เปรียบเทียบชัด ๆ เปิดร้านค้าออนไลน์ผ่านช่องทางไหน ใช้อย่างไรให้สำเร็จ!

ไม่ว่าธุรกิจไหนในยุคนี้ก็ทำออนไลน์ แต่ก็ใช่ว่าทุกธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จกันได้ง่าย ๆ แม้ว่าทุกวันนี้จะมีเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์ (Marketing Tech) เพื่อเป็นตัวช่วยของธุรกิจคุณได้มากมายผ่านช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ต่าง ๆ

 

คำถามที่น่าสนใจก็คือ “นอกจากขายของออนไลน์อะไรดีแล้ว ขายผ่านช่องทางไหนดีที่สุด?”

 

วันนี้ Readyplanet จึงนำ 3 ช่องทางหลัก ทั้งการขายผ่านเว็บไซต์ขายของออนไลน์, ขายสินค้าออนไลน์ผ่าน Social Media ต่าง ๆ และการเปิดร้านค้าออนไลน์บน E-Marketplace ว่าธุรกิจแบบไหน ใช้อย่างไรให้สำเร็จ มาเปรียบเทียบแบบชัด ๆ หมัดต่อหมัด ทั้งข้อดี-ข้อเสีย ความท้าทายแต่ละช่องทาง ให้เจ้าของธุรกิจนำไปใช้ประโยชน์กันแบบไม่มีกั๊ก

เปรียบเทียบชัดๆ เปิดร้านค้าออนไลน์ผ่านช่องทางไหน ใช้อย่างไรให้สำเร็จ!

 

ข้อดีของการขายสินค้าออนไลน์บนเว็บไซต์

 

1. มีความน่าเชื่อถือ เพราะสามารถใส่ข้อม฿ลที่เป็นทางการของธุรกิจในหน้าเว็บไซต์ได้

 

2. สร้าง Brand Loyalty ให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจกลับมาซื้อซ้ำได้ง่าย ยิ่งถ้าคุณสามารถตั้งชื่อเว็บไซต์ของคุณเป็นชื่อเดียวกับแบรนด์ได้ ก็จะยิ่งสร้างการจดจำแบรนด์ของคุณได้ง่ายขึ้น แถมการมีโดเมนเนมนั้นยังสามารถลอกเลียนได้ยากอีกด้วย

 

3. ลูกค้าสามารถค้นหาข้อมูลธุรกิจ หรือสินค้าของคุณผ่าน Google ที่เป็น Search Engine ได้ง่ายขึ้น และ Google นั้นยังสามารถทำงานได้ดีกับเว็บไซต์ เพราะเว็บไซต์ขายของออนไลน์สามารถทำ SEO ให้มี Keywords ที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณเสิร์ช Google ติดในหน้าแรกได้

 

4. มี Shopping Cart (ตะกร้าสินค้า) หรือ ฟังก์ชั่นสำหรับการติดต่อช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าสอบถามสินค้าและบริการของคุณเพิ่มเติมได้

 

5. ทำ Remarketing / Custom Audience / Lookalike ซึ่งเป็นการทำโฆษณาขั้น Advance เพื่อให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น โดยใช้ข้อมูลของคนที่เคยมาเยี่ยมเว็บไซต์ของคุณในการทำโฆษณาเป็นหลัก 

 

6. สามารถติดตั้งระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีได้ เช่น ระบบ CRM, ระบบ Dynamic Retargeting อ่านข้อมูลของการทำ  R-Dynamic ระบบโฆษณา Dynamic Retargeting ได้โดย คลิกที่นี่ หรือ Google Analytics เพื่อวิเคราห์พฤติกรรมลูกค้าของคุณได้

 

7. ไม่เสียส่วนแบ่งจากการขาย

 

ความท้าทายในการทำเว็บไซต์

 

1. Content มักไม่อัปเดต เพราะการทำงาน Content ผ่านเว็บไซต์อาจมีความยุ่งยากมากกว่าการทำ Content บน Social ต่าง ๆ

 

2. การออกแบบมักไม่ค่อยสวย ยิ่งถ้าต้องการให้เว็บไซต์มีคุณสมบัติ User Friendly คือง่ายต่อการใช้งานหรือช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดการสั่งซื้อได้ง่ายแล้ว อาจจะต้องจ้าง UX UI Design ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

 

3. Visitor หรือคนเข้าเว็บไซต์มีจำนวนน้อย จนไม่ก่อให้เกิดผลในการเพิ่มยอดขายของร้านค้าออนไลน์ของคุณ จนหลายธุรกิจอาจถอดใจกับการทำเว็บไซต์ได้

 

4. ต้องการ Technical Support เช่น เว็บไซต์ขายของออนไลน์ ต้องไม่ล่มบ่อย ประมวลผลการทำงานเร็ว ฯลฯ

 

5. ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เอง ใช้ตั้งรับผู้มาเข้าเยี่ยมชม

 

เปรียบเทียบชัดๆ เปิดร้านค้าออนไลน์ผ่านช่องทางไหน ใช้อย่างไรให้สำเร็จ!

 

ข้อดีของการขายสินค้าออนไลน์ใน E-Marketplace

 

1. หาลูกค้าใหม่ได้ง่ายและมากกว่า เพราะ Traffic ของลูกค้าที่เข้ามาใน E-Marketplace มีจำนวนมากต่อวัน เพราะแต่ละที่มีการโปรโมตเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ 

 

2. เริ่มต้นสมัครใช้งานได้ง่าย

 

3. มีโอกาสทำการตลาดกับ Traffic จำนวนมากที่เข้ามาใน E-Marketplace ได้ เช่น การซื้อ Banner Ad, การอยู่ในหน้าแรกหรือการเป็นร้านค้าแนะนำของ E-Marketplace เป็นต้น

 

4. มี E-Marketplace ให้เลือกใช้บริการหลากหลาย ซึ่งคุณสามารถไปเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ทุก E-Marketplace เพื่อเพิ่มโอกาสการขายได้มากขึ้น

 

ความท้าทายของการทำ E-Marketplace

 

1. เสียค่า Commission ในการขายสินค้า (บางแห่งอาจจะฟรีหรือคิดน้อยมากในช่วงแรก) 

 

2. ต้องทำการตลาดควบคู่ เพราะหากเปิดร้านไว้เฉย ๆ มักไม่ได้ผล เพราะมีการแข่งขันสูง

 

3. ลูกค้าเห็นสินค้าคู่แข่งด้วย ถ้าราคาสินค้าของคุณแพงกว่าอาจจะทำให้เสียโอกาสการขายได้

 

4. สร้าง Brand Loyalty ยาก เพราะส่วนใหญ่ลูกค้าจะจดจำแค่ชื่อของ E-Marketplace มากกว่าการจดจำชื่อร้านของคุณ

 

5. ร้านค้าออนไลน์มีอำนาจการต่อรองกับ E-Marketplace ได้น้อย

 

เปรียบเทียบชัดๆ เปิดร้านค้าออนไลน์ผ่านช่องทางไหน ใช้อย่างไรให้สำเร็จ!

 

ข้อดีของการขายสินค้าออนไลน์ใน Social Media

 

1. ใช้งานง่าย โพสต์ง่าย ติดต่อกับลูกค้าง่าย

 

2. สามารถสร้างสรรค์รูปแบบของ Content ได้หลายรูปแบบ ทั้ง VDO แนวตั้ง แนวนอน, ภาพเดี่ยว, อัลบั้มภาพ Content หลากหลายรูปแบบ

 

3. หาลูกค้าใหม่ ๆ ได้ไม่จำกัด โดยการทำโฆษณาออนไลน์

 

4. กระตุ้นความต้องการการซื้อได้ดี (สำหรับสินค้ากลุ่มที่ซื้อสินค้าด้วยอารมณ์ เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น หรือเครื่องสำอางต่าง ๆ) 

 

5. มีโอกาสเกิด Viral (แต่ค่อนข้างยาก)

 

ความท้าทายของการขายสินค้าออนไลน์ใน Social Media

 

1. โพสต์ Content แล้ว ไม่ได้ Organic Reach เพราะการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึ่มของ Social Media ต่าง ๆ ทำให้ร้านค้าออนไลน์ ไม่สามารถเข้าถึง Fan Page ได้ทุกคน (ปัจจุบัน Facebook ให้เพจต่าง ๆ เข้าถึงคนที่เป็นแฟนเพจได้ไม่เกิน 1% ที่เป็น Organic แบบไม่เสียค่าโฆษณา)

 

2. ค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาสูงขึ้น เพราะการแข่งขันของการขายสินค้าออนไลน์สูงขึ้น

 

3. อัลกอริทั่มของการโฆษณา (Ad Algorithm) เปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ร้านค้าออนไลน์ตามไม่ทัน

 

4. ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ Creative Content สำหรับการโฆษณาออนไลน์ เพื่อให้ดึงดูดและโดนใจกับกลุ่มเป้าหมาย

 

5. การหา Admin ที่เก่ง มีใจรักบริการ ให้ข้อมูลถูกต้องและเร็ว หาได้ยาก

 

 

ฉะนั้น ถ้ามีข้อดี-ข้อเสียของแต่ละช่องทางแบบนี้ คำถามต่อไปก็คือ “แล้วขายของออนไลน์อะไรดีที่สุดสำหรับธุรกิจคุณ ​และต่อไปนี้ Readyplanet กำลังจะบอก วิธีการเลือกช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สำหรับร้านค้าออนไลน์ของคุณ!



 

3 ขั้นตอนก่อนเลือกช่องทางการขาย มีดังนี้

 

1. เข้าใจธุรกิจและลูกค้าของท่านก่อน ว่าอยู่ในกลุ่มธุรกิจประเภทใด B2B หรือ B2C เพราะประเภทธุรกิจ 2 แบบนี้มีความแตกต่างการ ฉะนั้นการเลือกใช้ช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ก็ต่างกัน ดังเช่นข้อมูลในตาราง 

 

  (ตารางเปรียบเทียบธุรกิจ B2B และ B2C)

 

จากตางรางเปรียบเทียบ เราลองมาคิดเล่น ๆ ตามตัวอย่างธุรกิจ A ที่เป็น B2B และธุรกิจ B ที่เป็น B2C เมื่อเห็นข้อมูลในตารางแล้ว ควรจะเลือกช่องทางไหนให้ธุรกิจของตัวเองกันดีกว่า

 

ตัวอย่างธุรกิจ A ที่เป็น B2B : ขายกล่องกระดาษใส่สินค้าสำหรับธุรกิจหรือร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งในกระบวนการตัดสินใจซื้อ ต้องผ่านหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายบัญชี แน่นอนว่า ตัวตนและความน่าเชื่อถือของธุรกิจหรือร้านค้าออนไลน์ของคุณเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นสิ่งที่คนควรเลือกช่องแรกก็คือ “เว็บไซต์” ซึ่งคุณอาจจะมีช่องทาง Social Media ต่าง ๆ ไว้เป็นทางเลือกในการให้ลูกค้าติดต่อสอบถาม, หรือทำ Content ที่มีประโยชน์กับลูกค้า เพื่อสร้างสัมพันธ์หรือการจดจำแบรนด์เพิ่มเติมก็ได้

 

แต่ถ้าคุณอยากได้ Traffic จำนวนเยอะ ๆ จาก E-Marketplace ล่ะ! สามารถทำได้ไหม? เราก็ต้องบอกว่า สามารถทำได้ แต่อาจจะต้องขายในจำนวนที่น้อยลง แล้วโฟกัสกลุ่ม SMEs ขนาดเล็กหรือพ่อค้าแม่ค้าที่ขายสินค้าออนไลน์เจ้าเล็ก ๆ แทนกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่

 

ตัวอย่างธุรกิจ B ที่เป็น B2C : ขายเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิง ใช้อารมณ์ในการซื้อ สามารถปิดการขายได้กับลูกค้าเพียงคนเดียว ราคาสินค้าไม่แพงมาก ใช้ระยะเวลาการตัดสินใจซื้อไม่นานมาก ฉะนั้น 2 ช่องทางหลักที่น่าจะสนใจก็คือ “E-Marketplace และ Social Media”

 

ทีนี้อาจจะต้องพิจารณาปัจจัยของร้านค้าออนไลน์ของคุณเพิ่มเติม เช่น งบโฆษณาหรือมีงบโปรโมตการขายสินค้าออนไลน์ต่อเดือนเท่าไหร่? แล้วลองเปรียบเทียบระหว่าการทำโฆษณาออนไน์ไปที่ Social Media หรือลงทุนกับการโปรโมตร้านค้าของคุณกับ Banner Ad บน E-Marketplace ดีกว่า… หรือคุณมีความพร้อมสำหรับการทำ Content ลงบน Social Media มากน้อยแค่ไหน? ถ้ายังไม่มี เราก็ขอแนะนำให้คุณเลือกเปิดร้านค้าออนไลน์บน E-Marketplace ก่อน

 

2. เข้าใจหลักการของการสร้างยอดขายจากการทำการตลาดแบบดิจิตอล ซึ่งหัวใจของการขายสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ นั้น มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

 

  • เราสามารถ Reach (เข้าถึง) คนให้ได้มากที่สุดด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการซื้อโฆษณาออนไลน์ เพื่อเข้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด, การซื้อ Banner Ad ใน E-Marketplace นั้น

 

  • แล้วทำให้จำนวน Reach ที่ได้มากลายเป็น Conversion ให้ได้มากที่สุด

 

  • จากนั้นพยายามสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำในเว็บไซต์ เพราะการซื้อขายผ่านเว็บไซต์จะช่วยให้คุณไม่ต้องไปเสียค่าคอมมิชชั่นให้ใคร นอกจากนั้นยังช่วยให้ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ของคุณผ่านชื่อของเว็บไซต์ (Domain Name) อีกด้วย

 

Revenue (จำนวน) = Reach x Conversion Rate x Repeat Purchase

 

ซึ่งหลักการทั้ง 3 ขั้นตอนที่กล่าวมา คุณสามารถนำไปปรับใช้สำหรับช่องทางออนไลน์ ทั้งเว็บขายของออนไลน์, E-Marketplace หรือการขายของออนไลน์ผ่าน Social Media เป็นต้น

 

3. ประยุกต์ใช้เครื่องมือการตลาดดิจิตอลกับธุรกิจของคุณ ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ นั้น เราก็เลือกใช้ตามหลักสร้างยอดขายของ (ข้อ2) คือ Reach > Convert > Retain

 

 

จากเครื่องมือทางการตลาดดิจิตอลที่เรากล่าวมานั้น ไม่ว่าจะธุรกิจประเภท B2B หรือ B2C การมีเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของคุณเอง ย่อมเป็นเรื่องดีสำหรับธุรกิจคุณในระยะยาว 

 

แน่นอนว่าสำหรับ ธุรกิจประเภท B2B เว็บไซต์ช่วยในเรื่องของความน่าเชื่อถือ การมีตัวตนบนโลกออนไลน์ของคุณ ส่วน ธุรกิจประเภท B2C นั้น ช่วยให้คุณสามารถติดตั้งเครื่องมือทางการตลาดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายได้ เช่น ระบบสะสมแต้ม, การทำ CRM เพื่อสานสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า รวมไปถึงการทำ Retargeting เพื่อส่งโฆษณาของคุณไปยังลูกค้าที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บขายของออนไลน์ของคุณให้กลับมาซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ โดยไม่ต้องไปเสียค่าคอมมิชชั่นให้กับ E-Marketplace ใด ๆ อีกด้วย 

 

และมันยิ่งจะดีกว่า หากเว็บไซต์ของคุณสามารถมีระบบที่รองรับการทำ E-Commerce อย่างเต็มรูปแบบ นั่นก็คือ การทำให้เว็บไซต์ของคุณมีระบบร้านค้าที่พร้อมขายของเองได้เลย!

 

ด้วย R-Shop แพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ที่จะช่วยสร้างเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์สำเร็จรูป ทำเว็บไซต์ เพิ่มช่องทางการขายใหม่ ออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง สามารถเชื่อมต่อกับระบบสะสมแต้ม PointSpot ได้ และยังมาพร้อมเครื่องมือการตลาดแบบ ALL-IN-ONE อาทิ Order Management, R-Widget, R-CRM, Chatday และอีกมากมาย ที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจสามารถรองรับลูกค้าได้ทันทีตั้งแต่วันแรกที่เริ่มออนไลน์



พร้อมหรือยัง? ที่จะเริ่มสร้างเว็บไซต์ในแบรนด์ของคุณ

สร้างเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ของคุณวันนี้ เริ่มต้นง่ายด้วย R-Shop แพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ทำเว็บไซต์ง่าย ได้เว็บสวย มาพร้อมระบบแชทบนเว็บไซต์ และเครื่องมือการตลาดดิจิทัลแบบครบครัน รองรับทุกสิ่งที่จำเป็นเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของคุณ ช่วยให้คุณเริ่ม Go Online ได้อย่างครบครัน และไร้กังวล

 

  

                                                                                                                                               Updated: 3 September 2020 | Produced by: Dujnapa Chauthamcharoen