4 เรื่อง ที่ผู้ประกอบการมักทำผิด เกี่ยวกับการมีเว็บไซต์


จากสถิติการใช้งานอินเทอร์เน็ตของ ETDA พบว่า ในปี 2558 ที่ผ่านมา คนไทยมากกว่า 50% หันมาใช้งานโทรศัพท์มือถือในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ ใช้เวลาในการเสิร์ช เข้าถึงโซเชียลมีเดีย และทำกิจกรรมอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยถึง 5.7 ชั่วโมงต่อวัน 

ด้วยทิศทางของการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ทำให้แบรนด์ต่างๆ มีการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อให้เว็บไซต์สามารถแสดงผลได้ดีมากขึ้นบนมือถือ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการใช้งานของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาเว็บไซต์ ในรูปแบบ Responsive Design จึงเกิดขึ้น

 


แนวคิดการออกแบบที่เรียกว่า One Size Fit All ที่ออกแบบเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้ได้กับทุกขนาดของหน้าจอ โดยเว็บไซต์จะสามารถปรับขนาดให้เหมาะสม ตามขนาดของหน้าจอโดยอัตโนมัติ และนอกจากการแสดงผลที่ดี ซึ่งส่งผลต่อความสวยงาม และความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ของกลุ่มเป้าหมายบนมือถือแล้ว

การที่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์เลือกใช้เว็บไซต์ในรูปแบบ Responsive Design ยังช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับที่ดีขึ้นบน Google (SEO) และช่วยให้คะแนนคุณภาพของเว็บไซต์สูงขึ้น จากความตั้งใจของ Google ที่ต้องการประสบการณ์ในการใช้งานที่ดีแก่ผู้ใช้ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคบนโลกออนไลน์ในปัจจุบัน ที่หันมาใช้มือถือในการค้นหาข้อมูลบนเว็บไซต์กันมากขึ้น

แต่ถึงแม้ว่าหลายต่อหลายแบรนด์ จะหันมาให้ความสำคัญกับการแสดงผลเว็บไซต์ได้ดีบนมือถือกันมากขึ้น แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการบางท่าน ที่มองข้ามความสำคัญของการใส่ข้อมูลบนเว็บไซต์ ให้พอเหมาะกับหน้าจอโทรศัพท์มือถือบางข้อไป ยกตัวอย่างเช่น

 


1.เลือกใช้ข้อความบนภาพแบนเนอร์ที่มีขนาดเล็กเกินไป

เมื่ออยู่บนหน้าจอขนาดเพียง 4-5 นิ้ว แม้ว่าข้อความบนภาพแบนเนอร์ของคุณจะกินใจ หรือตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายแค่ไหน แต่หากข้อความเหล่านั้นมีมากเกินไป เมื่ออยู่ในพื้นที่จำกัดอาจทำให้ตัวหนังสือเล็กลงจนอ่านยาก ทางที่ดีคุณควรดึงดูดกลุ่มเป้าหมายด้วยภาพที่สวยงามเป็นหลัก และเลือกข้อความพาดหัวแบนเนอร์ที่กินใจเพียงประโยคเดียว จากนั้นใส่เบอร์โทรเพื่อการติดต่อกลับ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายบนมือถือได้แล้วครับ

 


2. กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถคลิกที่ภาพเพื่อเข้าไปยังเว็บไซต์ได้

หากคุณทำให้กลุ่มเป้าหมายหยุด เพื่อสนใจภาพแบนเนอร์ของคุณในข้อแรกได้แล้ว สิ่งต่อไปที่คุณควรทำก็คือ การสร้างแลนดิ้งเพจ เพื่อบอกข้อมูลเพิ่มเติมแก่กลุ่มเป้าหมาย และขั้นตอนที่ง่ายที่สุดแก่การเข้าถึงก็คือ การที่พวกเขาคลิกภาพ แล้วมันก็พาพวกเขาไปหาข้อมูลที่สนใจในทันที โดยไม่ต้องกรอก URL หรือเสิร์ชเพิ่มเติม ให้เป็นการเสียเวลา ซึ่งอาจไปกระทบต่อประสบการณ์การใช้งานของกลุ่มเป้าหมายก็เป็นได้

 



3. ไม่มีลิงก์เบอร์โทรศัพท์เพื่อกดโทรออกได้ทันที

ยิ่งผู้บริโภคเสียเวลาไปกับการหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อน้อยเท่าใด โอกาสที่พวกเขาจะมาเป็นลูกค้าของคุณก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น เมื่อลูกค้าพบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของคุณบนมือถือ และเกิดความสนใจ พวกเขาย่อมมองหาช่องทางที่จะติดต่อเข้ามาเพื่อสอบถาม และหากคุณมีการใส่ลิงก์เบอร์โทรศัพท์เอาไว้บนเว็บไซต์ในจุดที่มองเห็นง่าย จากนั้นคุณก็เตรียมพนักงานรับโทรศัพท์เพื่อปิดการขาย เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถดึงกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าได้ง่ายขึ้นแล้วครับ

 

 

4.ไม่มี Call To Action บนหน้าเว็บไซต์

ถึงแม้ว่าคุณจะมีการแนบลิงก์เบอร์โทรศัพท์ หรือลิงค์เพื่อไปยังแลนดิ้งเพจบนภาพแบนเนอร์แล้ว แต่คุณอาจไม่ได้ชักจูงกลุ่มเป้าหมายให้คลิกด้วย Call to Action ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายทราบว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป หากสนใจในสินค้าหรือบริการ เช่น จองวันนี้!, ดูเพิ่มเติม, ลงทะเบียนที่นี่ เป็นต้น ซึ่งข้อความเหล่านี้คือตัวช่วยที่ดีที่จะนำให้กลุ่มเป้าหมายทำตามความต้องการของแบรนด์ได้มากขึ้นครับ

 


วิธีการง่าย ๆ ที่คุณจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป คือ ก่อนที่คุณจะทำการโปรโมทเว็บไซต์ไม่ว่าจะในช่องทางใดก็ตาม คุณเพียงแค่ทดลองเปิดเว็บไซต์หน้านั้นๆ ดูผ่านโทรศัพท์มือถือของคุณก่อน หากมีข้อความ หรือลิงก์สำคัญที่กระตุ้นให้เกิดยอดขายใดที่มองเห็นยาก หรือคลิกลำบาก ลองปรับแก้ไข ก่อนนำออกไปทำโฆษณา หรือโปรโมทลงบนช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ที่คุณมีค่ะ

 

August 23, 2016
Watsanan Saikam
www.ReadyPlanet.com

สนใจรับฟังข้อมูลบริการ

เว็บไซต์สำเร็จรูป, Online Advertising, Training course