ผู้ประกอบการควรทำอย่างไร? เมื่อผู้บริโภคยอมจ่าย เพื่อไม่ให้เห็นโฆษณา

หลังจากที่ Apple เปิดตัว iOS9 ในเดือนกันยายน ปี 2015 ก็ได้กำเนิดคุณสมบัติพิเศษที่เรียกได้ว่าสั่นสะเทือนวงการโฆษณาออนไลน์ ซึ่งก็คือ การตั้งค่าเปิดรับโฆษณา หรือที่เรียกกันว่า Ad blocker นั่นเองค่ะ และถึงแม้ว่าคุณสมบัตินี้จะไม่ได้รับการพูดถึงมากนักในกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป แต่สำหรับแวดวงคนที่ทำงานในวงการ Digital Marketing แล้วล่ะก็ นี่อาจเรียกได้ว่าเป็นฝันร้ายที่มาทำลายการโฆษณาทางโทรศัพท์มือถือ (Mobile Advertising) เลยทีเดียวค่ะ

ข้อมูลจาก The Guardian ระบุว่า มีประชากรกว่า 150 – 200 ล้านคน ใช้โปรแกรม Ad blockers บนคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก และแล็ปท็อป ซึ่งถือว่ามีอัตราการใช้งานที่เติบโตขึ้นถึง 41% เลยทีเดียว และนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่งบโฆษณาจากแบรนด์ และเอเจนซี่ต่างๆ เปลี่ยนจากคอมพิวเตอร์ไปอยู่บนสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้สมาร์ทโฟนยังไม่มีซอฟแวร์ที่สามารถบล็อกโฆษณาได้ อีกทั้ง ในปัจจุบันคนใช้งานสมาร์ทโฟนมากกว่าคอมพิวเตอร์ ทำให้การหันมาทุ่มงบโฆษณาไปกับการทำโฆษณาบนสมาร์ทโฟน จึงดูจะเป็นเรื่องที่คุ้มค่ามากกว่าสำหรับผู้ประกอบการค่ะ


ดังนั้น Ad blocker บนสมาร์ทโฟน จึงได้รับการกระแสตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค ซึ่งมีความต้องการจะหลีกหนีจากโฆษณาของแบรนด์ต่างๆ ที่ตบเท้ากันเข้ามาทำโฆษณาบนโลกออนไลน์ จนผู้บริโภคบางคนมองว่าออกจะมากเกินไปสักหน่อย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ซอฟแวร์ตัวนี้จะสร้างกระแสตอบรับในแง่ใดต่อผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ที่ต้องการให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ของตน ผ่านการทำโฆษณาออนไลน์


ขณะที่ในวงการดิจิทัลมีเครื่องมือที่โฆษณาสามารถตรวจสอบพฤติกรรม และติดตามผู้ใช้ไปได้แทบทุกที่บนโลกดิจิทัล ตั้งแต่หน้าจอทีวี (สมาร์ททีวี) หน้าจอคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงหน้าจอสมาร์ทโฟน จึงได้มีการคาดการณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ผู้บริโภคอาจเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อความเป็นส่วนตัว ซึ่งเรื่องนี้เริ่มมีการถกเถียงกันในสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรแล้ว

และนั่นหมายความว่า ปี 2016 อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้บริโภคต้องยอมจ่ายเงินค่าสมาชิกรายเดือน เพื่อบริโภคคอนเทนต์ที่ต้องการ แลกกับการไม่ต้องมีโฆษณามากวนใจก็ได้ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น Youtube Red ที่ได้หันมาใช้ระบบสมาชิกที่ผู้ใช้งานจะต้องจ่ายเงินเพื่อใช้บริการ YouTube โดย1ในสิ่งที่สมาชิกจะได้รับก็คือ การไม่ต้องดูโฆษณาบน Yotube อีกต่อไป โดยค่าใช้จ่ายจากการเป็นสมาชิกอยู่ที่ 9.99 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 360 บาท

 

ใช่ว่า Google จะยอมกันได้ง่ายๆ 

แม้ว่าแนวโน้มจะออกมาเป็นดังสถิติข้างต้น แต่ผู้ประกอบการที่กำลังทำ หรือกำลังจะตัดสินใจทำโฆษณาออนไลน์ก็อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะยังมีสื่อออนไลน์ยักษ์ใหญ่ที่พยายามหาวิธีแก้เผ็ดกับ Ad blocker อยู่เช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งผู้ที่เดือดร้อนที่สุดจากการติดตั้ง Ad blocker ก็คงหนีไม่พ้น Google เพราะว่ากูเกิลเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มโฆษณาที่ใหญ่ที่สุดของโลก Goldman Sachs สถาบันทางการเงินประเมินว่ากูเกิล 75% ของรายได้ Mobile Search มาจากโฆษณาที่ถูกเห็นบน iOS ดังนั้นจึงส่งผลกระทบกับกระเป๋าเงินใบใหญ่ของกูเกิลเลยทีเดียว


และนี่จึงเป็นที่มาของการโต้กลับของกูเกิล โดยเริ่มจากในอดีตกูเกิลไม่อนญาตให้มีแอพจำพวก Adblock ใน Google Play ด้วยซ้ำ ก่อนที่ในระยะหลังจะผ่อนปรนมากขึ้น แต่ต่อมาช่วงต้นเดือนกันยายนนี่เอง มีผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในต่างประเทศทวีตข้อความว่า เมื่อพวกเขาเปิดฟังก์ชัน Adblock ที่มีอยู่แล้วในเบราวเซอร์ Chrome กลับกลายเป็นว่าเมื่อรับชมยูทูบพวกเขากลับกดปุ่ม Skip Ad ไม่ได้ ต้องดูโฆษณาจนจบอย่างเดียวเลย อย่างไรก็ตาม ไม่มีการแถลงข่าวเพื่ออธิบายเรื่องนี้อย่างเป็นทางการจากยูทูบแต่อย่างใด คาดว่าน่าจะเป็นการหยั่งเชิงเพื่อวัดฟีดแบ็กในเบื้องต้น หรือทดลองอะไรบางอย่าง แต่นี่ก็สะท้อนให้เห็นแล้วว่ากูเกิลไม่ยอมอยู่เฉยและกำลังหาวิธีเอาชนะ Ad blocker ให้ได้

 

Tips สำหรับผู้ประกอบการ :

สถานี Fox ใช้แนวทางสร้างสรรค์ ทำโฆษณาที่ดึงดูดใจผู้ชม ในเคสของรายการ "MasterChef Junior" ซึ่งได้รับสปอนเซอร์จาก California Milk Advisory Board เขาใช้วิธีทำโฆษณาความยาว 60 วินาที ซึ่งวิดีโอนั้นทำให้ผู้ชมรู้สึกมีส่วนร่วมไปกับโฆษณาได้ก่อนที่จะชมรายการ เป็นทางแก้ปัญหา ซึ่งนี่อาจจะเป็นรูปแบบที่ทำให้โฆษณาสามารถสู้กับ Ad blocker ได้ก็เป็นได้ค่ะ


และอีก 1 วิธีที่น่าสนใจมากไม่แพ้กัน ที่สำคัญยังตอบโจทย์กับดิจิทัลเทรนด์ในปี 2016 นั่นก็คือ การเลือกใช้โมบายล์แอพ ในการโฆษณาแทนโฆษณาบนโมบายล์เว็บแบบทั่วๆไปค่ะ ซึ่ง Sir Martin Sorrell, CEO ของ WPP คนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สุดของวงการโฆษณา เขาใช้วิธีการโฆษณาแบบใหม่ โดยให้ WPP ไปเป็น Partner กับ Snapchat แอพแชทที่กำลังโด่งดังและเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ เพื่อให้บริษัทของเขาสามารถลงโฆษณาบนโลกออนไลน์ได้โดยไม่ถูกบล็อก เนื่องจากโมบายล์แอพยังไม่มีซอฟแวร์ตัวใดสามารถบล็อกโฆษณาได้! ซึ่งเขากล่าวในบทสัมภาษณ์ของ BusinessInsider ในเรื่องนี้เอาไว้ในงาน Cannes Lions 2015 ไว้ว่า

"ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มาจากความจริงที่ว่าผู้คนชอบเสพของฟรี ดังนั้นเราอาจจะต้องคิดวิธีที่แตกต่างเพื่อเข้าหาพวกเขา และนี่คือเหตุผลที่ทำไมเราถึงเป็นพาร์ทเนอร์กับ Snapchat ก็เพื่อแตกต่างจากคนอื่นๆ นอกจากนี้การที่เราคว้ารางวัลที่คานส์มาได้อย่างต่อเนื่อง ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเรามีความสามารถในการทำให้ความคิดสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลสำเร็จ"

 

ซึ่งในตอนนี้ คุณไม่ต้องเป็นบริษัทใหญ่อย่าง WPP ก็สามารถทำโฆษณาบนโมบายล์แอพได้ และที่มากกว่านั้น คือคุณเองก็สามารถเป็นเจ้าของโมบายล์แอพของตนเองได้ ด้วยการใช้บริการ "Shappy โมบายล์แอพพร้อมใช้ เพื่อทุกธุรกิจ" จาก ReadyPlanet ผู้ให้บริการโมบายล์แอพพร้อมใช้ รายแรกในไทย ซึ่งหากผู้ประกอบการท่านใด มีความสนใจในบริการโมบายล์แอพ Shappy

 

สามารถขอรับคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ ReadyPlanet โดยตรงได้ที่ 02-016-6877 หรือ คลิกที่นี่ เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

 

 

ที่มา :

http://www.positioningmag.com/content/61495
http://www.theguardian.com/technology/2016/jan/03/web-advertisers-blocking-digital-monitoring-ethan-zuckerman
http://www.marketingoops.com/news/online/adblocker-advertising-2016/
http://www.businessinsider.com/sir-martin-sorrell-jon-steinberg- dana-anderson-on-ad-blocking-2015-6

 

January 05, 2016
Watsanan Saikam
www.ReadyPlanet.com

สนใจรับฟังข้อมูลบริการ

เว็บไซต์สำเร็จรูป, Online Advertising, Training course