6 ข้อควรระวังในการทำการตลาด Digital Marketing
เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) ที่เหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ หรือมืออาชีพก็ต่างให้ความสนใจกับเครื่องมือนี้กันเป็นอย่างมาก เป็นเพราะปัจจุบันหนึ่งในเครือข่ายที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด นั่นก็คือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อย่างที่ทราบกันดีไม่ว่าใครก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกวัน ทุกเวลา ทุกวินาที นับเป็นจุดแข็งในเรื่องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด ส่งผลให้เหล่าผู้ประกอบการไม่ว่าจะรายเล็ก หรือรายใหญ่ ต่างหันมาสนใจ Digital Marketing กันอย่างสุดตัว และอย่างที่ทุกคนทราบ ทุกสิ่ง ทุกอย่างหากมีจุดแข็งย่อมมีจุดอ่อนเสมอ ใช่ว่าทุกธุรกิจที่ใช้เครื่องมือนี้แล้วจะประสบความสำเร็จเสมอไป ยังมีอีกหลายสิ่ง หลายอย่างที่จำเป็นต้องรู้ก่อนเริ่มการทำการตลาด Digital Marketing เพื่อป้องกันผลเสียที่อาจจะเกิดมากกว่าผลดีหากไม่รู้ถึงข้อควรระวังในการทำการตลาด Digital Marketing
6 ข้อควรระวังในการทำการตลาด Digital Marketing
1. วางแผนกลุ่มเป้าหมายผิดพลาด
หนึ่งในหัวใจสำคัญของการทำการตลาด Digital Marketing คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้อง ซึ่งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายควรเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายก่อน อาทิเช่น ต้องทราบว่าผู้บริโภคมีความต้องการอะไร มีปัญหาด้านใด ช่องทางที่ใช้ในการรับสารคือช่องทางใด เพราะการมีสินค้าหรือบริการที่ดีเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเริ่มธุรกิจเท่านั้น ถ้ามีสินค้าหรือบริการที่ดีเลิศ แต่ไม่เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจะทำให้ขั้นตอนต่อไปของการทำการตลาดเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ดังนั้นก่อนจะทุ่มเงินไปกับการทำการตลาด Digital Marketing ควรเริ่มต้นจากการทุ่มเวลาในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องเสียก่อน
2. เลือกใช้ช่องทางของสื่อดิจิทัลที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
ถึงแม้ว่าเครื่องมือนี้จะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคนับล้านทั่วโลก แต่ใช่ว่าทุกผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมเหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นการเลือกช่องทางการสื่อสารนับว่าสำคัญยิ่ง เพราะถ้าหากทราบกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องแล้ว แต่เลือกช่องทางการสื่อสารที่ผิด จะส่งผลให้จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับสารนั้นสูญหายไปได้
- คอนเทนต์คลิปวิดิโอ เน้นเล่าเรื่องราว : ช่องทาง Youtube
- คอนเทนต์คลิปวิดิโอ เน้นสั้นกระชับ : ช่องทาง Facebook
- คอนเทนต์สร้างภาพลักษณ์ เน้นรูปภาพ : ช่องทาง Intagram
- คอนเทนต์สั้น กระชับ เข้าใจง่าย : ช่องทาง Twitter
ช่องทางเหล่านี้เป็นเพียงช่องทางการสื่อสารเบื้องต้น หากทราบกลุ่มเป้าหมายแล้วแต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกช่องทางการสื่อสารอย่างไรให้เหมาะสม สามารถปรึกษาได้ที่นี่
3. ไม่มีความเชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Google Analytics
Google Analytics คือ เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์และวัดผลประสิทธิภาพของช่องทางการสื่อสาร Digital Marketing ที่เลือกนำมาใช้ ด้วยการนำข้อมูลของผู้บริโภคเชิงลึกมาวิเคราะห์ เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แน่นอนว่า Digital Marketing มีหลายช่องทางการสื่อสารให้ผู้ประกอบการได้เลือกใช้ แต่ช่องทางไหนได้รับผลตอบรับที่ดีที่สุด Readyplanet ช่วยคุณได้ด้วยบริการทำโฆษณาออนไลน์ R-Dynamic ระบบโฆษณา แต่หลายธุรกิจอาจมองข้ามหรือขาดความเชี่ยวชาญในด้านนี้ และอาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจในด้านร้ายมากกว่าดี
4. ใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ (Website) ได้ไม่เต็มที่
ถึงแม้ว่าเว็บไซต์อาจปิดการขายหรือเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้น้อยกว่าช่องทางอื่น แต่อย่าลืมว่าหน้าที่หลักของเว็บไซต์ไม่ใช่เน้นในเรื่องปิดการขาย แต่เน้นสื่อสารถึงภาพรวมของแบรนด์ แสดงถึงความน่าเชื่อถือและความเป็นตัวตนของแบรนด์บนเว็บไซต์ออนไลน์ และที่สำคัญแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ R-Web ทำให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่ต้องการค้นหาได้ตรงจุดจากการค้นหาข้อมูลบนแพลตฟอร์ม Google และเจอเว็บไซต์ของแบรนด์นั่นเอง หากต้องการให้ผู้บริโภคค้นหาเว็บไซต์เจอง่ายขึ้น อย่าลืมติด SEO อีกทั้งเว็บไซต์ยังเป็นที่เก็บข้อมูลของผู้บริโภค เพื่อนำมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของแบรนด์ นำมาซึ่งการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
5. ทำการตลาดด้านเดียว
อย่าลืมว่า “สองหัวยังดีกว่าหัวเดียว” เนื่องจาก Digital Marketing ไม่เลือกผู้ใช้งาน หมายความว่า ไม่ว่าใครก็สามารถทำการตลาดนี้ได้ ดังนั้นจะเห็นว่ามีผู้ประกอบการมากหน้าหลายตาที่ปรากฎเป็นช่องทางออนไลน์มีทั้งเชื่อถือได้และเชื่อถือไม่ได้ ดังนั้นในปัจจุบันผู้บริโภคจึงเลือกพิจารณาการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการมากขึ้น ซึ่งการทำการตลอดออนไลน์ (Online) ควบคู่ไปกับการทำการตลาดออฟไลน์ (Offline) ถือเป็นการสร้างความน่าเชื่อถืออีกทางหนึ่ง เป็นการแสดงถึงการมีตัวตน และทั้งออนไลน์และออฟไลน์ต่างก็สามารถเพิ่มกลุ่มผู้บริโภคได้เช่นกัน
6. ไม่มีการจัดการเก็บฐานข้อมูลผู้บริโภคอย่างถูกต้อง
ทุกการทำงานต้องมีการวัดผล และผลที่ได้รับนับเป็นฐานข้อมูลผู้บริโภคที่สำคัญต่อการปรับปรุง พัฒนา และต่อยอดธุรกิจ ใช่ว่าทุกการเริ่มต้นของธุรกิจจะราบรื่นเสมอไป หากผลลัพธ์ไม่เป็นอย่างที่หวัง ลองหันกลับมาดูการทำงานที่ผ่านมา อาจจะกำหนดกลุ่มเป้าหมายผิดพลาด หรือเลือกช่องทางการสื่อสารที่ผิด ซึ่งสามารถดูได้จากฐานข้อมูลผู้บริโภคที่ผ่านมา จัดทำผลสรุปรายงาน หนึ่งในข้อมูลผู้บริโภคดูได้จาก Lead Management ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าเดิม หรือลูกค้าใหม่ เราจะทำให้กลายเป็นลูกค้าเราในที่สุด หากพลาดจุดนี้ไปอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจในอนาคตได้ และในปัจจุบันมี R-CRM ตัวช่วยเรื่องการเก็บฐานข้อมูลลูกค้า มากมายที่จะช่วยคุณเข้าใจ Customer Insights ,รู้เท่าทันการทำงานของทีมเซลส์ และบริหารจัดการงานขายได้คล่องตัว ทำให้คุณประหยัดเวลา ไม่จำเป็นต้องลงมือทำขึ้นเอง
เมื่อรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของเครื่องมือที่จะใช้ในการต่อยอดธุรกิจอย่าง Readyplanet Marketing Platform แล้ว จะทำให้คุณสามารถเลือกนำจุดแข็งมาใช้ประโยชน์ และอุดรอยรั่วจุดอ่อนโดยการเรียนรู้หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะอย่างตรงจุด จะทำให้คุณสามารถใช้เครื่องมือนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
R-CRM หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Readyplanet Marketing Platform
R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement
ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี