วิเคราะห์โลกธุรกิจ ยุค COVID-19 พร้อมแนวทางรับมือ

การปรับตัวในยุค COVID-19 คืออะไรกันแน่ อะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ทำให้ธุรกิจรอดพ้นจากวิกฤตนี้ ถ้าจะพูดว่า COVID-19 ก็เหมือนพายุที่เข้ามาล้างกระดานในทุกภาคธุรกิจก็คงจะไม่รุนแรงเกินไป เพราะนี่คือวิกฤตที่เกิดกับทุกคนทั่วโลก การเดินทางระหว่างประเทศหยุดชะงัก และแนวโน้มจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมอาจต้องใช้เวลาอีกระยะนึง แต่หากเปลี่ยนมุมความคิดใหม่ว่า ไม่มีอะไรที่เหมือนเดิม ทุกวันคือการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ดีที่สุดคือการแก้ไขในทุกวัน นี่อาจจะเป็นสโลแกนของผู้ประกอบการในยุคนี้ที่ดีที่สุด 

 

แต่การปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย พูดได้ว่าไม่มีอะไรง่ายในธุรกิจยุค New Normal การเรียนรู้มากมายเหมือนการทำข้อสอบที่ไม่มีวันผ่าน คือรู้ เข้าใจ แต่การจะสอบผ่านไปมันเป็นเรื่องที่ยากเกินไป แล้ววิธีใดที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถปลอบประโลมธุรกิจตัวเองได้ในช่วงนี้บ้าง บทความนี้จะแนะนำกลยุทธ์การปรับตัวที่ควรรู้เบื้องต้น รวมถึงการรับมือกับปัญหาที่ยังคงเกิดขึ้นในอีกหลาย ๆ ปี

 

กลยุทธ์เบื้องต้นที่ควรเรียนรู้

รู้ก่อนชนะก่อน + สติเพื่อระวังภัย คือสิ่งที่ผู้ประกอบจะต้องคำนึงไวเสมอ เพราะการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่โรคระบาดยังคงอยู่นี้ ต้องใช้เวลาและช่วงชิงเวลา การวางแผนระยะยาวอาจจะเกินเอื้อมไป ลองวางแผนระยะสั้นแค่ไตรมาสเดียวก่อนแล้วค่อยคิดแผนไตรมาสต่อไป คือสิ่งที่จะช่วยผู้ประกอบการในระยะใกล้ได้ดีที่สุด โดยกลยุทธ์เบื้องต้นที่ควรเรียนรู้มีดังต่อไปนี้

 

 

  • การใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ : ถ้าได้ทำธุรกิจตั้งแต่ช่วงก่อน COVID-19 จะพบว่าเมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้น ธุรกิจแรก ๆ ที่ล้มคือธุรกิจที่ไม่มีช่องทางออนไลน์ เพราะใครจะไปคิดว่าว่าอยู่ดี ๆ ประเทศก็เหมือนเมืองร้าง ทุกคนต้องอยู่แต่ในบ้านออกไปไหนไม่ได้ เหมือนอยู่ในหนังโรคระบาดแต่นี่คือชีวิตจริง ฉะนั้นช่องทางเดียวที่จะสื่อสารกับลูกค้าได้คือช่องทางออนไลน์เท่านั้น ความต้องการที่จะสร้างเว็บไซต์ของแบรนด์จึงพุ่งกระฉูดเป็นอย่างมาก ซึ่งตอนนี้การสร้างเว็บไซต์ไม่ใช่เรื่องยากเหมือนสมัยก่อนแล้ว เพราะมี R-Web แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ เหมาะสำหรับผู้ประกอบการรายเล็กเป็นอย่างมาก เพราะราคาเบา เว็บสะอาดตา มีดีไซน์มากมายให้เลือกสรร กาสร้างเว็บจึงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อ ที่สำคัญแบรนด์ควรมีช่องทางออนไลน์เพื่อเป็นสื่อในการติดต่อลูกค้า ตั้งแต่ Website, Facebook Page, Instagram , Twitter หรือแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตอนนี้คือ Tiktok แต่ก่อนเราจะเห็นการไลฟ์ขายของ แต่ตอนนี้การอัดคลิปขายของบน Tiktok ก็ช่วยกระจายวงกว้างไปหาลูกค้าได้ดีไม่แพ้แพลตฟอร์มอื่นเช่นกัน แต่อาจจะต้องสำรวจด้วยว่ากลุ่มลูกค้าของเราอยู่บนโซเชียลมีเดียเหล่านี้หรือไม่

  

 

  • เก็บข้อมูลลูกค้าให้มากที่สุด : Data คือสิ่งที่สำคัญมากเพราะ เป็นการกรองว่าลูกค้ามีพฤติกรรมแบบใด ชอบสินค้าไหนของแบรนด์มากที่สุด เวลาที่อยากซื้อสินค้าของแบรนด์ มีความคิดต่อแบรนด์อย่างไร ชอบไม่ชอบ อยากแนะนำยังไง Data ที่เก็บจากแพลตฟอร์มออนไลน์ด้านบนบอกได้หมดทุกอย่าง และยังกรองอีกว่าใครคือลูกค้าคนสำคัญที่จ่ายเงินซื้อ การเก็บข้อมูลทั้งหมดนี้ช่วยทั้งประหยัดเวลา ประหยัดเงินทุน และยังทำให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำได้อีกด้วย

 

  

  • การขายผ่าน E-Commerce : ทำไมต้องมีช่องทาง E-Commerce ทั้งที่เรามีแพลตฟอร์มออนไลน์ของตัวเองแล้ว เนื่องจาก E-Commerce คือแหล่งที่รวมลูกค้าที่อยู่ในสภาวะกำลังจะซื้อ มีช่องการจ่ายเงินให้เสร็จสรรพ ฉะนั้นหากเห็นสินค้าแบรนด์เราสามารถกดสั่งซื้อได้เลย โดยไม่ต้องผ่านการรับรู้ กระตุ้นเพื่อให้อยากเหมือนเท่ากับแพลตฟอร์มอื่น ๆ รวมถึงพฤติกรรมชอบช้อปของออนไลน์บน Shopee, Lazada ของคนไทย การเข้าหาลูกค้าได้ใกล้ขนาดนี้ เป็นวิธีที่แบรนด์ควรใช้ และอีกวิธีที่สำคัญคือเปลี่ยนจากเว็บไซต์ธรรมดาเป็นเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ กดจ่ายเงินได้เองอย่างแพลตฟอร์ม R-Shop แพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ที่ทำได้ทั้ง สะสมแต้ม พูดคุยแชทกับลูกค้า สร้างโฆษณากระตุ้นการซื้อของลูกค้า ทุกอย่างจบในเว็บเดียว
 

สังเกตว่ากลยุทธ์เบื้องต้นที่ควรรู้จะเกี่ยวกับการขายออนไลน์ทั้งหมด เนื่องจากช่องทางออนไลน์เป็นพื้นที่สามารถเข้าหาลูกค้าได้โดยตรง ได้ทุกที่ทุกเวลา แถมไม่ต้องเสียค่าเช่าพื้นที่หรือค่าน้ำค่าไฟแบบตั้งแผงร้าน ซึ่งการขายออนไลน์ยุคนี้ง่ายแค่ปลายนิ้วมาก R-Shop แพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ที่มีเครื่องมือการตลาดแบบ All-in-One ต่อให้ไม่เคยสัมผัสโลกออนไลน์มาก่อน ก็สามารถเข้าใช้งานได้อย่างง่ายดาย สามารถขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมรับลูกค้าที่จะซื้อสินค้าได้ทุกเวลา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขาย ทำให้คุณมีโอกาสในการขายได้ทุกการตัดสินใจของลูกค้า

 

ช่วงแรก ๆ ที่เกิด COVID-19 มักได้ยินคำปลอบใจว่าเดี๋ยวก็ผ่านไป ปัญหาเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ผ่านมาแล้วปีกว่าสถานการณ์เหมือนจะไม่ได้ทุเลาลงเลย แต่กลับแพร่ระบาดไปทั่วโลก แถมที่ไทยเองยังมีการระบาดซ้ำไปมาอีกหลายระลอก ฉะนั้นการปลอบว่าเดี๋ยวก็ผ่านคงไม่ใช่แนวคิดที่ดี แต่การมองว่าจะทำยังไงให้แบรนด์อยู่ได้  จะขายสินค้ายังไงทั้งที่ไม่ได้เขอลูกค้าแบบต่อหน้า จะมีช่องทางออนไลน์ไหนที่ลูกค้ากลับมาหาเราเสมอ นี่ต่างหากคือคำตอบ หากวิเคราะห์ปัญหา COVID-19 จะพบกับอุปสรรคหลัก ๆ อยู่ 3 อย่างคือ 

 

  • ไม่เจอลูกค้าที่อยากซื้อสินค้า เมื่อไม่เจอลูกค้าแบบต่อหน้า ก็เจอลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ ตามวิธีที่แนะนำข้างต้น ที่สำคัญอีกอย่างคือ ต้องใส่ใจลูกค้าเสมอ เพราะยุคนี้ทุกอย่างมักเอารัดเอาเปรียบกัน การถูกใส่ใจจะช่วยให้ลูกค้าอยู่กับเราได้นานขึ้น และมีโอกาสกลับมาซื้อสินค้าซ้ำอีกครั้ง

 

  • ไม่มีต้นทุนสำหรับผลิตสินค้า ต้นทุนที่เกิดขึ้นแน่นอนคือ คน สถานที่ ต้นทุนสินค้า อาจจะพูดยาก แต่เมื่อต้องขยับให้เล็กลงแต่ผลเท่าเดิมหรือมากกว่าคือการทำให้คนที่อยู่มีประสิทธิภาพมากขึ้น วิธีต่าง ๆ ที่แนะนำด้านบนต้องรีบเรียนรู้ให้ครบ เพื่อขยับจากเริ่มเรียนรู้เป็น เข้าใจเครื่องมืออย่างดี ต่อยอดจากยอดน้อยไปยอดขายมากขึ้น ค่อย ๆ ขยับทีละสเตป สถานที่หลายแบรนด์ปิดทันทีและหันมาจำหน่ายที่บ้านและใช้ช่องทางขนส่งเดลิเวอรี่เป็นตัวเชื่อมกับลูกค้า ส่วนต้นทุน อะไรที่ยังไม่เก่ง ไม่รู้ว่าขายดีมากไหม ไม่ต้องผลิตเยอะ ต้องคิดแผนในแง่ ดีมาก กลาง แย่ที่สุด เพื่อให้ตกตะกอนทั้งวิธีเพิ่มยอดขายและจัดการกับสินค้าที่ขายไม่ออก

 

  • ไม่มีความรู้ในการสร้างแผนการตลาด แค่มีอินเตอร์เน็ตก็สามารถเปิดโลกธุรกิจได้ 100% เพราะที่นี่คือแหล่งเรียนรู้การตลาดออนไลน์ที่เยอะที่สุด หากเริ่มจากติดลบหรือศูนย์ไม่ต้องกังวลไป Readyplanet มีบริการการตลาดออนไลน์ฟรี ๆ ให้ทุกท่านได้เรียนรู้ เริ่มตั้งแต่ การเริ่มสร้างเว็บไซต์ การลงสินค้า การหาลูกค้า การพูดคุยกับลูกค้า เมื่อเข้าใจเบื้องต้นแล้ว จะได้ทราบว่าส่วนไหนที่ต้องต้องพัฒนาให้แบรนด์เติบโต 

 

การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด และการปรับตัวอย่างแรกของการทำธุรกิจในยุคนี้คือ Mindset เพราะหลังจากนี้ผู้ประกอบการต้องยืดหยุ่นได้ในทุก ๆ สถานการณ์ แพลตฟอร์มออนไลน์จึงตอบโจทย์มากที่สุด อย่างกรณีที่เกิดการล็อคดาวน์ แบรนด์อาหารส่วนใหญ่ ต้องขายผ่านเดลิเวอรี่เกือบ 100% เพราะต้องขนส่งอาหารผ่าน Line Man, Grab, Foodpanda หรือห้างสรรพสินค้าเองก็สร้าง E-Commerce เป็นของตัวเองอย่าง The Mall Grop ที่สร้าง Chat&Shop ให้การช้อปเป็นเรื่องง่าย หรืออย่างโครงการล่าสุดของรัฐบาล คนละครึ่ง ธุรกิจรายย่อยก็หันมาเข้าร่วมโครงการเพราะลูกค้าที่ได้สิทธิ์จะได้รับเงินสนับสนุนค่าใช้จ่าย 3,500 ทำให้เกิดภาพลวงตาทางการเงิน เกิดความรู้สึกว่ามีอำนาจในการจ่ายมากขึ้น จนลูกค้าอยู่ในจุดที่ใช้จ่ายง่ายกว่าเดิม แบรนด์ที่เข้าร่วมโครงการจึงได้รับการซื้อมากกว่าแบรนด์ที่ไม่เข้าร่วมโครงการ สังเกตว่าทุกอย่างต้องปรับตัวด้วยความเร็ว เพื่อแย่งชิงโอกาสที่มีอยู่อย่างจำกัด ธุรกิจของคุณเองก็ต้องเข้าสู่โหมดนี้เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้แม้กำไรจะลดลงหรือไม่เหลือ แต่เพื่อความอยู่รอด ต้องมีความหวังเสมอ 

 

จากที่ได้กล่าวข้อมูลข้างต้นสังเกตว่า การแก้วิกฤตของธุรกิจในยุค COVID-19 ควรใช้ Online Marketing ในการผลักดันธุรกิจให้เติบโต เพื่อรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด การใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงผู้บริโภคแม้อยู่ไกลกันจึงช่วยเพิ่มโอกาสการขายเป็นอย่างมาก Readyplanet จึงสร้าง Readyplanet Marketing Platform เข้ามาช่วยทำการตลาดออนไลน์เพื่อตอบสนองผู้บริโภคครบทุก Customer Journey ครอบคลุมทั้งการขาย การโฆษณา เว็บไซต์และลูกค้าสัมพันธ์ All-in-One ในแพลตฟอร์มเดียว ไม่ว่าผู้บริโภคจะมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนแค่ไหน เครื่องมือนี้สามารถเข้าถึงการตัดสินใจของผู้บริโภค ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจของคุณเติบโตตามเป้าหมายที่ตั้งใจ

 

Readyplanet Marketing Platform

แพลตฟอร์มการขายและการตลาดแบบ All-in-One ที่ครอบคลุมทั้งการโฆษณา เว็บไซต์ และระบบลูกค้าสัมพันธ์ 

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ฟรี

 

Updated: 23 February 2021 | Produced by: Dujnapa Chauthamcharoen