7 เรื่องพื้นฐานในการทำการตลาดดิจิทัลที่ต้องรู้
อย่างที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์ในปัจจุบันนี้ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบครั้งใหญ่กับธุรกิจหลากหลายประเภท ผู้ประกอบการณ์หลายแห่งพยายามปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงให้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบันและพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมหันไปจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น โลกดิจิทัลหรือการตลาดดิจิทัลจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป Readyplanet จะมาแชร์เทคนิคพื้นฐานในการ Go Online ที่ผู้ประกอบการหรือคนทั่วไปเองควรอัปเดตให้ทันในปีนี้
ข้อมูลจาก We are social ช่วง Q1 ที่สรุปออกมาช่วงเดือนเมษายน 2564 อัปเดตสถิติในการใช้งานดิจิทัลทั่วโลกนั้น มีการใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น 1.9% เมื่อเที่ยบกับปี 2020 และคนใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น 7.6% คิดเป็น 300 กว่าล้านคนเลยทีเดียว ในส่วนของแอคเคาท์บนโซเชียลมีเดียเองก็มีการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก 13.7%
นอกจากนี้พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเอง ยังพบสถิติของเดือนก่อนว่ามีการใช้เครื่องมือ Search Engine อย่างเช่น Google อยู่ที่ 98% มีการใช้เสียงในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ 46.7% ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ หาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ 44.7% และใช้เครื่องมือที่ช่วยค้นหาภาพเมื่อใช้งานผ่านอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ 33.8% (ข้อมูลเดือนเมษายน 2021) นี่เองอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมธุรกิจของคุณต้องทำการตลาดดิจิทัล ปรับเปลี่ยนเพื่อเอาชนะคู่แข่ง และเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายให้กับธุรกิจ
1. การสร้าง Branding
ถือเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการสร้างแบรนด์หรือธุรกิจของคุณเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบโลโก้ร้านค้า โทนสีที่เลือกใช้และความหมายที่ต้องการสื่อ ชื่อแบรนด์ที่กลั่นกรองขึ้นมาแบบมีเอกลักษณ์ หรือภาพจำใด ๆ ก็ตามที่ช่วยให้ลูกค้าของคุณจำแนกแบรนด์ได้ต่างจากคู่แข่ง แต่ก่อนที่คุณจะสร้างการจดจำและให้ลูกค้ารับรู้ เข้าใจ คุณต้องเข้าใจแบรนด์ตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก โดยตอบคำได้ให้ได้ว่า ใครคือกลุ่ม Target (กลุ่มเป้าหมาย), สินค้าหรือบริการนี้จะช่วยแก้ปัญหาใดให้กับลูกค้า และอะไรคือจุดแข็งของแบรนด์ ในครั้งแรกของการสร้าง Branding อาจยังไม่ใช่ Indentity (เอกลักษณ์) ของแบรนด์ในท้ายที่สุด เนื่องจากการสร้างแบรนด์สามารถทดลองตลาด และดูประสิทธิภาพหรือผลตอบรับที่ได้ นำไปสู่การพัฒนาเพื่อให้แบรนด์แข็งแกร่งและเกิดเป็นการจดจำที่ดีขึ้น
2. วางกลยุทธ์ให้ชัดเจน
การออกรบโดยไม่ได้ศึกษาเส้นทาง, ศัตรู หรือไม่แม้แต่เตรียมอาวุธและกำลังคนให้พร้อม ก็เปรียบเหมือนการขายสินค้าโดยไม่ได้วางกลยุทธให้ธุรกิจเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจรายเล็ก อย่าง SMEs หรือผู้ประกอบการขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ย่อมวาง Stratergy (กลยุทธ์) ให้กับธุรกิจได้เสมอ โจทย์สำคัญในยุคนี้ ธุรกิจไหนที่ตั้งรับ ปรับตัวได้ไว ย่อมมีโอกาสได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ดังนั้นคุณจึงควรมีแผนธุรกิจที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการ ตั้งแต่การออกแบบหรือหยิบตัวสินค้าขึ้นมาขาย การส่งเสริมการขายหรือทำการตลาดในแง่ของออนไลน์-ออฟไลน์อย่างไรให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ ศึกษาจากคู่แข่งว่ามีจุดแข็ง-จุดด้อยอย่างไรเพื่อที่จะนำมาเป็น Case Study นำไปสู่การปรับปรุงและได้เป็นกลยุทธ์ของแบรนด์เราขึ้นมา สิ่งสำคัญอย่าลืมคำนึงถึง Customer Journey และ Customer Experiecne ว่าสิ่งที่แบรนด์ทำไปนั้นใช่หรือไม่ เพราะหากไม่มีกลยุทธ์ของตัวเองแล้ว วันหนึ่งแบรนด์ก็จะไม่มีจุดยืนที่แข็งแกร่งและเป้าหมายที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. การทำ Content Marketing
Content is a King สามารถหยิบยกวลีนี้ขึ้นมาได้เสมอ การทำ Content Marketing มีหลากหลายรูปและ แพลตฟอร์ม ไม่มีกฎตายตัวในการสร้างคอนเทนต์แบบฉบับของธุรกิจคุณเอง เพียงแค่ต้องมีความน่าดึงดูดใจถึงแม้จะเป็นธุรกิจ SMEs ก็ตาม เราจะเห็นได้จากในช่วงนี้ที่มีการใช้แพลตฟอร์มหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Website, Instagram รวมไปถึงการเล่นกับ Sense of Humor ของคนในช่วงนี้ค่อนข้างได้รับความสนใจ แบรนด์ของคุณสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับภาพลักษณ์ของธุรกิจได้ ก่อนจะเริ่มทำ Content ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต้องตอบให้ได้ก่อนว่าเรามีจุดประสงค์ (Objective) อย่างไรในการสื่อสาร เช่น Content ขายสินค้าชนิดหนึ่ง ต้องการให้ลูกค้าอ่านแล้วคลิกสั่งซื้อสินค้าทันที หรือต้องการ Educated (ให้ความรู้หรือให้ข้อมูล) กับกลุ่มเป้าหมาย Content นั้นก็ต้องได้คุณค่าหรือช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าของคุณด้วย รวมถึงความถี่ในการอัปเดท Content เพื่อให้แพลตฟอร์มต่าง ๆ ยังคง Active หรือมีความเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ และลูกค้ายังคงติดตามคุณ
4. Search engine optimization (SEO)
หากธุรกิจของคุณมีเว็บไซต์ที่ต้องการ Traffic จาก Users ที่อาจมีโอกาสเป็นลูกค้าของคุณ การทำ SEO ยังเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณมีโอกาสค้นหาเจอที่หน้าแรกของ Search Engine โดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณาเลย โดยอัลกอริทึ่มของเว็บไซต์จะคอยตรวจสอบคุณภาพบนเว็บไซต์ของคุณ หากมีการเลือกใช้คีย์เวิร์ดที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย บทความมีประโยชน์และไม่พยายามยัดเยียมคีย์เวิร์ดมากเกินไป รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น การโหลดของเว็บไซต์ หรือ User Experience (ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน) รวมถึง Responsive Website ที่สามารถรองรับการแสดงผลผ่านทุกอุปกรณ์ได้ทันที การทำ SEO เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดหน้าแรกของ Google ขอแนะนำว่าลองสร้าง Content แบบ Evergreen Content ที่มีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน เช่น How to หรือทริคที่น่าสนใจและใช้ได้ตลอดกาล เป็นต้น สำหรับมือใหม่ในการเริ่มต้นทำ SEO เราแนะนำการรีเสิร์ช keywords ใน Google Keywords Planner เพื่อดูความเป็นไปได้และอัตราการแข่งขัน เพื่อให้คีย์เวิร์ดที่ใช้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถนำไปต่อยอดเรื่องของการทำโฆษณาผ่าน Google Ads ที่เป็นการคิดเงินผ่านการคลิก (CPC) แต่รูปแบบนี้จะเหมาะกับธุรกิจที่อยากให้แบรนด์เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่นาน พร้อมมีค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับเพิ่มเติม
5. ใช้ Social Media ให้เป็นประโยชน์
เรื่องพื้นฐานในการทำการตลาดดิจิทัลที่เหมาะกับผู้เริ่มต้น สามารถเริ่มจากฟรีแพลตฟอร์มอย่าง Social Media ที่มีอยู่และตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของกลุ่มลูกค้าคุณ เช่น Facebook, LINE OA, Instagram หรืออื่น ๆ ซึ่งแพลตฟอร์มตรงนี้เองที่ช่วยให้สินค้าหรือบริการของคุณเข้าถึงลูกค้ามากขึ้นผ่านการโฆษณา เมื่อเลือกโซเชียลมีเดียที่จะได้แล้ว ขั้นตอนถัดไปเลือกวัตถุประสงค์หรือ Objective ในการทำโฆษณาที่ต้องตอบได้ว่าทำเพื่ออะไร แน่นอนว่า content ที่เลือกใช้อย่างรูปภาพ หรือ Video ไม่ได้หมายถึงว่าคุณจะโฆษณารูปแบบใดก็ได้ พฤติกรรมของผู้ใช้งานบนโซเชียลมีเดียของแต่ละแพลตฟอร์มยังแตกต่างกันด้วยเช่นกัน เช่น หากแบรนด์เลือกใช้ TikTok อาจเพราะเหมาสำหรับการเจาะกลุ่มเป้าหมายอายุไม่มาก และสื่อสารแบบคลิป video สั้น ๆ แต่ข้อมูลครบถ้วน หรือเลือกใช้ Facebook เมื่อต้องการสื่อสารข้อมูลและรายละเอียดที่มากขึ้น
6. Email Marketing สื่อสารสม่ำเสมอ
การทำ Email Marketing คือการสื่อสารการตลาดกับลูกค้าของคุณผ่านการส่งข้อความทาง Email วิธีนี้้ เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีฐานข้อมูลหรือ Data ของลูกค้าอยู่แล้ว มักใช้เทคนิคในช่วงที่แบรนด์มีโปรโมชันและทำการส่งอีเมลเพื่อกระตุ้นความสนใจ และเพิ่ม CTA ในอีเมล (call-to-Action) เพื่อพาไปยังหน้าไซต์ที่ต้องการ Content ในการทำอีเมลจึงมีความสำคัญทั้งในส่วนของภาพและเนื้อหา ควรสื่อสารให้ชัดเจน มีข้อความที่จับ ความสนใจของลูกค้าเมื่อคลิกเปิดอ่านทันที ความท้ายทายของวิธีการนี้คือ จะทำอย่างไรหากลูกค้าของคุณไม่ยอมคลิกเปิดอีเมล แนะนำว่าลองตั้งหัวข้ออีเมลที่น่าสนใจจนรู้สึกเสียดายที่จะเลื่อนผ่านข้อความนั้น เช่น การระบุว่าเป็นโปรโมชันพิเศษเฉพาะคุณ เป็นต้น
7. การวิเคราะห์ข้อมูล
หลังจากสื่อสาร ทำการตลาดกับกลุ่มเป้าหมายโดยใช้โซเชียลมีเดียที่ต้องการแล้ว ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลหลังจากทำการตลาด เพื่อช่วยให้นำมาปรับปรุงและต่อยอดธุรกิจของคุณให้ดีขึ้น ควรใช้ปัจจัยใดเป็นตัวกำหนดบ้าง ? เราขอแนะนำตัวชี้วัดพื้นฐานดังนี้
- Engagement & Reach อธิบายง่าย ๆ คือข้อมูลที่คนเข้าถึงโฆษณาของคุณและมีส่วนร่วมกับโพสต์นั้น ๆ เช่น Like, Comments หรือ Shares ข้อมูลตรงนี้สามารถนำมาต่อยอดเพื่อสร้าง Content ของคุณได้อีกด้วย
- Conversion Rate คืออัตราส่วนของคนที่เข้าชมเว็บไซต์ของคุณ เพื่อบอกว่าเว็บได้คุณภาพและมีคนสนใจสินค้าแบบใด มาจากช่องทางไหน สามารถนำมาวิเคราะห์ธุรกิจได้เลย
- ROI หรือ (Return of Investment) คือการวัดผลตอบแทนในการลงทุน แต่ละแบรนด์จะกำหนดวัตถุประสงค์อย่างไร เช่น เมื่อคุณทำโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดียแต่ละช่องทาง และต้องการ Lead รายชื่อ อาจคำนวณค่าใช้ง่ายในการทำโฆษณากับรายชื่อที่ได้มา ว่าเฉลี่ยต่อคนคิดเป็นราคาเท่าไหร่ เป็นต้น
ข้อมูลสำหรับการตลาดดิจิทัลในปี 2564 ยังมีรายละเอียดให้ทำความเข้าใจอีกมาก หากคุณกำลังเตรียมวางกลยุทธ์ธุรกิจไปทางออนไลน์แบบให้ประสบผลสำเร็จ คอร์ส Digital Marketing Foundations Course 2021 จาก Readyplanet จะช่วยให้คุณเข้าใจพื้นฐานการตลาดดิจิทัลมากขึ้น กับเนื้อหาอัปเดตล่าสุดในปี 2021สอนสดผ่าน Google Meet โดยผู้บริหารเรดดี้แพลนเน็ตที่เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัล วันพุธที่ 30 มิถุนายน 2564 นี้ รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Updated: 22 June 2021 | Produced by: Ploynaphat Wattanachodjirachai