11 ข้อผิดพลาดที่ทำให้เสียโอกาสการขายผ่านเว็บไซต์

จากข้อมูลรายงาน Global Digital Stat ปี 2021 ของ We Are Social พบว่ากระแสซื้อ-ขายของบนโลกออนไลน์ หรือ E-commerce เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง อ้างอิงจากสถิติ Ecommerce adoption 2021 ในประเทศไทยเองมียอดการซื้อของออนไลน์เป็นอันดับที่ 3 ของโลก!! ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่าทุกวันนี้ธุรกิจหรือองค์กรที่มีสินค้าหรือบริการที่ต้องการนำเสนอขาย หันมาให้ความสนใจกับการขายของผ่านโลกออนไลน์กันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องมือเว็บไซต์ออนไลน์ เพราะนอกจากจะเป็นช่องทางการซื้อ-ขายที่มีเสถียรภาพสุด ๆ แล้ว ยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจหรือองค์กรอีกด้วย อีกทั้งยังติด SEO ได้ง่าย ดูแลจัดการหากเกิดปัญหาได้ทันที เปรียบเสมือนหน้าร้านออนไลน์ หรือ ‘บ้าน’ ของธุรกิจเลยก็ว่าได้ ทว่าก็ไม่ใช่ทุกเว็บไซต์ขายของออนไลน์จะประสบความสำเร็จในการซื้อ-ขาย ยังมีอีกหลากหลายปัจจัยที่เป็นข้อผิดพลาดทั้งเล็กและใหญ่ ทำให้ธุรกิจหรือองค์กรของคุณเสียโอกาสในการขายสินค้าหรือบริการผ่านเว็บไซต์

ข้อผิดพลาดเหล่านี้มีอะไรบ้าง?


1.เว็บไซต์ของคุณไม่มี Call-To-Action

 


เพราะสำหรับเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ที่มีจุดประสงค์หลักคือการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ย่อมแตกต่างจากเว็บไซต์ปกติทั่วไปที่มีจุดประสงค์แค่เข้ามาเยี่ยมชมอ่าเนื้อหาเท่านั้น ดังนั้นเครื่องมือที่สำคัญอย่างมาก ที่สามารถเปลี่ยนจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้กลายเป็นลูกค้าของธุรกิจหรือองค์การของคุณได้ก็คือ ปุ่ม Call-To-Action

 

Call-To-Action (CTA) คืออะไร?

 

Call แปลว่า เรียก

 

To Action แปลว่า กระทำ

 

เมื่อนำมารวมกันโดยเชื่อมคำว่า To จะแปลออกมาได้ตรงตัวว่า การเรียกหรือการกระตุ้นความสนใจให้คนที่ถูกกระตุ้นนั้นเกิดการกระทำบางอย่างขึ้นมา Call-To-Action คือหนึ่งในเครื่องมือการตลาดที่สำคัญมาก สำหรับธุรกิจที่มีสินค้าหรือบริการที่ต้องการนำเสนอขายในออนไลน์ ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในรูปแบบของปุ่มติดต่อบนเว็บไซต์ แบนเนอร์โฆษณา และจะปรากฎบนเว็บไซต์ออนไลน์เมื่อมีคนเข้ามาเยี่ยมชม มีวัตถุประสงค์หลากหลาย เช่น  ใช้เพื่อสมัครสมาชิก กดสั่งซื้อสินค้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือแม้กระทั่งแชร์เนื้อหานี้ไปยัง Social Mediaต่าง ๆ เป็นต้น โดยลักษณะปุ่ม Call-To-Actionที่ดี จำเป็นต้อง ชัดเจน เข้าใจง่าย กระชับ สะดุดตา และดึงดูดความสนใจได้ดี แล้วเว็บไซต์ออนไลน์ของคุณมีปุ่มนี้หรือยัง ?

 

2. เว็บไซต์แสดงผลช้าถึงช้ามาก !

 


ในทุกวันนี้ที่ ‘เวลา’ มีมูลค่าสูงมาก และผู้บริโภคเองมีหลายอย่างที่คอยดึงดูดความสนใจพวกเขาอยู่ ทำให้ถึงแม้ว่าพวกเขาจะสนใจสินค้าหรือบริการของคุณ แต่หากกดเข้ามาในเว็บไซต์แล้วพบว่าเว็บไซต์ใช้เวลาโหลดข้อมูลนานมาก ! ไม่ขึ้นหน้าต่างแสดงผลได้รวดเร็วอย่างใจต้องการ พวกเขาก็พร้อมที่จะกดออกจากเว็บไซต์คุณแทบจะทันทีโดยไม่รีรอ และหันไปหาตัวเลือกอื่นในตลาดซึ่งแน่นอนว่าเป็นพวกคู่แข่งของคุณนั่นเอง กลายเป็นว่าคุณเสียลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและโอกาสปิดการขายไปในทันที เพราะฉะนั้นเว็บไซต์ออนไลน์ที่ดีควรจะแสดงผลได้รวดเร็ว ทันใจ เพื่อให้ลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้เพลิดเพลินกับการเลือกช้อปปิ้งสินค้าหรือบริการแบบไม่ขาดตอน

 

3. ดีไซน์เว็บไซต์ไม่สวย

 

ดีไซน์เว็บไซต์ก็เป็นหนึ่งในตัวแทนของภาพลักษณ์ของธุรกิจหรือองค์กร เว็บไซต์ออนไลน์ที่สวยงาม ย่อมสามารถดึงดูดให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ยังคงอยู่ในเว็บไซต์เพื่อเยี่ยมชมและหยุดอยู่ในหน้าเว็บไซต์เพื่ออ่านเนื้อหาต่าง ๆ ได้ สำหรับธุรกิจหรือองค์กรที่ต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง จะสามารถทำได้หลัก 2 วิธี จ้างโปรแกรมเมอร์เขียนโค้ดและเช่าโดเมน ด้วยตนเอง วิธีนี้จะสามารถดีไซน์ทุกอย่างได้อย่างที่ต้องการ ทว่าใช้เวลานานและค่อนข้างใช้งบประมาณเยอะ อีกทั้งยังจำเป็นต้องจ้างโปรแกรมเมอร์หลังจบงานขายเพื่อคอยดูแลหากเว็บไซต์เกิดปัญหาตามมา

 

อีกวิธีที่นิยมกันอย่างแพร่หลายคือการใช้บริการเว็บไซต์ออนไลน์สำเร็จรูป ยกตัวอย่างเช่น R-Web แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ที่มาพร้อมเครื่องมือการตลอดแบบ All-in-One จาก Readyplanet ให้คุณสามารถ Go Online ได้อย่างไร้กังวล สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ง่ายๆ มาพร้อมระบบ Smart Theme เทคโนโลยีช่วยในการสร้างเว็บไซต์ ออกแบบเว็บไซต์ ปรับแต่งได้ตามต้องการ สามารถอัปโหลดรูปภาพ ใส่ข้อความ และแสดงผลจริงได้ทันที โดยไม่ต้องเขียน Code ให้ยุ่งยาก อีกทั้งยังมาพร้อมเครื่องมือการขายและการตลาดแบบ All-in-One ที่ครอบคลุมทั้ง การทำโฆษณา เว็บไซต์ ระบบลูกค้าสัมพันธ์ ให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้

 

4. มีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเนื้อหา

 

สำหรับความผิดพลาดเกี่ยวกับเนื้อหา ไม่ว่าจะเป็นเขียนผิด สะกดคำผิด การใช้ภาษาวิบัติย่อมไม่ควรมีบนหน้าเว็บไซต์เพราะอาจจะเกิดการสื่อสารที่เข้าใจผิดกันได้ เรื่องของการเลือกใช้ตัวอักษร ขนาดตัวอักษรที่เล็กหรือใหญ่เกินไป ทำให้เป็นอุปสรรคในการอ่านเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ รวมไปถึงการแบ่งวรรคตอน การเว้นบรรทัดและการจัดช่องไฟในแต่ละประโยคอีกด้วย


5. ไม่มีการทำ SEO เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ‘ค้นหา’ คุณเจอ

 


สิ่งที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณ ติดคำค้นหาบน Search Engine ยอดนิยมอย่าง Google ก็คือการให้ความสำคัญกับการทำบทความ SEO (Search Engine Pptimization) ช่วยให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ‘ค้นหา’ คุณเจอบนโลกออนไลน์ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Readyplanet "จากงานวิจัยพบว่า 71.33% ของการ Search ทำการคลิกผ่าน Organic Results ในหน้าแรก และ 5.59% คลิกไปถึงหน้าที่ 2-3 ในขณะที่โฆษณาได้รับการคลิกเพียง 15% ของผู้ทำการค้นหา ดังนั้นการทำ SEO ให้คีย์เวิร์ดสำคัญ ๆ ของธุรกิจติดอันดับที่ดี จึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดการแข่งขันและสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจของคุณเหนือกว่าคู่แข่งได้เป็นอย่างดี" ทุกธุรกิจหรือองค์กรสามารถทำ SEO ได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจหรือองค์กรจะประสบความสำเร็จ ดังนั้น Readyplanet จึงคิดค้นเครื่องมือที่เรียกว่า Smart SEO ที่จะช่วยในการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ออนไลน์ของคุณอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ

 

6. หน้าเว็บไซต์ยาวเกินไป

 

อีกหนึ่งเรื่องที่ถือว่าสำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ หลายเว็บไซต์อยากจะใส่ข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่บางครั้งการใส่ข้อมูลมากเกินไป จะส่งผลให้หน้าเว็บของคุณหนักและหน่วง ! และทำให้ลูกค้าใช้เวลาโหลดนานกว่าปกติ ดังนั้นก่อนเริ่มต้นเว็บไซต์ แนะนำให้คุณแพลนออกมาก่อนว่าในเว็บไซต์ของคุณจะใส่ข้อมูลอะไรบ้าง คัดเฉพาะที่สำคัญและจำเป็น เพื่อให้หน้าเว็บไซต์ออกมาไม่สั้นหรือยาวล้นจนเกินไป และไม่ทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์เบื่อหน่ายและกดออกไปอีกด้วย


7. ไม่มีการอัปเดตข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ

 

หลายธุรกิจหรือองค์กรมีการสร้างเว็บไซต์ออนไลน์ของตัวเองเอาไว้เพื่อลงสินค้า แต่ขาดการอัปเดตข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เมื่อมีผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์จะพบแต่สินค้าเก่า ๆ ที่ไม่ได้มีการอัปเดตสต็อกหรือรายละเอียดต่าง ๆ ดังนั้นแนวโน้มที่กลุ่มผู้เข้ามาเยี่ยมชมจะเพิกเฉย เพราะคิดว่าร้านนี้ไม่มีการอัปเดตการขายแล้วเป็นไปได้สูง ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีความเคลื่อนไหวในเว็บไซต์ออนไลน์อยู่เรื่อย ๆ เพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดดูใหม่ และดูแอคทีฟเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าคุณยังขายหรือให้บริการสินค้าอยู่นั่นเอง


8. ไม่มีการ Link ไปยัง Social Media ต่าง ๆ

 


ธุรกิจและองค์กร ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ได้มีเพียงช่องทางการขายออนไลน์เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น นอกจากเว็บไซต์ออนไลน์แล้วยังมีช่องทาง Social Media ยอดนิยมอื่นอีก เช่น Facebook Instagram เป็นต้น การเชื่อมต่อแบบไร้รอยต่อระหว่างแต่ละแพลตฟอร์ม จะสามารถเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ในเว็บไซต์ออนไลน์จึงนิยมใส่ลิงก์เพื่อให้สามารถกดไปเชื่อมไปยัง Social Media ของธุรกิจหรือองค์กรได้ และในทางกลับกันทุกครั้งที่โพส Content บน Social Media ก็สามารถใส่ลิงก์ของเว็บไซต์ออนไลน์เพื่อเป็นการสร้าง Website Traffic ให้กับธุรกิจได้อีกด้วย ช่วยเพิ่มโอกาสในการซื้อ-ขายสินค้าหรือบริการ โอกาสพบลูกค้าใหม่ๆ ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย


9. เว็บไซต์ ไม่รองรับ Responsive

 


รายงานของปี 2020 ในประเทศไทยมีกลุ่มคนที่ซื้อของผ่านมือถือบนออนไลน์โดยอ้างอิงจากสถิติของ Statista.com กว่า 74.2% และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเว็บไซต์ออนไลน์จึงต้องให้ความสำคัญกับการรองรับ Responsive หรือการแสดงผลเว็บไซต์ผ่านทุกหน้าจอการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชมเว็บไซต์ผ่านหน้าบราวเซอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ต  ระบบปฏิบัติการ IOS, Android หรือ Windows Mobile อื่น เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งาน

 

10. ไม่มีที่อยู่ติดต่อกลับ เหมือนไม่มีตัวตนอยู่จริง

 


ข้อแตกต่างของการขายของบนโลกออนไลน์กับการมีหน้าร้านจริงที่เห็นได้ชัดคือ การที่ลูกค้าเห็นว่าคุณมีตัวตนอยู่จริง ดังนั้นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของการทำเว็บไซต์ออนไลน์ดูน่าเชื่อถือขึ้นคือทำให้ลูกค้ารับรู้ว่า ‘คุณมีตัวตนอยู่จริง’ สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการใส่ที่อยู่ติดต่อกลับ พิกัดหน้าร้าน (ถ้ามี) เพื่อให้ลูกค้าสามารถเช็คโปรไฟล์ของคุณได้ และเกิดความมั่นใจหากจะเลือกสั่งซื้อสินค้าหรือบริการกับคุณ


11. ไม่แสดงราคาสินค้า และรายละเอียดที่ชัดเจนอื่นๆ

 

บางธุรกิจหรือองค์กร ไม่อยากเปิดเผยราคาสินค้าหรือรายละเอียดของสินค้าเพราะกลัวว่าคู่แข่งจะตั้งราคาเพื่อแย่งลูกค้า ทว่าสำหรับกลุ่มลูกค้าแล้วการที่คุณไม่ยอมบอกราคาสินค้าและรายละเอียดที่ชัดเจน จะทำให้คุณพลาดลูกค้าคนสำคัญไปอย่างน่าเสียดาย เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่ ต้องการหาข้อมูลของสินค้าในทุกด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ ไม่ว่าจะเป็น รายละเอียดสินค้า ขนาด ราคา การรับประกันหรืออื่น ๆ  ดังนั้นเว็บไซต์ไหนที่สามารถให้ข้อมูลได้อย่างละเอียดก็จะสามารถเข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกพิจารณาสั่งซื้อได้ง่ายกว่าสินค้าที่จำเป็นต้องสอบถามเพิ่มเติม อีกทั้งการใส่ข้อมูลสินค้าอย่างครบถ้วน ยังแสดงถึงความพร้อมในการขายและการบริการ ความน่าเชื่อถืออีกด้วย

 

เมื่อคุณคิดจะทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์แล้ว จำเป็นต้องทำให้ถูกต้องและครบถ้วน มีประสิทธิภาพ เพราะไม่เช่นนั้นก็เปรียบเสมือนการเปิดหน้าร้านไว้ทั้งวันแต่ไม่มีคนเข้าเยี่ยมชม และซื้อสินค้าหรือบริการของคุณเลยสำหรับตัวเว็บไซต์ออนไลน์เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือการตลาดและโฆษณาที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีช่องทางการขายสินค้าหรือบริการบนโลกออนไลน์ เพราะทุกในยุคนี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือการตลาดและโฆษณาที่หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนั่นเอง สำหรับ Readyplanet ได้มีบริการที่เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการช่องทางออนไลน์เพิ่มเติม เช่น เว็บไซต์ออนไลน์ กลุ่มที่ต้องการเพิ่มยอดขายและเพิ่มกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ในช่องทางใหม่ ๆ และผู้ที่ต้องการระบบออนไลน์รองรับทั้งฝั่งลูกค้าและผู้ประกอบการ เรียกว่า Readyplanet Marketing Platform

 

แพลตฟอร์มด้านการขายและการตลาดแบบ All-in-One ที่ครอบคลุมการโฆษณา เว็บไซต์ และระบบลูกค้าสัมพันธ์ พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล ที่มักมีการตัดสินใจซื้อที่ซับซ้อน ช่วยตอบโจทย์ทุกกิจกรรมทางการตลาดได้อย่างสมบูรณ์ บริหารจัดการง่าย ไร้กังวล ตอบโจทย์องค์กรทุกขนาด มีระบบ User Management ที่ไม่ว่าคุณจะมีพนักงาน 5 คน หรือ 500 คนก็สามารถบริหารจัดการ และควบคุมเครื่องมือต่าง ๆ ได้อีกทั้งยังรับรองมาตรฐาน ISO 27001:2013 ด้าน IT Security ระดับโลกอีกด้วย พร้อมไปด้วย R-Web แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์, R-Widget ปุ่มติดต่ออัจฉริยะสำหรับเว็บยุคใหม่, R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย, R-Dynamic ระบบโฆษณา Dynamic Retargeting แบบอัตโนมัติ และอีกมากมาย

R-CRM หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Readyplanet Marketing Platform 

R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement

 

 

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี