เทคนิคออกแบบเว็บไซต์อย่างไรให้น่าสั่งซื้อ?

การออกแบบเว็บไซต์ควรดีไซน์อย่างไรให้น่าสั่งซื้อ? ในส่วนนี้ Readyplanet จะกล่าวถึงเรื่องของดีไซน์และยกตัวอย่างเว็บไซต์ให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ว่ามีวิธีสร้างเว็บไซต์อย่างไรให้ออกมาดีไซน์สะดุดตาจนลูกค้าอยากสั่งซื้อ หรือดีไซน์ย่างไรให้เหมาะสมกับธุรกิจและบ่งบอกตัวตนของเราได้ ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ช่วยดึงดูดลูกค้าในอนาคตของคุณแล้ว สิ่งสำคัญคือต้องช่วยเพิ่มยอดขายได้ด้วยเช่นกัน ยิ่งใครที่กำลังมองหาฟรีแลนซ์หรือบริษัทรับออกแบบเว็บเพื่อให้ช่วยสร้างเว็บไซต์ของธุรกิจคุณในระยะยาว ลองทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้กันก่อนดีกว่า

อย่างที่ Readyplanet ได้เคยเขียนบทความแนะนำไปก่อนหน้านี้แล้วว่า การออกแบบเว็บไซต์อยากให้คำนึงถึง 3 ส่วนสำคัญ ดังนี้ (อ่านบทความก่อนหน้านี้ คลิกที่นี่)

 

1. Design และความง่ายต่อการใช้งาน

 

2. Content ที่น่าสนใจและให้ประโยชน์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์

 

3. Call-to-Action ที่ช่วยนำไปสู่การตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า

 

ลูกค้ามักตัดสินธุรกิจคุณจากการออกแบบเว็บไซต์ หากสามารถทำให้เกิดการสั่งซื้อได้เหมือนตัวอย่างเว็บไซต์ที่นำมาให้ดูก็จะดีมาก ลองมาดูวิธีสร้างเว็บไซต์ให้ดูสวยงาม แบบมือโปรเหมือนมีบริษัทรับออกแบบเว็บไซต์มาทำให้ถึงที่เลย

 

ทราบหรือไม่ว่า ลูกค้าส่วนใหญ่จะตัดสินความน่าเชื่อถือของธุรกิจคุณ จากการออกแบบเว็บไซต์ของธุรกิจหรือบริการนั้น ๆ ลองมองกลับกันหากคุณเป็นลูกค้าและเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์หนึ่ง ที่มีการภาพจัดวางไม่สวยงาม ไม่เป็นระบบระเบียบ ข้อมูลไม่มีที่มาที่ไป จะเริ่มรู้สึกว่าธุรกิจนี้ไม่น่าเชื่อถือ และเกิดคำถามว่ามีตัวตนจริงหรือไม่? การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามและกระตุ้นให้เกิดการสั่งซื้อ จึงช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้อย่างดี แล้ววิธีสร้างเว็บไซต์ให้ดูสวยงาม และยังเป็นมืออาชีพจนลูกค้าอยากสั่งซื้อ ต้องทำอย่างไร? ลองมาดูรายละเอียดกันได้เลย

 

การดีไซน์เว็บไซต์เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย

 

การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี First Impression คือสิ่งสำคัญ การจดจำภาพลักษณ์ธุรกิจของคุณจะเกิดขึ้นเมื่อครั้งแรกที่ลูกค้าเข้าเว็บไซต์ ในที่นี้ขอเกริ่นส่วนสำคัญ 3 ส่วนที่จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าถึงง่ายและเป็นไปอย่างมีระบบ

 

1. ออกแบบให้ User Friendly ให้เว็บเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน

 
การเข้าถึงได้ง่ายหรือกล่าวอีกแบบ คือ User Friendly หากมองย้อนกลับไปในอดีต เมื่อเราใช้งานเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน จะต้องมีการขยายหรือปรับเลื่อนตำแหน่งหน้าเว็บไซต์เพื่อให้อ่านได้ง่ายขึ้น นั่นเป็นเพราะเว็บไซต์เหล่านั้นไม่เป็นแบบ Responsive (การจัดเรียงหน้าเนื้อหาให้เหมาะสมกับหน้าจอโดยอัตโนมัติ) ซึ่งหากเว็บไซต์ของเราออกแบบให้มีการรองรับกับทุกหน้าจอของอุปกรณ์แต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ผู้บริโภคจะรู้สึกว่าธุรกิจนั้นใส่ใจในการออกแบบ และยิ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่เลือกช้อปผ่านช่องทางออนไลน์นั้น สมาร์ทโฟนคือช่องทางการซื้อที่สำคัญ หากเว็บไซต์แสดงผลได้ดี ยิ่งทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าสู่เว็บไซต์ และตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าได้ทันที ไม่ต้องเจอปัญหาการใช้งานที่หน้าเว็บอีกต่อไป ลองหาตัวอย่างเว็บไซต์ในประเภทธุรกิจหรือบริการเดียวกัน เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียในการใช้งานก็เป็นอีกวิธีที่ทำได้ไม่ยาก
 

2. การวาง Sitemap ของเว็บไซต์

 
การวาง Sitemap อธิบายง่าย ๆ คือแผนที่นำทางให้กับ Google นั่นเอง การทำงานจะเริ่มจาก Google ปล่อย Bot ตัวหนึ่งมาที่หน้าเว็บไซต์ของเราเพื่อดูว่า มีการวางผังข้อมูลอย่างไร เป็นระบบระเบียบหรือไม่ ได้คุณภาพมากน้อยเพียงไหน ซึ่งจะส่งผลกับการจัดอันดับของ Google ที่เราจะเจอเว็บไซต์ต่าง ๆ ในหน้าค้นหาหน้าแรก ๆ ดังนั้นก่อนเริ่มทำการออกแบบเว็บไซต์ อาจจะต้องเขียนแผนที่นำทางหรือ Mind Map เว็บไซต์ธุรกิจ เป็นวิธีสร้างเว็บไซต์ที่เข้าใจง่ายและตอบตัวเองได้ว่า ต้องการให้ผู้บริโภคเข้ามาเจออะไรก่อนอันดับแรก มีช่องทางกี่ทาง คลิกแล้วเชื่อมโยงไปที่หน้าไหนได้บ้าง การจัดอันดับบน Google นั้น นอกจากวัดจาก Mobile Friendly แล้ว ยังมีในส่วน Title และ Description ว่ามีความสอดคล้องกัน และตรงกับคำค้นหาที่ต้องการจริง ๆ หรือไม่ รวมไปถึงการทำ Contents ในเว็บไซต์ด้วย ควรเป็นเนื้อหาสดใหม่ ไม่ไปคัดลอกมาจากที่ไหน
 
 
ด้านบนของเว็บไซต์ควรมี Navigation Menu (เมนูนำทาง) เพื่อเป็นจุด Start ให้กับลูกค้าของเราว่าตอนนี้อยู่ในตำแหน่งใด ลำดับต่อมาคือแบนเนอร์ส่วนหัว เป็นการอธิบายธุรกิจของคุณเบื้องต้น ลองใช้เป็นภาพแบนเนอร์ที่สวยงามเพื่อช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือ ถัดมาจะเป็นในส่วนสินค้าและบริการ เพื่อให้ลูกค้าทำความรู้จักกับคุณให้มากขึ้น และช่วยกระตุ้นการตัดสินใจด่านแรก ที่สำคัญอย่าลืมเพิ่ม ปุ่ม Call-to-Action เพื่อให้กดสั่งซื้อหรือหยิบสินค้าลงตะกร้าได้ทันที ส่วนต่อไปถ้ากลัวว่าลูกค้ายังตัดสินใจไม่ได้ อย่าลืมเพิ่มรีวิวจากลูกค้าจริง หรือผลงานที่ได้รับรางวัลเพิ่มน้ำหนักในการตัดสินใจ รวมถึงส่วนล่างสุดอย่าลืม Footer เพื่อแจ้งช่องทางการติดต่อของเว็บไซต์ธุรกิจหรือบริการของคุณ และเป็นการบอกจุดสิ้นสุดของหน้าเว็บอีกทางเช่นกัน

3. การจัดวาง Web Layout

 
การจัดระเบียบ Alignment หรือการจัดวางตำแหน่งเนื้อหาบนเว็บไซต์แบบเป็นระบบ เหมือนเป็นการนำสายตา และดึงดูดให้เจอสินค้าหรือบริการบนหน้าเว็บของเรา ส่วนนี้จะเป็นตัวชี้วัดให้กับผู้ใช้งานได้ด้วยว่า ลูกค้าหรือผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรานั้น ได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดีหรือไม่

 (เว็บไซต์จากลูกค้าที่ใช้บริการ Readyplanet)

 

การดีไซน์เว็บไซต์ว่าด้วยเรื่องของโทนสีและตัวหนังสือ

 

จิตวิทยาของสีส่งผลต่ออารมณ์ได้เป็นอย่างดี โทนสีเปลี่ยนก็ช่วยให้ความรู้สึกเปลี่ยนได้ เช่น ธุรกิจของคุณต้องการสร้างความ Active กระตือรือร้น ลองเลือกใช้สีส้ม สีแดง ที่ให้พลังและมีความสดใส หรือเลือกใช้โทนสีน้ำเงิน หากต้องการแสดงถึงความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย หรือเลือกใช้สีเขียว แสดงถึงความสงบ สุขภาพที่ดี เป็นต้น ซึ่งเราสามารถหาตัวอย่างเว็บไซต์ของแบรนด์ต่าง ๆ เพื่อดูการออกแบบเว็บไซต์ที่มีการเลือกใช้สี ในการแสดงออกถึง Identity หรือตัวตนของแบรนด์ และนำมาเป็นแนวทางได้


1. เลือกใช้โทนสีอย่างไร?

 

Readyplanet แนะนำการเลือกใช้ชุดสี โทนสีบนหน้าเว็บไซต์ให้เป็นโทนสีใกล้เคียงกันเพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียว กลุ่มก้อนเดียวกันและดูสะอาดตา ไม่มีเฉดที่หลากหลายจนเกินไป แต่หากธุรกิจของคุณมีโทนสีที่หลากหลายล่ะก็ ลองหาสัดส่วนในการใช้สีที่แตกต่างกัน เช่น สี#1 / สี#2 / สี#3 กำหนดเป็น 70 / 20 / 10 เปอร์เซ็นต์ และดีไซน์ตามแนวทางนี้ไปตลอดทั้งเว็บไซต์
  
2. การเลือก Font บนหน้าเว็บไซต์
 
โทนสีบ่งบอกอารมณ์ได้อย่างไร ตัวอักษรก็บอกอารมณ์ได้แบบนั้นเช่นกัน เช่น ฟอนต์ที่มีหัว หรือมีเชิง จะช่วยให้รู้สึกว่ามีความทันสมัยมากกว่า หรือการเลือกใช้ฟอนต์ลายมือ ที่แสดงถึงความเป็นมิตรและนุ่มนวลขึ้น การเลือกฟอนต์จึงช่วยสะท้อน Character ของสินค้าหรือบริการได้ การออกแบบเว็บไซต์แนะนำเลือกใช้ไม่เกิน 3 ฟอนต์ต่อหน้าเว็บไซต์ เลือกน้ำหนักของสิ่งที่ต้องการเน้นให้ชัดเจน เช่น เลือกพาดหัวใหญ่และเน้นข้อความตัวหนาในส่วนสำคัญ และห้ามบีบฟอนต์จนผิดสัดส่วนเด็ดขาด ข้อนี้จะช่วยลดทอนความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ไปมากทีเดียว
  
3. การเลือกใช้ภาพในเว็บไซต์
 
ควรเลือกภาพที่เห็นสินค้าชัดเจน หรือภาพที่แสดงองค์ประกอบโดยรวม ข้อสำคัญคือ เราควรลงทุนกับภาพประกอบ เช่น การถ่ายภาพสินค้าที่สวยงามชัดเจน การถ่ายภาพควรเผื่อพื้นที่ในการ Crop หรือตัดภาพออกด้วย และคำนึงถึง Mood & Tone เพื่อเพิ่มการจดจำของผู้บริโภคได้ ซึ่ง R-Web แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ มีฟีเจอร์ที่ช่วยคุมโทนการออกแบบเว็บไซต์ และออกแบบ Template ได้สวยงาม และหากคุณมีภาพสินค้า ควรใส่ภาพหลากหลายมุมมองเพื่อประกอบการตัดสินใจ และมีภาพที่ช่วยให้ลูกค้าเปรียบเทียบ Scale หรือเทียบขนาดสินค้าจริง ความละเอียดของภาพที่เลือกใช้ก็ส่งผลกับความเร็วในการโหลดบนหน้าเว็บไซต์ด้วย คนทั่วไปที่ใช้งานเว็บไซต์จะรอการโหลดเพียงแค่ 3-5 วินาทีเท่านั้น ดังนั้นการออกแบบเว็บไซต์ถึงไม่ใช่เรื่องยากเกินความเข้าใจ แต่ก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือเลือกบริษัทรับออกแบบเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือด้วย
 

Readyplanet Tips : อย่าลืม Call-to-Action

 

ลองคิดดูว่าหากเว็บไซต์ของคุณจัดโปรโมชั่นและมีปุ่มที่ช่วยกระตุ้นความสนใจ หรือ ปุ่ม Call to Action ที่เชิญชวนให้ทำอะไรสักอย่าง เช่น คลิกเพื่อรับโปรโมชั่น คลิกเพื่อเก็บโค้ดส่วนลด คลิกเพื่อสั่งซื้อเลยทันที รับรองว่าช่วยให้น่าสั่งซื้อมากขึ้น และ Convert ไปสู่การสร้างยอดขายให้กับธุรกิจหรือบริการของคุณได้แน่นอน

 

ทั้งหมดนี้จึงเป็นวิธีสร้างเว็บไซต์จาก Readyplanet ที่นำมาแชร์ให้คุณนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้ หากใครที่รู้สึกว่าการออกแบบเว็บไซต์ รวมถึงเลือกธีม โทนสี ฟอนต์ และภาพสินค้าต่าง ๆ ไม่ใช่ความถนัด ตรงนี้จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากเลือกใช้ R-Web แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ของ Readyplanet ซึ่งมีฟีเจอร์ที่เอื้อต่อการออกแบบให้สวยและง่าย และที่สำคัญ ใช้งานฟรี!

 
R-Web เป็นมากกว่าแค่เว็บไซต์ ทรงพลังด้วยเครื่องมือการตลาดครบครัน
R-Web คือหนึ่งในเครื่องมือของ Readyplanet Marketing Platform ที่นอกจากจะทำเว็บไซต์ง่ายแล้ว ยังมาพร้อมเครื่องมือการตลาดแบบ All-in-One ที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้ตั้งแต่วันแรก จนกลับมาซื้อซ้ำ และกลายเป็นลูกค้าประจำที่ผูกพันกับธุรกิจของคุณ
 

 

 Updated: 26 August 2020 | Produced by: Harnchai Chaitusaney