4 ปัญหาการพัฒนาแอพ... ทางออกของผู้ประกอบการไทย

จากผลวิจัยของ Mobile Apps Report ที่สำรวจผู้บริโภคในสหรัฐฯ ระบุว่า นับจากปี 2013 สัดส่วนการใช้งานสื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้นเกือบ 50% ขณะเดียวกัน สัดส่วนการใช้งานแอพ (Application)  ก็เพิ่มขึ้นกว่า 90 % ด้วย ทำให้ทุกวันนี้ การใช้แอป กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนอเมริกัน รวมถึงคนไทยด้วย

เมื่อดูจากผลวิจัยของ สมาคมโฆษณาดิจิทัล จะพบว่า คนไทยใช้งานสมาร์ทโฟนถึง 48.2 ล้านคน และใช้เวลากับหน้าจอสมาร์ทโฟนราว 5.7 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่า คนไทยก็ต้องใช้โมบายล์แอพ หรือแอพที่อยู่บนสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นด้วย ในด้านการบริโภค เมื่อดูจากรายงานของบริษัท IDC ที่จัดทำขึ้นในปี 2015 พบว่า ผู้ใช้แอพกว่า 25% ใช้โมบายล์แอพ ในการจับจ่าย เลือกซื้อสินค้าที่ตนสนใจ

ด้านหน่วยงานอย่าง SIPA และ TDRI ก็มองว่า การผลิตแอพ จะกลายเป็นเทรนด์ที่คนให้ความสนใจมากขึ้น และมีมูลค่าตลาดเพิ่มขึ้น จากเทรนด์ทั้งหมดนี้ คงพอสรุปได้ว่า เรากำลังเข้าสู่ App Economy ยุคที่ผู้บริโภคหันมาใช้แอพเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต และยังเป็นยุคที่ผู้ประกอบการ ต่างก็ต้องการให้ธุรกิจมีแอพเป็นของตนเอง เพื่อสื่อสาร และรักษาความสัมพันธ์กับผู้บริโภคที่เป็นลูกค้าของธุรกิจ

 

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการพัฒนาแอพ ยังไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้ที่อยากมีแอพเป็นของตนเองได้ทั้งหมด เนื่องจากปัญหาหลัก 4 ประการ ได้แก่

 

1. ขาดแคลนผู้พัฒนาแอพ

เป็นความจริงที่ว่า ใครๆต่างก็สนใจแอพในลักษณะที่ตนเป็นผู้ใช้งาน หรือผู้สื่อสารเท่านั้น ไม่ใช่ผู้สร้าง หรือผู้ผลิตแอพของตนเอง ขณะเดียวกัน ก็ยากที่จะมีผู้เรียน หรือผู้สอนในด้านนี้โดยตรง ทำให้ความรู้เรื่องการพัฒนาแอพ เป็นความสนใจเฉพาะของแต่ละบุคคล ที่จะต้องศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และเมื่อเข้าสู่ยุคที่ตลาดต้องการแอพอย่างในขณะนี้ บุคคลากรที่มีความสามารถพัฒนาแอพจึงไม่เพียงพอกับความต้องการแอพในตลาด

 

2. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง

เมื่อขาดแคลนผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น จึงทำให้นักพัฒนา หรือบริษัทที่มีบุคลากรที่สามารถรับพัฒนาแอพได้ ต้องเรียกค่าแรงที่สูง เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมาก การจ้างพัฒนาแอพแต่ละครั้งจึงมีค่าใช้จ่ายมาก ยิ่งเป็นแอพแบบคุณภาพ ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูง (ถึงราว 1.3 ล้าน – 6 ล้าน บาท) ฉะนั้น การที่ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) จะสร้างแอพพลิเคชั่นให้กับธุรกิจ จึงถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก

 

 

 

3. ใช้เวลาในการพัฒนานาน

นอกจากค่าใช้จ่ายที่สูงแล้ว ระยะเวลาในการพัฒนาแอพก็ยาวนาน ยิ่งเป็นแอพที่มีฟังก์ชั่นซับซ้อน ก็ยิ่งใช้ระยะเวลาพัฒนานานหลายเดือน จนถึงเป็นปี ทำให้ช่วงเวลาที่ธุรกิจจะได้นำแอพไปใช้ เพื่อให้เกิดผลกับเงินจำนวนมากที่เสียไป ก็ยิ่งล่าช้าออกไปด้วย ซึ่งสำหรับคนทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อาจจะรู้สึกไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป เพราะศักยภาพในการสร้างรายได้ก็หายไปด้วย

 

 

4. ต้องดูแล และพัฒนาต่อเนื่อง

การพัฒนาแอพ ไม่ใช่การซื้อสินค้าที่จบภายในครั้งเดียว ถึงแม้ว่าธุรกิจจะพัฒนาแอพจนพร้อมนำไปใช้ แต่หลังจากนั้น ก็ต้องดูแลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แอพนั้นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อยู่เสมอ ดังนั้นผู้ประกอบการ จึงต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง ที่เรียกว่า ค่าบำรุงรักษา (maintainance fees) ซึ่งก็ยิ่งทำให้การพัฒนาแอพ มีต้นทุนที่สูงกว่าที่คาดไว้แต่ครั้งแรก อีกทั้งธุรกิจอาจจะต้องเพิ่มบุคลากร หรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งหาตัวได้ยาก และมีค่าแรงที่สูง มาไว้ในองค์กร เพื่อดูแลด้านการบำรุงรักษาอีกด้วย

 

 

 

แต่กระนั้น ก็ใช่ว่าจะไม่มีทางออกสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการมีแอพพลิเคชันเป็นของตนเอง เพราะในปัจจุบัน ReadyPlanet เราได้พัฒนาโมบายล์แอพ(Mobile App) พร้อมใช้ ที่มีชื่อว่า Shappy ที่จะทำให้ผู้ประกอบการมีแอพเป็นของตนเองได้ ในราคาที่ไม่สูง หากเทียบกับการจ้างบุคลากรมาพัฒนา หรือดูแลรักษาแอพพลิเคชันด้วยตนเอง

ที่สำคัญ ยังมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครบครัน เพื่อช่วยในการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าของธุรกิจ เช่น ฟังก์ชั่น Points ระบบสะสมแต้ม แลกรับของรางวัล เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อซ้ำ ฟังก์ชั่น Flash Sale จัดทำโปรโมชั่นด่วน เพื่อสร้างยอดขายแบบมีกำหนดเวลา และฟังก์ชั่น News ส่งข่าวสารโปรโมชั่นแบบบรอดแคสต์ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าโดยตรง

โดยทาง ReadyPlanet ได้มีการอัพเดท และพัฒนา Shappy ให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับจากนี้ไป การมีโมบายล์แอพจะไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นโอกาสที่ผู้ประกอบการควรมองหาและคว้าไว้ เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์และความต้องการของตลาดที่จะตามมาในอนาคตอีกมาก และหากผู้ประกอบการท่านใดสนใจรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โมบายล์แอพ Shappy 

 

 

สามารถ คลิกที่นี่ ได้เลยครับ

 

 

อ้างอิง: ข้อมูลบางส่วน จากคุณทรงยศ คันธมานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด บรรยายในงานแถลงข่าวเปิดตัว Shappy โมบายล์แอพพร้อมใช้ เพื่อธุรกิจ ในวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องอบรม บริษัท เรดดี้แพลนเน็ต จำกัด ชั้น 7 อาคาร เอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์

 

 

 

December 3, 2015
Suppakorn Chudabala
www.ReadyPlanet.com

สนใจรับฟังข้อมูลบริการ

เว็บไซต์สำเร็จรูป, Online Advertising, Training course