึงได้รวดเร็ว ไม่ต้องคอยสอบถามพนักงานหน้าร้านบ่อย ๆ ตัวอย่างรายงาน เช่น รายงานความเคลื่อนไหวของพอยท์ รายงานของรางวัล รายงานประวัติรายการ RFM Analysis รายงานลูกค้าประจำ เป็นต้น
ฟีเจอร์ข้างต้นที่เล่ามานี้ เป็นเพียงฟีเจอร์ส่วนหนึ่งที่ถือว่าเป็นความโดดเด่น ของการใช้งาน Marketing Automation และระบบ Pointspot แต่ยังมีฟีเจอร์อีกมากมายที่น่าสนใจ หากผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจได้เลือกใช้ ก็จะยิ่งเป็นการยกระดับการทำ Loyalty Program ได้อย่างประสบความสำเร็จ
สรุป
จะเห็นว่า เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2022 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั้นมีการพัฒนาและก้าวกระโดดขึ้นไปเรื่อย ๆ หลายองค์กรเริ่มมีช่องทางการติดต่อหลากหลายมากขึ้น มีการใช้ระบบ เครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการทำงานมากขึ้น เพื่อเป็นการลดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยาก และหนึ่งในความก้าวหน้าของโลกธุรกิจการตลาดและการขายก็คือ การตลาดอัตโนมัติหรือ Marketing Automation ซึ่งตัวระบบนี้จะมาช่วยให้การทำงานในพาร์ทต่าง ๆ ของธุรกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างเช่น R-CRM แพลตฟอร์มบริหารจัดการงานขาย และ Pointspot ระบบบัตรสมาชิกสะสมแต้มด้วยเบอร์โทร ซึ่งทั้ง 2 ระบบนี้ก็เป็นระบบที่มีบทบาทมากในธุรกิจยุคใหม่ ช่วยให้ทั้งการทำงานขาย และการตลาดเป็นไปได้อย่างราบรื่น ทีมขายทำงานได้อย่างคล่องตัว สามารถดูแลลูกค้าได้เป็นอย่างดี เพิ่มโอกาสในการปิดการขาย เพิ่มฐานลูกค้าประจำพร้อมขยายฐานลูกค้าใหม่อย่างได้ผล
สมัครใช้งาน Readyplanet R-CRM
R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement
ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี