Checklist ปรับเว็บไซต์ให้ติด SEO ดีขึ้นบน Google
Readyplanet ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ SEO ไว้ว่า จากงานวิจัยพบว่า 71.33% ของการ Search ทำการคลิกผ่าน Organic Results ในหน้าแรก และ 5.59% คลิกไปถึงหน้าที่ 2-3 ในขณะที่โฆษณาได้รับการคลิกเพียง 15% ของผู้ทำการค้นหา ดังนั้นการทำ SEO ให้คีย์เวิร์ดสำคัญ ๆ ของธุรกิจติดอันดับที่ดี จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดการแข่งขันและสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจของคุณเหนือกว่าคู่แข่งได้เป็นอย่างดี
SEO 3 ตัวย่อภาษาอังกฤษที่แสนจะคุ้นตาและคุ้นหู หรือที่ย่อมาจาก Search Engine Optimization คือการทำอย่างไรก็ได้ให้เว็บไซต์ของธุรกิจหรือองค์กรของ คุณติดอันดับต้น ๆ หรืออันดับดี ๆ ในหน้าแรก Google.co.th โดยการใช้คีย์เวิร์ดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือองค์กรของคุณประกอบบทความ เสริมให้เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพในระยะยาว เพียงพอที่ Google จะเลือกเว็บไซต์ออนไลน์ของคุณขึ้นไปอยู่แรก ทำให้กลุ่มเป้าหมายมองเห็นคุณง่ายขึ้น เพิ่มโอกาสในการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ สนใจสินค้าหรือบริการของคุณ และนำไปสู่ยอดขายได้ในที่สุด อีกทั้งยังควรหมั่นทำ SEO บนเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของคุณให้ประสิทธิภาพและต่อเนื่องอยู่เสมอจึงจะดีที่สุดอีกด้วย
เรียกได้ว่าการสร้างบทความคุณภาพจากการทำ SEO คืออีกหนึ่งช่องทาง Conversion บนเว็บไซต์ของคุณนั่นเอง มาถึงตรงนี้คงจะรู้จักการทำ SEO สังเขปกันแล้วต่อไปจะพามาตรวจสอบ Checklists กันว่าปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติด SEO ได้ดีขึ้นบน Google กัน มีอยู่ทั้งหมด 6 หัวข้อด้วยกัน ดังนี้
1. Check Page Speed บนเว็บไซต์
สำหรับความเร็วเว็บไซต์ถือเป็น Checklist ลำดับต้น ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเว็บไซต์ที่แสดงผลได้รวดเร็ว ย่อมถูกใจ Google และยังถูกมองว่าเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถืออีกด้วย โดยคะแนนเว็บไซต์จะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน สามารถเข้าไปเช็คได้ที่ Google PageSpeed Insights
2. Check โครงสร้างของเว็บไซต์ (รวมถึง HTTPS ด้วย)
มาต่อกันที่โครงสร้างของเว็บไซต์ออนไลน์ ให้คิดง่าย ๆ ว่าเว็บไซต์ของคุณก็เปรียบเสมือนบ้านถ้าโครงสร้างดีบ้านก็จะปลอดภัยและยั่งยืน ควรคำนึงถึงการจัดลำดับตำแหน่งต่าง ๆ บนหน้าเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งยังรวมถึงโครงสร้างของ HTMLเนื้อหาถูกต้องครบถ้วน ไม่มี Error เกิดขึ้น
3. Check ดีไซน์ของเว็บไซต์ ว่า Responsive ครบทุกหน้าหรือเปล่า?
มาอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก่อนว่า Responsive ก็คือแนวคิดที่คุณจะออกแบบเว็บไซต์ครั้งแรกและครั้งเดียว ให้สามารถรองรับและแสดงผลได้ทุกขนาดแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ PC โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ตหรือมือถือสมาร์ทโฟนรุ่นต่าง ๆ รวมถึงระบบปฏิบัติการอย่าง IOS, Android หรือ Windows Mobile อื่น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งานเพราะหากเว็บไซต์ของคุณไม่รองรับ Responsive ครบทุกหน้า Google จะปรับคะแนนการติด SEO ของเว็บไซต์ออนไลน์คุณให้ต่ำลงนั่นเอง
4. Check Title, Description, Keyword บนเว็บไซต์
อีกหนึ่ง Checklist ที่ไม่ควรพลาด และห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะสิ่งเหล่านี้จะแสดงผลอยู่บนหน้าเว็บไซต์ออนไลน์ของ ธุรกิจหรือองค์กรของคุณตลอดเวลา นั่นก็คือ
หัวข้อ (Title) : แนะนำให้ใส่เฉพาะคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ สินค้าหรือบริการของคุณ
รายละเอียด (Description):แนะนำให้รายละเอียดของธุรกิจ สินค้าหรือบริการของคุณให้ชัดเจน ครบถ้วน แต่ไม่ยาวจนเกินไป เขียนเป็นข้อๆ ให้อ่านง่าย ไม่ใช้คำสิ้นเปลืองเพื่อใช้ดึงดูดผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้หยุดอ่านสิ่งที่คุณต้องการจะบอก
คำหลัก (Keyword) : สำหรับหัวข้อและรายละเอียด สามารถเลือกใช้คำหลักหรือคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจได้ จะช่วยในการติด SEO ได้ ควรเช็คให้รอบคอบถึงเรื่องการสะกดคำรวมไปถึงฟอนต์และสีที่ใช้ในการออกแบบเว็บไซต์ออนไลน์ด้วยส่วนใหญ่แล้ว Google จะมีเว็บไซต์สำหรับ หา Keywords ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อช่วยในการติด SEO เช่น Google Keyword Planner หรือ Google Adwords และ Google Trends เป็นต้น
5. Check sitemap.xml และ robots.txt ของเว็บไซต์
สำหรับ sitemap.xml / XML sitemap และ robots.text เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติด SEO ช่วยให้ Google ค้นหาหน้าเว็บไซต์ของคุณได้อย่างรวดเร็วและง่ายมากขึ้น
XML Sitemap คือ แผนผังไซต์ จะทำหน้าที่นำทางบนเว็บไซต์ออนไลน์ของคุณ ซึ่งจะช่วยให้ Google เข้าถึงหน้าเว็บไซต์ที่คุณต้องการได้ทั้งหมด โดยการวบรวม Link หน้าเว็บไซต์ทั้งหมดของคุณเอาไว้และแสดงผลออกมาในรูปแบบของสารบัญ Link เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีหมวดหมู่ย่อย มีเนื้อหาทั้งรูปแบบตัวหนังสือและรูปภาพ วิดีโอ,เว็บไซต์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่มี Backlink ซึ่งเรียกได้ว่าเหมาะกับธุรกิจหรือองค์กรที่มีเว็บไซต์ออนไลน์ไว้เป็นช่องทางในการขายสินค้าหรือบริการ
อีกทั้งลูกค้าจำเป็นต้องใช้เวลา ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้ออีกด้วย โดยคุณสามารถสร้าง Sitemap.xml ได้จากเว็บไซต์ที่รองรับ เช่น www.xml-sitemaps.com หลังจากนั้นให้คุณใส่ URL เว็บไซต์ของคุณ คลิกที่ Generate ก็จะได้ sitemap.xml เพื่อนำไปส่งให้กับ Google ผ่านทาง Google Search Console แล้ว Robots.txt คือไฟล์ที่ช่วยบอกให้ Search Engine ในที่นี้คือ Google เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ออนไลน์ของคุณ คุณสามารถกำหนดได้ว่าข้อมูลส่วนไหนจะให้ถูกเก็บหรือไม่ให้ถูกเก็บข้อมูลก็ได้เช่นกัน
6.Check ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ (ค่า DA,PA,Backlink)
Checklist สุดท้ายคือการเช็คเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ เพราะเมื่อเว็บไซต์ออนไลน์ของคุณน่าเชื่อถือ Google ก็จะดึงข้อมูลจากเว็บขึ้นไปแสดงบนหน้าแรกหรือลำดับต้นๆ นั่นเอง ด้วยการเช็คค่า DA (Domain Authority) คือคะแนนสำหรับการจัดอันดับเว็บไซต์ มีตั้งแต่ 1-100, เช็คค่า PA (Page Authority) คือคะแนนใช้วัดคุณภาพและความนิยมของหน้าเว็บไซต์ใน แต่ละหน้า ยิ่งคะแนนของ DA PA สูงมากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสเข้าไปติดอันดับ SEO บน Google ได้ดีมากขึ้นเท่านั้นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เว็บคุณน่าเชื่อถือขึ้นคือ Backlinks เป็นลิงก์จากเว็บอื่นหรือช่องทาง Social Media ที่จะเชื่อมกลับมาที่หน้าเว็บไซต์ออนไลน์ของคุณ
วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นช่อง Facebook Fan Page, Line Official Account, Instagram เป็นต้น นอกจาก 6 Checklists ด้านบนแล้ว ยังมีอีกหลากหลายเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณทำ SEO ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้ติดบนหน้าของ Google ติดตั้ง Google Search Console
Google Search Console คือบริการฟรีจาก Google ช่วยให้คุณเข้าใจว่า วิธีที่ Google ใช้ดูเว็บไซต์ของคุณ ช่วยเพิ่มโอกาสในการติดหน้าแรกได้ง่ายขึ้น
วิธีการติดตั้ง Google Search Console
1. เข้าไปที่หน้าเว็บของ Google Search Console และ login เข้าสู่บัญชี Gmail ของคุณให้เรียบร้อย
2. ใส่ URL เว็บไซต์ออนไลน์ของคุณ หลังจากนั้นคลิกที่เพิ่มคุณสมบัติ (Add a property)
3. คลิกเลือก ‘วิธีการอื่น’ เพื่อติดตั้ง หลังจากนั้นให้กดเลือก แท็ก HTML จะปรากฎโค้ดให้คัดลอกเก็บเอาไว้
4. ติดตั้งปลั๊กอิน (Plugins) ชื่อว่า Yoast seo ในหลังบ้านเว็บไซต์ออนไลน์ของคุณ และ Activate ปลั๊กอินให้เรียบร้อย และคลิกเลือก ‘seo’ ตรงแถบเมนูด้านข้าง (แถบเดียวกับปลั๊กอิน) คลิกไปที่ Webmaster Tool
5. วางโค้ดที่ทำการคัดลอกเอาไว้ ที่ Google Search Console ปิดท้ายด้วยการกด Save Changes เพื่อบันทึกข้อมูล
6. หลังจากนั้นกลับไปยังหน้าเพจของ Google Search Console เพื่อคลิกยืนยันการติดตั้ง เมื่อทำตามขั้นตอนครบถ้วนแล้วหน้าจอจะแสดงภาพแจ้งว่าคุณติดตั้ง Google Search Console สำเร็จแล้ว
สำหรับการวัดผลของ Google Search Console โดยปกติหลังจากที่ติดตั้ง Google Search Console เสร็จเรียบร้อย Google จะใช้เวลาเข้ามาเก็บสถิติบนเว็บไซต์ประมาณ 24 ชั่วโมงขึ้นไป จะเป็นการรายงานผลแบบ Organic ยกตัวอย่างเช่น
- Total Impression : จำนวนครั้งทั้งหมดที่มีคนคลิกเข้ามาบนเว็บไซต์
- Total Click :จำนวนคลิกทั้งหมดที่มีคนกดเข้ามาดูในเว็บไซต์
- Click-Through Rate (CTR) :จำนวนคนค้นหาและเข้ามาบนเว็บไซต์คิดเป็นเปอร์เซ็น
- Average Position : ตำแหน่ง ณ ปัจจุบันของเว็บไซต์คุณบน Google ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- Keyword : บอกคำค้นหาที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ ใช้ค้นหาและเข้ามายังเว็บไซต์ อีกหนึ่งความสามารถของ Google Search Console ที่ช่วยให้เว็บไซต์คุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นคือฟังก์ชั่น Coverage จะช่วยตรวจสอบว่าหน้าเว็บไซต์ของคุณหน้าไหนบ้างที่ Error อยู่นั่นเอง
ติดตั้ง Google Analytics
นอกจาก Google Search Console แล้ว ยังมี Google Analytics ที่เป็นเครื่องมือฟรีของ Google ตัวช่วยในการเก็บข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์ออนไลน์เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ปรับปรุงธุรกิจหรือองค์กรให้ดีขึ้นต่อไป
วิธีการติดตั้ง Google Analytics
1. สามารถเข้าไปที่ Welcome to Google Analytics คลิก Start measuring เพื่อ Create Account โดยแนะนำให้ใส่เป็นชื่อบริษัท ธุรกิจหรือองค์กร และสามารถเลือก Data Sharing Setting ได้ทุกข้อเพื่อใช้แชร์ข้อมูลกับ Google ในอนาคตหลังจากนั้นตรง What do you want to measure? เลือกสิ่งที่ต้องการจะประเมิน รวมถึงกรอกข้อมูลตรง Property setup ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นกด Accept เพื่อเปิดการใช้งาน Google Analytics
2. หลังจากนั้นระบบจะเข้ามาที่หน้า Property ในส่วนนี้จะมี Tracking Code คุณสามารถคัดลอกโค้ดไปแปะไว้ทุกหน้าในเว็บไซต์ออนไลน์ หากคุณจ้างคนดูแลเว็บไซต์ก็สามารถส่งโค้ดนี้ไปให้เข้าติดตั้งได้ เมื่อคุณติดตั้งเสร็จเรียบร้อย Google จะค่อย ๆ ทำหน้าที่เก็บสถิติบนหน้าเว็บไซต์ของคุณ สำหรับการวัดผลของ Google Analytics มีหน่วยรายงานหลักคือ Audience (เพศ อายุ พิกัด) , Acquisition (เข้ามายังเว็บไซต์ผ่านช่องทางใดบ้าง), Behavior (พฤติกรรมของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์) และ Conversion (จำนวนการสั่งซื้อสินค้าการลงทะเบียนหรือสมัครสมาชิกต่างๆ)
วิเคราะห์คู่แข่ง อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยมีส่วนช่วยในการทำ SEO บนเว็บไซต์คือการวิเคราะห์สิ่งที่คู่แข่งทำอยู่ตามข้อคิดเชิงปรัญชาจาก “ซูนวู” ที่แสนคุ้นหู อย่าง ‘รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง’ ยังคงใช้ได้ดีไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์จากข้อดีข้อเสียของคู่แข่ง การทำ SWOT Analysis ทั้งคู่แข่งทางตรงและทางอ้อม, วิเคราะห์ Unique Selling Point (USP) จากสิ่งที่คุณทำได้คู่แข่งทำได้ และสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ วิเคราะห์ว่าคู่แข่งมี Content แบบไหนบ้างหรือรูปแบบใดบ้าง จัดหมวดหมู่อย่างไรมีการวาง Concept หรือ Mood & Tone ของ Content ไปทางไหน เลือกสื่อสารผ่านช่องทางอะไรเป็นหลัก ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นอย่างไรและนำมาเทียบกับธุรกิจหรือองค์กรของคุณเพื่อหาข้อได้เปรียบและข้อที่สามารถปรับปรุงให้ดีกว่าได้
เลือกคีย์เวิร์ดที่ทำเงิน ให้อธิบายเพื่อเข้าใจง่าย ๆ และรวดเร็ว คีย์เวิร์ดที่ทำเงินได้ ก็คือคีย์เวิร์ดที่มี Conversion Rate สูง สามารถสร้างให้เกิดการสร้างยอดขายได้ แบ่งตามปริมาณการค้นหา
1. Mass Keyword / Short Keyword / Seeding Keyword เป็นคีย์เวิร์ดหลักในการค้นหาธุรกิจหรือบริการของคุณ แต่ค่อนข้างกว้าง มีการค้นหาสูง คู่แข่งเยอะ ทำให้ไม่ใช่คีย์เวิร์ดทำเงินที่ดี มักใช้เป็นคำตั้งตนเท่านั้น
2. Niche Keyword เป็นคีย์เวิร์ดที่ใช้ขยายความคีย์เวิร์ดหลักให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ใช้บอกประเภทของธุรกิจหรือบริการได้ปริมาณการค้นหากลาง ๆ สามารถใช้เป็นคีย์เวิร์ดทำได้ แต่ Conversion Rate ไม่ได้สูงมากมาย
3. Long-Tail Keyword เป็นคีย์เวิร์ดที่เฉพาะเจาะจงไปเลยว่าสินค้าหรือบริการของคุณคืออะไร ยี่ห้ออะไร มีประโยชน์หรือจุดขายอย่างไร รวมถึงบอกทำเลที่ตั้งร้านได้ สำหรับคีย์เวิร์ดนี้ถือเป็นคีย์เวิร์ดทำเงิน เพราะปริมาณการค้นหาน้อย คู่แข่งน้อย เมื่อผู้บริโภคค้นหาคำที่เจาะจงมากเท่าไหร่นั่นหมายถึงว่ากำลังต้องการซื้อสินค้าหรือบริการนั้นจริง ๆ นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น คุณให้บริการธุรกิจนวดบรรเทาอาการต่าง ๆ ควรเลือกใช้คีย์เวิร์ด คีย์เวิร์ดทั่วไป : คอร์สนวด ออฟฟิศซินโดรม นวด คอบ่าไหล่
คีย์เวิร์ดทำเงิน : คอร์สนวด ออฟฟิศซินโดรม คอ บ่า ไหล่ อโศก คอร์สนวด ออฟฟิศซินโดรม 60 นาที สยาม นวด คอบ่าไหล่ อโศก 1 ชั่วโมง นวด คอบ่าไหล่ คนท้อง ช่องนนทรีสนใจ Long-tail keyword มากขึ้น
ถ้าพูดถึงเรื่อง Keyword แล้ว ธุรกิจหรือองค์กรที่มีประสบการณ์ในการทำ SEO จะทราบกันดีว่ามีให้เลือกใช้หลากหลาย เป็นคำที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ต้องการนำเสนอขายหรือให้บริ การเป็นหลัก เราจะได้ยินบ่อย ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น Short-Tail Keywords และ Long-Tail keywords
- Short-Tail Keywords คือ คีย์เวิร์ดที่ค่อนข้างกว้าง ไม่ได้เฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่จะมีปริมาณในการค้นหาใน Google สูงมาก เรียกได้ว่าคู่แข่งเยอะนั่นเอง
- Long-Tail Keywords คือ คีย์เวิร์ดที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง และมักประกอบไปด้วย Short-Tail Keywords ที่เป็นคีย์เวิร์ดหลักและได้รับความนิยมใช้สูงพร้อมคำต่อท้าย โดยส่วนใหญ่จะมากกว่า 3 คำขึ้นไป คู่แข่งน้อยกว่าเพราะอัตราการค้นหาต่ำกว่า ทำให้มีโอกาสที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจะค้นหาธุรกิจหรือ องค์กรของคุณเจอในหน้าแรกของ Google ได้ไม่ยากเท่าคีย์เวิร์ดที่คู่แข่งสูง ๆ นอกจากนั้นตัว Long-Tail Keyworks ยังมี Conversion สูง เพราะหากผู้บริโภคระบุคำค้นหาที่ละเอียดและเฉพาะเจาะจงขึ้นแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าหรือบริการเมื่อค้นหาสิ่งที่ต้องการเจอย่อมสูงกว่าปกตินั่นเอง สามารถทำความรู้จักกับ Long-Tail Keywords ให้มากขึ้นเพิ่มเติมได้ที่ Long-Tail Keywords คืออะไร สิ่งสำคัญที่คนทำ SEO ต้องรู้
เพราะทุกวันนี้การแข่งขันทางการตลาดในทุกภาคธุรกิจดุเดือดและพัฒนากันไม่หยุด หลายธุรกิจหันมาทำ SEO และประสบความสำเร็จ แต่ก็ยังมีอีกหลายธุรกิจยังไม่เคยเริ่มต้นหรือทำแล้วแต่ได้ผลไม่น่าพอใจเท่าที่ควร ดังนั้น Checklist และปัจจัยเหล่านี้จึงมีประโยชน์และมีส่วนช่วยอย่างมากให้เว็บไซต์ออนไลน์ของคุณติด SEO ได้ดีขึ้นบนหน้าแรกของ Google สำหรับธุรกิจที่ต้องการเริ่มต้นการทำ SEO และอยากได้ที่เห็นผลลัพธ์ ได้ประสิทธิภาพ หรือธุรกิจที่ทำ SEO บนเว็บไซต์ออนไลน์อยู่แล้วแต่ต้องการยกระดับไปอีกขั้น Readyplanet มีเครื่องมือที่เรียกว่า Smart SEO ช่วยทำ SEO ให้กับธุรกิจและองค์ของคุณแบบยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่ธุรกิจต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบทำงานแบบ ROI Focused คือการวัดผล Conversions ชัดเจน ช่วยให้ติดอันดับ SEO แบบครอบคลุมทุกคีย์เวิร์ด มี On-Page Optimization และ Off-Page Optimization รวมถึงมี Social Media Optimization และยังมี Google My Business
Optimization อีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจบริการ SEO วิถีใหม่ ยกระดับคุณภาพเว็บไซต์ในภาพรวม
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดย คลิกที่นี่