เตรียมจดทะเบียนบริษัทอย่างไร? แบบเข้าใจง่ายในไม่กี่ขั้นตอน
ยุคที่หลาย ๆ คนหันมาจับทางธุรกิจเริ่มเป็นผู้ประกอบการ เมื่อถึงจุดที่ธุรกิจเริ่มมั่นคงและเพิ่มรายได้ ธุรกิจควรมีการจดทะเบียนบริษัทให้ถูกต้องตามหลักการและเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจของเราเป็นรูปร่าง มีตัวตนขึ้นมาจริงนอกเหนือไปจากการทำเว็บไซต์ในช่องทางออนไลน์ การจดทะเบียนบริษัทช่วยให้การจัดการมีระบบมากขึ้น และยังทำให้บริษัทกลายเป็น นิติบุคคล ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือใหักับธุรกิจของคุณในระยะยาวได้ วันนี้ Readyplanet จะมาอธิบายวิธีการจดทะเบียนบริษัทแบบเข้าใจง่าย ให้ผู้ประกอบการยุคใหม่ได้ติดตามกัน
ประเภทการจดทะเบียนธุรกิจ มี 2 ประเภท ดังนี้
1. การจดทะเบียนบริษัท (สำหรับนิติบุคคล)
รูปแบบการจดทะเบียนเหมาะสำหรับนิติบุคคล การจัดทำในรูปแบบนี้จะทำให้แยกบุคคลที่เป็นหุ้นส่วนบริษัทกับผู้ก่อตั้งหรือเจ้าของกิจการ แยกออกจากกันอย่างชัดเจน คือจำกัดความรับผิดชอบต่อหนี้สินของบริษัทตามมูลค่าหุ้นของตัวเองที่ลงไป กล่าวคือหากบริษัทเกิดความเสียหาย ผู้ประกอบการที่มีสถานะถือหุ้นของบริษัทจะสูญเสียทรัพย์สินแค่ตามมูลค่าหุ้นเท่านั้น แต่จะไม่ล้มละลายตามไปด้วย นี่จึงถือเป็นหลักประกันที่ดีเลยทีเดียว (*ข้อมูลอ้างอิงจาก sme.ktb.co.th) เหมาะสำหรับธุรกิจที่เติบโตขึ้นมาระดับหนึ่ง หรือมีผู้ลงทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป โดยบริษัทจะต้องจัดทำบัญชี เสียภาษี ยื่นประกันสังคมให้พนักงาน เป็นต้น แม้ว่ารายละเอียดต่าง ๆ จะต้องมีการรับผิดชอบเพิ่มขึ้นแต่มีข้อดีคือ อัตราภาษีเงินได้ของนิติบุคคลจะไม่เกิน 20% ของรายได้หักค่าใช้จ่าย การจดทะเบียนนิติบุคคลมีขั้นตอน ดังนี้
1.1 จองชื่อบริษัท (เสนอชื่อเพื่อจอง)
สามารถจองด้วยตัวเองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตหรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่อาศัยอยู่
- จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเข้าไปที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า https://ereg.dbd.go.th/InterRsvWeb/memberpages/login.xhtml และสมัครสมาชิก จากนั้นเลือก “จองชื่อ/ตรวจคำขอทะเบียนนิติบุคคล”
ขั้นตอนนี้หากใครใช้บริการออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต แนะนำว่าลองค้นหาชื่อที่เราเตรียมเอาไว้ก่อนได้ ว่าซ้ำกันกับใครก่อนหน้านี้หรือไม่ ควรคิดเผื่อไว้สัก 2-3 ชื่อ คลิกเลือก “จองชื่อห้างหุ้นส่วน/บริษัทจำกัด ยื่นชื่อที่ต้องการและกดยืนยัน จากนั้นรอนายทะเบียนตรวจสอบ (ซึ่งจะทราบผลภายใน 30-60 นาที) สิ่งสำคัญคืออย่าลืมตรวจสอบความถูกต้องของชื่อที่จะใช้จดทะเบียนให้ดี ขั้นตอนนี้ต้องรอบคอบที่สุด และชื่อที่ผ่านการตรวจสอบและอนุญาตแล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนไม่เกิน 30 วันหลังจากนายทะเบียนรับรองแล้ว
1.2 เตรียมข้อมูลให้พร้อม
เตรียมข้อมูลสำหรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและการจัดตั้งบริษัทนั่นเอง ผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านอาจจะไม่คุ้นชินกับชื่อดังกล่าวนัก แต่ไม่มีอะไรยากเกินความเข้าใจแน่นอน อธิบายให้เข้าใจขึ้นคือ “หนังสือบริคณห์สนธิ” คือ ตราสารจัดตั้งนิติบุคคลชนิดหนึ่งที่กำหนดกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัท คล้ายเอกสารที่ระบุรายละเอียดและขอบเขตธุรกิจ เช่น วัตถุประสงค์ ข้อมูลผู้ถือหุ้น ข้อมูลผู้ก่อตั้ง หรือทุนจดทะเบียน เป็นต้น ซึ่งการจดทะเบียนบริษัทและจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิจะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่สามารถจดทะเบียนทั้งคู่ไปในคราวเดียวกันได้ โดยต้องเตรียมข้อมูลดังนี้
- ชื่อบริษัทต้องเป็นชื่อตามที่จองไว้ในขั้นตอนแรก
- ที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือสาขา หากผู้ประกอบการใช้ที่อยู่อาศัยเป็นสถานประกอบการ สามารถใช้เป็นสำนักงานหรือสาขาได้เลย แต่ถ้าไม่ใช่เจ้าของสถานที่ ต้องมีหนังสือยินยอมจัดตั้งเป็นสำนักงานพร้อมจดเลข 11 หลักบนสมุดทะเบียนบ้านและแผนภาพสถานที่ด้วย
- วัตถุประสงค์ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือศีลธรรม เขียนเป็นข้อให้ได้ใจความและครอบคลุมถึงรายละเอียดธุรกิจหรือบริการทั้งหมด โดยวัตถุประสงค์หลักที่ก่อให้เกิดรายได้จะมีไม่เกิน 2 ข้อ (วัตถุประสงค์อื่น ๆ มีหลายข้อได้)
- ทุนจดทะเบียนบริษัท หลาย ๆ ท่านอาจเกิดคำถามว่าควรจดทะเบียนบริษัทที่เท่าไหร่สำหรับธุรกิจที่พึ่งเริ่มต้นก่อร่างสร้างตัวและกำลังขยับขยาย หากต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท ควรมีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 1 แสน ไปจนถึงที่ 1 ล้านบาท (แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของธุรกิจ) ซึ่งเงินทุนจดทะเบียนบริษัทจะเป็นสิ่งที่แสดงงบประมาณที่ใช้ทำธุรกิจ และบอกความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทนั่นเอง
- ผู้ก่อการไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายหรือผู้ก่อการรัก ผู้ก่อการในที่นี้คือผู้ก่อตั้งบริษัทหรือธุรกิจนั่นเอง โดยการจดทะเบียนบริษัทจะต้องมีผู้ก่อการ 3 คนขึ้นไป
- ผู้ถือหุ้น จะต้องระบุ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน โดยผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจก็ได้
- พยาน ในการจดทะเบียนบริษัท จะต้องมีพยาน 2 คน และต้องมีข้อมูลคือ ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ ของพยานด้วย
- ผู้สอบบัญชี ใช้เป็นชื่อ นามกสุล เลขที่สอบบัญชี ซึ่งในตอนท้ายจะมีให้ใส่ว่าจ้างทำบัญชีเป็นเงินเท่าไหร่ด้วย
- อำนาจกรรมการ ระบุว่าต้องมีคนเซ้นทั้งหมดกี่คน ต้องมีตราประทับหรือไม่ เอกสารจึงใช้งานได้
1.3 ขอจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท
หลังจากเตรียมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับจดทะเบียนแล้ว จึงไปกรอกข้อมูลจดทะเบียนออนไลน์ได้ที่ ระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ https://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmemberpages/login.xhtml และต้องยืนยันตัวตนให้เรียบร้อย ซึ่งการยืนยันต้องพิมพ์ใบสมัครยื่นต่อนายทะเบียนพร้อมบัตรประชาชน (ตัวจริง) ที่ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-6 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด โดยแสดงตัว ยื่นเอกสารภาพถ่ายภาพและเปิดใช้งานรหัสที่ได้รับภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่อนุมัติ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่เตรียมไว้ไปกรอกในระบบได้เลย อาจจะมีหลากหลายรายละเอียดแต่ลองทำกันได้ไม่ยากจนเกินไปแน่นอน
หลังจากจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทเพื่อสร้างตัวตนและสร้างความน่าเชื่อถืออย่างเป็นทางการ อย่าลืมเพิ่มโอกาสทางออนไลน์อย่างการทำเว็บไซต์ ที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถืออีกช่องทาง เราขอแนะนำ R-Web แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ จาก Readyplanet ที่มาพร้อมเครื่องมือการตลาดแบบ All-in-One ช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสธุรกิจเจอตั้งแต่การเสิร์ชหน้าแรกของ Google รวมถึงฟังก์ชั่นการใช้งานเองก็ง่ายไม่แพ้กัน สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการ ดีไซน์และเพิ่มเติมสินค้าให้เหมาะสมกับธุรกิจ พร้อมรองรับรูปแบบ Responsive Website ไม่ว่าใช้งานผ่านอุปกรณ์อะไร ลูกค้าของคุณก็สามารถกดสั่งซื้อสินค้าหรือเลือกบริการได้ทันที
2. การจดทะเบียนพาณิชย์
การจดทะเบียนพาณิชย์หรือการจดทะเบียนบริษัทสำหรับบุคคลธรรมดานั่นเอง รูปแบบที่ควรจดแบบนี้ เช่น บุคคลธรรมดา ที่ค้าขายออนไลน์ หรือเป็นตัวแทนจำหน่ายผ่านเว็บไซต์และระบบร้านค้าออนไลน์ รวมถึงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ รวมถึงบุคคลธรรมดาที่มีทำธุรกิจหรือบริการและมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง การจดทะเบียนพาณิชย์จึงเหมาะกับธุรกิจ SME หรือธุรกิจขนาดเล็กที่มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ขายสินค้าหรือเน้นบริการที่ไม่ซับซ้อน ข้อดีของการจดรูปแบบนี้คือผู้ประกอบการจะไม่ต้องแบกภาระในการทำบัญชีและดำเนินธุรกิจได้แบบอิสระ ทั้งนี้การจดทะเบียนพาณิชย์อาจจะเครดีดีไม่เท่ากับแบบการจดทะเบียนแบบบริษัท เนื่องจากรูปแบบบริษัทจะต้องมีการจัดทำบัญชีหรืองบการเงินอย่างชัดเจน และอาจส่งผลในการขยายกิจการในอนาคต เช่น การขอกู้เงิน เป็นต้น
การจดทะเบียนพาณิชย์ก็สะดวกเช่นกัน เพราะสามารถยื่นจดทะเบียนผ่านออนไลน์ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาอีกด้วย หลังจากนั้นค่อยเดินทางไปยังพื้นที่เพื่อจดทะเบียนบริษัท
- เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เดินทางไปได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชย์ มีสำนักงานใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร
- ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชย์ ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น หรือในพื้นที่ต่างจังหวัด เดินทางไปได้ที่ สำนักงานแห่งใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิกาค สามารถยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนั้นๆ ยกเว้น จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี หรือสามารถขอจดทะเบียนแบบออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th
การจดทะเบียนด้วยตัวเองทำได้ง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ต้องเดินทางให้ยุ่งยากคล้าย ๆ กับการขอจดทะเบียนบริษัท มีขั้นตอนดังนี้
2.1 เสนอชื่อบริษัทเพื่อจองชื่อ (ทราบผลภายใน 1 ชั่วโมง)
2.2 เตรียมข้อมูลหรือเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อมเพื่อจดทะเบียนนิติบุคคลออนไลน์
2.3 รอนายทะเบียนตรวจสอบ หากมีข้อมูลที่ต้องแก้ไข นายทะเบียนจะแจ้งอีกครั้ง (ประมาณ 1-3 วัน)
2.4 พิมพ์แบบฟอร์มที่ผ่านการตรวจสอบ ให้บุคคลที่ระบุในแต่ละหน้าเซ็นและเตรียมเอกสารอื่นเพิ่มเติม
2.5 นำไปจดทะเบียนที่สำนักพัฒนาธุรกิจการค้าเขตใกล้บ้าน
อย่าลืมเตรียมค่าดำเนินการระหว่างดำเนินเรื่องการขอจดทะเบียนบริษัทไปเพื่อชำระด้วยนะ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ขายสินค้าหรือมีบริการเล็ก ๆ ของตัวเอง หลังจากยื่นจดทะเบียนพาณิชย์และอนุมัติพร้อมชำระค่าธรรมเนียม ก็ได้เป็นเจ้าของธรุกิจครบขั้นตอน และสำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ยังลังเลใจว่าควรจดทะเบียนบริษัทแบบใดดี ลองชั่งน้ำหนักในระยะยาวว่าธุรกิจเรารูปแบบใดและจะมีการบริหารจัดการงบการเงินหรือเสียภาษีแบบไหนจะครอบคลุมที่สุด จากนั้นก็เดินหน้ากันได้เลย
หลังจากมีธุรกิจพร้อมทำการตลาด เราก็เริ่ม Go online กันอีกทางเพื่อให้ตามทันผู้บริโภคในยุคนี้กัน ด้วย R-Shop แพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ที่จะเป็นหน้าร้านของคุณให้กลายเป็นสินค้าพร้อมจำหน่ายตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมเชื่อมต่อกับระบบต่าง ๆ ของ Redayplanet ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Order management, ระบบ R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย ที่มีการจัดการฐานข้อมูลลูกค้าหลังบ้านและนำไปพัฒนาต่อยอดทำ Sales Promotion ได้อีกด้วย R-Shop ยังใช้งานง่าย แบ่งหมวดหมู่สินค้าได้ตามต้องการ, กำหนดสต็อคสินค้าได้แบบรายชิ้น พร้อมรองรับการชำระเงินหลากหลายรูปแบบ หากยังลังเลยใจ เรามีให้ทดลองใช้ฟรีเพื่อประกอบการตัดสินใจ
Readyplanet Marketing Platform
แพลตฟอร์มการขายและการตลาดแบบ All-in-One ที่ครอบคลุมทั้งการโฆษณา เว็บไซต์ และระบบลูกค้าสัมพันธ์
ลงทะเบียนและเริ่มใช้ฟรี
Updated: 09 December 2020 | Produced by: Dujnapa Chauthamcharoen