Website Knowledge : Website Check Up! ตรวจสุขภาพเว็บไซต์ สแกนหาจุดอ่อนด้วยหลัก 5 ประการ ช่วยเว็บไซต์สร้างยอดขายอย่างมีประสิทธิภาพ
ลมฟ้าอากาศที่แปรปรวน ทั้งฝนตก แดดออก ในช่วงนี้ ก็อาจมีผลกระทบกับร่างกายเราให้เจ็บไข้ไม่สบายกันได้นะคะ อย่าลืมสร้างภูมิต้านทานให้กับตัวเอง ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย และที่สำคัญ ทำจิตใจให้สดใส ไม่เครียด เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจด้วยนะคะ :)
นอกจากสุขภาพร่างกายที่ต้องดูแลแล้ว "เว็บไซต์" เองก็ต้องการการดูแลอย่างสม่ำเสมอเช่นกันค่ะ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าเว็บไซต์ของท่านมีสุขภาพดีหรือไม่ดีในจุดไหน อย่างไร? ไปติดตาม วิธีตรวจสุขภาพเว็บไซต์เบื้องต้น ที่ Website Knowledge นำมาฝากในวันนี้กันเลยค่ะ
เพราะเนื้อหาบนเว็บไซต์ คือ จุดประสงค์หลักที่ผู้เข้าชมต้องการทราบมากที่สุด ดังนั้น เว็บไซต์ที่ดีจึงต้องมีการเรียบเรียงเนื้อหาให้เข้าถึงได้ง่าย และมีการแสดงผลข้อมูลถูกต้อง ไม่ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์จะเข้าชมผ่าน Web Browser ใดๆ ก็ตาม
ไม่จำเป็นว่าจะต้องลงทุนด้านการดีไซน์เว็บไซต์ในราคาสูง แต่ความสวยงามเหมาะสมกับธุรกิจอยู่ที่การสร้างรูปแบบ คือ มีข้อมูล รูปสินค้า หรือรูปบริการ ที่สามารถบ่งบอกความเป็นธุรกิจของท่าน และทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเข้าใจธุรกิจของท่านได้ง่ายๆ
เว็บไซต์ที่ดีควรมีความเร็วในการเปิดหน้าเว็บไซต์ ดังนั้นรูปภาพที่แสดงผลในเว็บไซต์ไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป
ข้อมูลต่างๆ ที่นำเสนอในหน้าเว็บไซต์ต้องง่ายต่อการเข้าถึง และมีรายละเอียดสำคัญที่ง่ายต่อการติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์ อีเมลแอดเครส หรือข้อมูลของเจ้าของเว็บไซต์ รวมไปถึงการเข้าสู่เมนูต่าง ๆ ต้องใช้งานง่ายและเข้าใจได้ง่าย
ถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก ความน่าเชื่อถือสร้างได้โดยเริ่มต้นจาก เจ้าของธุรกิจจะนำเสนอตัวเองบนหน้าเว็บไซต์ได้อย่างดีเพียงใด หากท่านประกอบธุรกิจมานานแล้ว สามารถนำรูปผลงาน ตราสัญลักษณ์ โลโก้ ใบรับรองต่าง ๆ นำมาเสนอบนหน้าเว็บไซต์ เพื่อแสดงความน่าเชื่อถือเพิ่มเติมได้ค่ะ
นอกจากนี้ ยังมีวิธีการตรวจสอบสุขภาพเว็บไซต์ของท่านแบบง่ายและเห็นภาพรวมได้ชัดเจน คือ การใช้ Check List หรือ ตารางตรวจสุขภาพเว็บไซต์ โดยเปรียบเทียบคุณสมบัติแต่ละข้อกับเว็บไซต์ของท่าน ในแต่ละจุดค่ะ
ดาวน์โหลด 'ตารางตรวจสุขภาพเว็บไซต์' คลิกที่นี่ ได้เลยค่ะ
จาก ตารางตรวจสุขภาพเว็บไซต์ หากเว็บไซต์ของท่านมีรายละเอียดที่ตรงกับช่อง "ถูกต้อง" มากกว่า 26 ข้อ ถือว่าเว็บไซต์ของท่านอยู่ในเกณฑ์สุขภาพดีแล้วค่ะ
แต่หากประเมินแล้วพบว่าจุดใดในเว็บไซต์ที่อยู่ในช่อง "พอใช้" หรือ "ไม่ถูกต้อง" ก็อย่าลืมปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในส่วนนั้น ๆ ให้ดีขึ้นได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น เพื่อสุขภาพเว็บไซต์ที่ดีขึ้น มีผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่ตรงกับความต้องการ เป็นพื้นฐานปูทางไปสู่ความสำเร็จในโลกออนไลน์ได้เลยค่ะ
ในตอนต่อไป เราจะไปเจาะลึกเทคนิคการทำเว็บไซต์ให้มีสุขภาพดียิ่งขึ้น ตามหลักการตรวจสุขภาพเว็บไซต์ ทั้ง 5 ประการ รวมถึงวิธีการปรับปรุงองค์ประกอบของเว็บไซต์ ให้มีความพร้อมและสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน พลาดไม่ได้นะคะ พบกันใหม่สัปดาห์หน้าค่ะ
September 10, 2014
Jittima Suebsook
www.ReadyPlanet.com